สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ครอบครัวของฉัน ช่วงชั้นที่ 3 (มัธยมศึกษาปีที่ 3) ครูอัชชุมณี ศรีธิ โรงเรียนศรีนคร สุโขทัย
มาตรฐานการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง สาระการเรียนรู้หลัก : ภาษาต่างประเทศ มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา กับภาษาและวัฒนธรรมไทยและนำมาใช้อย่างมีวิจารณญาณ มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและเปิดโลกทัศน์ของตน
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนสามารถบอกคำสรรพนามชี้เฉพาะของสมาชิกในครอบครัวได้ 2. นักเรียนสามารถอธิบายบอกความสัมพันธ์ของคำสรรพนามของคนในครอบครัวได้ 3. นักเรียนสามารถแนะนำสมาชิกในครอบครัวของตัวเองได้ 4. นักเรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของคำศัพท์ได้ 5. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
คำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้ ●คำถามสร้างพลังคิด - ความสัมพันธ์ของครอบครัวคนไทยกับครอบครัวจีนต่างกันอย่างไร ●คำถามประจำหน่วย - การใช้สรรพนามเรียกคนของไทย และจีน เรียกต่างกันอย่างไร ●คำถามประจำบท 1.ในครอบครัวของนักเรียนมีใครบ้าง (ให้ตอบเป็นภาษาจีน) 2.หัวหน้าครอบครัวของนักเรียนคือใคร
คู่มือการประเมิน ก่อนเริ่มการจัดการเรียนรู้ ระหว่างการจัดการเรียนรู้ สิ้นสุดการจัดการเรียนรู้ วิธีการ เครื่องมือ สอบถาม คำถาม ทดสอบคำศัพท์ แบบทดสอบ ให้นักเรียนแนะนำสมาชิกในครอบครัวตัวเองเป็นภาษาจีน แบบประเมิน
โครงงาน : ความแตกต่างระหว่างครอบครัวชาวจีนและชาวไทย 1. เป้าหมาย Goal : ความแตกต่างหว่างหว่างครอบครัวชาวจีนและชาวไทย 2. บทบาท Role : ให้นักเรียนศึกษาความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างครอบครัวคนจีนและครอบครัวคนไทย แล้วนำมาเปรียบเทียบทั้งส่วนที่เหมือนและส่วนที่ต่างกัน 3. กลุ่มผู้ชม Audience : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4. ชุดกิจกรรมและภาระงาน Set of activities and taske : 1.แบบสำรวจ-สัมภาษณ์ครอบครับคนไทย และครอบครัวคนจีน โดยให้นักเรียนใช้แบบทดสอบนี้ออกไปสำรวจและสัมภาษณ์ครอบครัวชาวจีนและครอบครัวชาวไทยในประเทศไทย 2.เอกสารประกอบการสัมภาษณ์ เช่น รูปถ่าย บทสัมภาษณ์ 5. ผลงาน Products : 1.รายงานสรุปคำสัมภาษณ์ และแบบสรุปความเหมือนและความต่างระหว่างครอบครัวของสองชาติ