ชื่อผู้วิจัย จิติวัฒน์ สืบเสนาะ วิทยาลัยเทคโนโลยีระยองบริหารธุรกิจ ชื่อเรื่องงานวิจัย พัฒนาชุดกิจกรรมการสอน เวทีข่าว ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 รายวิชาเหตุการณ์ปัจจุบันวิทยาลัยเทคโนโลยีระยองบริหารธุรกิจ ชื่อผู้วิจัย จิติวัฒน์ สืบเสนาะ วิทยาลัยเทคโนโลยีระยองบริหารธุรกิจ
ปัญหาการวิจัย ความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนของผู้เรียน เป็นปัญหาสำคัญในการจัดการศึกษาและการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการศึกษาของนักเรียน พบว่านักเรียนทำข้อสอบที่เป็นแบบอัตนัยด้วยการเขียนอธิบายความไม่ได้ และความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ ประกอบกับการยกตัวอย่างประกอบที่เป็นเหตุผลต่างๆ และยังพบอีกว่านักเรียนมีเจตคติต่อรายวิชาในทางลบ จึงสะท้อนให้เห็นว่าเป็นปัญหามาจากการจัดการเรียนการสอนที่เป็นการสอนเนื้อหาวิชาและการท่องจำมากกว่าการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์
วัตถุประสงค์งานวิจัย 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์แผนกวิชา สามัญระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปี่ ที่ 1/1 และ 1/8 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ข่าว โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ตาราง 1 วิเคราะห์ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ หรือคะแนนจากกระบวนการ (E1 )
ตาราง 2 วิเคราะห์ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ จากการเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเรียนกับคะแนนสอบหลังเรียน (E2 ) จากตาราง 2 พบว่า นักเรียนทำข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนรู้ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.01 จากคะแนนเต็ม 40 คิดเป็นร้อยละ เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้จากแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ แล้วทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 35.08 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.70 แสดงว่าแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงผลการเรียนของนักเรียน (E2 ) คิดเป็นร้อยละ 87.70
ตาราง 3 ประสิทธิภาพของการอ่านจับใจความ ตามเกณฑ์ 80/80 ตาราง 3 ประสิทธิภาพของการอ่านจับใจความ ตามเกณฑ์ 80/80 จากตาราง 3 พบว่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้นมีค่าเท่ากับ 87.40/87.70 หมายความว่าแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้เท่ากับ 87.40 และมีประสิทธิภาพทางการเรียนรู้หรือประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ ในการเปลี่ยนแปลงผลการเรียนรู้ของนักเรียนเท่ากับร้อยละ 87.70 แสดงว่าแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ในวิชาเหตุการณ์ปัจจุบัน มีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
สรุปผลการวิจัย วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์แบบเวทีข่าวระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 / 1และ 1/8 ปรากฏว่า เมื่อคำนวณหาประสิทธิภาพของคะแนนรวมจากกลุ่มตัวอย่างได้เท่ากับ 87.40/87.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด80 /80 นักเรียนมีความสามารถของการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สำหรับการดำเนินกิจกรรมการฝึกผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมให้นักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจะได้วัดและประเมินผลทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ได้ชัดเจน เนื้อหาสาระที่ใช้ในการฝึก จะเป็นเรื่องใกล้ตัว อยู่ในความสนใจ หรือเกี่ยวข้องกับชีวิตจริงและสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักเรียน ประเด็นคำถามหรือปัญหาที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเป็นคำถามปลายเปิด ไม่มีคำตอบสำเร็จรูป ตายตัว หรือมีคำตอบเดียว มีคำตอบได้หลากหลาย สามารถใช้เหตุผลประกอบ