สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง กลอนจีนหรรษา ช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 ) ครูนวลพรรณ ชลารักษ์ โรงเรียนชลบุรี “สุขบท”
มาตรฐานการเรียนรู้ - สาระที่ 1 มาตรฐาน ต.1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ - สาระที่ 2 มาตรฐาน ต.2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ - สาระที่ 3 มาตรฐาน ต.3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
วัตถุประสงค์ 1.รู้จักคำศัพท์กลอนภาษาจีนที่เรียน 2.อ่านออกเสียงและเขียนคำศัพท์เกี่ยวกับกลอนภาษาจีน ที่เรียนได้ 3.สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4.มีความรู้ในประวัติความเป็นมาของกลอนที่เรียน
คำถาม ● คำถามสร้างพลังคิด - คุณเคยเรียนท่องกลอนจีนหรือไม่ ● คำถามประจำหน่วย - คุณรู้จักกวีจีนหรือไม่ - คุณมีความรู้เกี่ยวกับบทกวีสมัยราชวงศ์ถังหรือไม่ ● คำถามประจำบท - บทกลอน 静夜思 มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร - บทกลอน 锄禾 มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
เกณฑ์การวัดและประเมินผล วิธีการประเมิน เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน - ประเมินตามสภาพจริงโดยครูผู้สอนเป็นผู้ประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด - ครูและนักเรียนตรวจความถูกต้องของแบบฝึกหัด แบบประเมินการพูด แบบรูบริกส์ แบบฝึกหัด ดี พอใช้ ปรับปรุง ถูกหรือผิด
เครื่องมือในการประเมิน เกณฑ์การประเมิน ระดับคะแนน ดี ( 3 คะแนน) พอใช้ (2 คะแนน) ปรับปรุง(1 คะแนน) ความถูกต้อง ความคล่องแคล่ว ความชัดเจน หมายเหตุ : คะแนน 7-9 = ดี คะแนน 4-6 = พอใช้ คะแนน 0-3 = ปรับปรุง ผลการประเมินอยู่ในระดับ ______________________
เกณฑ์การประเมินการออกเสียง ระดับคะแนน ดี ( 3 คะแนน) พอใช้ (2 คะแนน) ปรับปรุง(1 คะแนน) ความถูกต้อง ออกเสียงตัวพินอินได้ถูกต้องกว่า 70% มีข้อผิดพลาดในการออกเสียงในบางครั้งแต่ไม่เกิน50% มีข้อผิดพลาดมาก ออกเสียงได้ถูกต้องไม่ถึง 40% ความคล่องแคล่ว สื่อสารในสิ่งที่ต้องการพูดโดยไม่ลังเลหรือรีรอ สื่อสารในบางเรื่องยังไม่ดีนัก ลังเลที่จะพูด ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว ความชัดเจน ออกเสียงได้ชัดเจนใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากกว่า 8 คำขึ้นไป ออกเสียงได้ชัดเจนใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากกว่า 5 คำ ไม่สามารถออกเสียงได้ ขาดความมั่นใจในการพูด
โครงงาน เลือกศึกษาบทกวีจีนสมัยราชวงศ์ใดก็ตามที่นักเรียนสนใจ และวิเคราะห์บทกวีนั้น ใช้บทกวีเป็นสื่อในการวิเคราะห์ถึงสภาพสังคม ความคิดของผู้คนในช่วงสมัยนั้น วิเคราะห์โครงสร้างการแต่ง การใช้ภาษา สัมผัสระหว่างวรรค ใช้บทกวีวิเคราะห์ถึงภาษาจีนสมัยโบราณ นักเรียนฝึกท่องกลอนแบบจีน