งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผลงานวิจัย โดย อ. หัสยา วงค์วัน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผลงานวิจัย โดย อ. หัสยา วงค์วัน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผลงานวิจัย โดย อ. หัสยา วงค์วัน
เรื่อง การศึกษาผลการใช้ชุดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism ) เพื่อพัฒนาเจตคติและผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดย อ. หัสยา วงค์วัน

2 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ระดับอาชีวะศึกษาไม่น่าพอใจ นักเรียนไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์เพราะเป็นวิชาที่ยาก จากการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ พบว่า นักเรียนมีทัศนคติในเชิงลบกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ เกิดปัญหาในการจัดการเรียนการสอน ชั่วโมงสอนน้อย มีเนื้อหามาก ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนต่ำ

3 จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาและพัฒนาทักษะกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์โดยใช้ชุดการเรียนรู้ในรูปแบบกระบวนการตามทฤษฎีกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) เป็นแนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น และ นักเรียนมี เจคคติที่ดีในวิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์

4 วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่สอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา(Constructionism) 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism)

5 ขอบเขตการวิจัย 1. เนื้อหา ที่ใช้ในการวิจัย วิชา คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ ระดับ ชั้น ปวส.1 แผนกคอมพิวเตอร์ หน่วยการเรียนที่ 1 เรื่อง ระบบเลขฐาน 2. กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาแผนกคอมพิวเตอร์ โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี ห้อง สค 1/2

6 ขั้นตอนการทำวิจัย ขั้นตอนที่ 1 เลือกกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้น ปวส.1 ห้อง สค.1/2 ขั้นตอนที่ 2 ทดสอบก่อนเรียน(Pre-test) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ขั้นตอนที่ 3 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา กับกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 4 ทดสอบหลังเรียน (Post-test) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบชุดเดิมใช้เวลาในการสอบเท่ากับก่อนเรียนและ ตอบแบบสอบถามวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์

7 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ชุดการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา มี 5 ขั้นตอน ดังนี้คือ ขั้นที่ 1 เชื่อมโยงความคิด (Think) ขั้นที่ 2 ศึกษาเรียนรู้ ขั้นที่ 3 ฝึกทักษะลงมือปฏิบัติ (Make) ขั้นที่ 4 นำเสนอแลกเปลี่ยนความคิด ขั้นที่ 5 ทบทวนความเข้าใจและนำไปใช้ (Refection) 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 3. แบบสอบถามเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์

8 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ความคิดเห็น คะแนนเฉลี่ย รายข้อ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนเรียน 2.22 0.68 หลังเรียน 3.83 0.97 ผลต่าง 1.61 0.29 จากการตอบแบบสอบถามพบว่าระดับความคิดเห็นของนักเรียนในการตอบแบบสอบถามโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ นักเรียนชอบคณิตศาสตร์เรื่องระบบเลขฐาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86

9 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล(ต่อ)
การทดสอบ คะแนนรวม คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนเรียน 89 5.56 1.18 หลังเรียน 245 15.31 3.14 ผลต่าง 156 9.75 1.96 ผลการเปรียบเทียบระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนพบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

10 ข้อเสนอแนะ 1. ควรจะมีการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ใช้ชุดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) กับเนื้อหาคณิตศาสตร์เรื่องอื่นๆหรือระดับชั้นเรียนอื่นๆ ต่อไป 2. ควรจัดบรรยากาศการเรียน เพื่อที่นักศึกษาจะได้ระดมพลังความคิด และช่วยต่อยอดความคิดให้เพื่อน 3. ควรขยายผลการใช้ชุดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา กับนักศึกษา ที่เรียนวิชาเดียวกัน


ดาวน์โหลด ppt ผลงานวิจัย โดย อ. หัสยา วงค์วัน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google