งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 7 การศึกษาและ การนำเสนอสารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 7 การศึกษาและ การนำเสนอสารสนเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 7 การศึกษาและ การนำเสนอสารสนเทศ
ธนพรรณ กุลจันทร์

2 การศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 ได้กำหนดว่า การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคล และสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจาก การจัดการสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคล เรียนรู้ตลอดชีวิต (ราชกิจจานุเษกษา,2542, น. 3)

3 การศึกษา หมายถึง การแสวงหาข้อมูล หรือความรู้ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในสรรพสิ่งต่างๆ  ที่จะช่วยให้เกิดความกระจ่าง  สติปัญญางอกงามเพิ่มพูน 

4 การนำเสนอความรู้ในการศึกษา
การเรียนระดับอุดมศึกษา เน้น คิด พิจารณา แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้อย่างเป็นระบบ รู้จักใช้แหล่งสารสนเทศ รู้จักวิธีการรวบรวม บันทึก นำเสนอข้อมูล อย่างมีระบบ การนำเสนอ – ถ่ายทอดสิ่งที่ตนค้นคว้า ให้ผู้อื่นเข้าใจ

5 การนำเสนอสารสนเทศ เพื่อพัฒนาทักษะในการสื่อสาร
สามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจ โดยผ่านการพูด การเขียน ด้วยภาษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และเรียบเรียงให้สามารถเข้าใจได้ง่าย

6 รูปแบบการนำเสนอ การเขียนรายงาน บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์
การนำเสนอด้วยการพูด เช่น การพูดหน้าห้อง การอภิปราย การนำเสนอด้วยสื่อสมัยใหม่ เช่น การนำเสนอด้วยภาพนิ่ง (Slide Show) หรือสื่อเคลื่อนไหว การนำเสนอทำได้หลายๆ ทางพร้อมกัน เช่น การบรรยายประกอบภาพนิ่ง เป็นต้น

7 การนำเสนอโดยการเขียน
นำเสนอความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อเท็จจริงจากสารสนเทศที่หลากหลาย นำมาประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์ข่าวสารข้อมูล นำมาเรียบเรียงให้เกิดความชัดเจน น่าอ่าน น่าสนใจ มีขอบข่าย และความลึกด้านเนื้อหา มีตัวอย่างรายละเอียดต่างๆ สนับสนุนความคิดเห็นของผู้เขียน มีการอ้างถึง และมีแหล่งที่มาข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ

8 การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย - บทนิพนธ์
จุดมุ่งหมาย ฝึกค้นคว้าด้วยตนเอง ศึกษาอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง รับความรู้ ความคิด มากกว่าได้รับจากตำราเพียงเล่มเดียว ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูล ที่มีแหล่งที่มา และมีหลักฐานที่ถูกต้อง เป็นจริง ฝึกรวบรวมเรียบเรียงความรู้ได้อย่างเป็นระบบ สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ ให้ผู้เรียนมีความรู้ สร้างนิสัยการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

9 การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย - บทนิพนธ์
บทความ (งานเขียนขนาดสั้น) รายงาน (1 ภาคต่อหลายเล่ม) ภาคนิพนธ์ ( 1 ภาคต่อ 1 เล่ม) การค้นคว้าอิสระ/การศึกษาปัญหาพิเศษ วิทยานิพนธ์/ปริญญานิพนธ์

10 บทความ บทความทางวิชาการในเชิงลึก > peer review – โดยนักวิชาการในแวดวง บทความวิชาการทั่วไป - ผู้อ่านทั่วไป บทความวิจัย บทความปริทัศน์ (ปริทรรศน์/วิจารณ์) – เน้นวิจารณ์แนวคิด (concept) บทความวิจารณ์ – เน้นวิจารณ์ปัญหา สถานการณ์

11 ขั้นตอนการเขียนรายงาน
เลือกหัวข้อรายงาน เตรียมเขียนรายงาน กำหนดแหล่งสารสนเทศ > เลือกใช้เครื่องมือช่วยค้น รวบรวมสารสนเทศ > บรรณานุกรม (Bibliography) เขียนโครงเรื่อง – เนื้อหาคลอบคลุม เป็นลำดับขั้นตอน ประเมินสารสนเทศ (น่าเชื่อถือ) และบันทึก เรียบเรียงข้อมูล (สังเคราะห์)และเขียนฉบับร่าง > เขียนให้มีเอกภาพ - ให้เนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พิมพ์รายงาน

12 จรรยาบรรณในการเขียน คือ ไม่ขโมยผลงานของผู้อื่นมาอ้างเป็นงานของตน การขโมยได้แก่ การลอก (Plagiarism) – ไม่ดัดแปลงคำพูด นำข้อความของผู้อื่นมา เป็นของตน นำข้อความของผู้อื่นมา แล้วไม่แจ้งต้นแหล่ง การลอกเลียน (Paraphrase) – ดัดแปลงคำพูด ไม่แจ้งต้นแหล่ง ให้ข้อความเท็จ (Fraud) ให้ข้อมูลเท็จ ใส่ภาพและตารางที่ไม่ได้ทำเอง โดยไม่แจ้งต้นแหล่ง แจ้งต้นแหล่งเท็จ ไม่สมบูรณ์โดยตั้งใจ

13 จรรยาบรรณในการเขียน สิ่งที่ควรทำ
ระบุแหล่งที่มาของข้อมูลเสมอ (อ้างอิงโดยใช้กฎใดกฎหนึ่ง) แม้แจ้งแหล่งแล้ว > ก็ไม่ควรนำข้อความที่ลอกมาตัดต่อข้อความ คัดลอกได้ไม่เกิน 10% หาลอกเหมือนทั้งหมด ให้ใช้ “…..xxxxxxx….” เอกสารหมดอายุลิขสิทธิ์ แม้ไม่ต้องแจ้งแหล่ง แต่ควรทำเพื่อประโยชน์ของผู้อ่านในการหาต้นฉบับ ควรเรียบเรียงด้วยภาษาของตนเอง

14 การประเมินค่าเอกสาร การประเมินค่าสารสนเทศภายนอก
ชื่อผู้แต่ง (เป็นกูรูผู้รู้) ผู้ผลิต (สำนักพิมพ์) จำนวนมากน้อยของเนื้อหา วัตถุประสงค์การทำ (เขียนแบบวิชาการ โฆษณา ให้คนทั่วไปอ่าน) ความทันสมัย ความน่าเชื่อถือ (สอดคล้องกับเอกสารอื่น มีความเป็นกลาง ถูกต้อง มี peer review) การประเมินค่าสารสนเทศภายใน เนื้อหาสอดคล้องกับหัวข้อ ความละเอียดของเนื้อหา เนื้อหาน่าเชื่อถือ


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 7 การศึกษาและ การนำเสนอสารสนเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google