หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ Doctor of Philosophy Program in Biomedical Sciences หน่วยงานที่รับผิดชอบ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุดเด่นของหลักสูตร มีอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความรู้ความสามารถจากหลากหลายสาขา มีสถานที่ทำวิจัยในศูนย์และหน่วยปฏิบัติการวิจัยต่างๆ มีการบรรยาย Molecular club ซึ่งจัดขึ้นทุกเดือน โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มีโอกาสได้รับทุนวิจัยจากแหล่งต่างๆ เช่น ทุนกาญจนาภิเษก ทุนจากบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ประโยชน์ที่จะได้รับ สามารถเป็นนักวิจัยในสถาบันต่างๆ ที่ศึกษาชีววิทยาทางการแพทย์ หรือเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างสรรค์งานวิจัยที่มีคุณภาพ
ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อณูชีววิทยาและระบาดวิทยาของไวรัสตับอักเสบ อณูพันธุศาสตร์ของการเกิดมะเร็งโพรงหลังจมูกและมะเร็งปากมดลูก อณูวิทยาของไวรัส HIV อณูชีววิทยาของพิษงู อณูพันธุศาสตร์ของโรคเลือด อณูพันธุศาสตร์ของภาวะปัญญาอ่อน และปากแหว่งเพดานโหว่ ชีวเคมีและอณูวิทยาของโรคเบาหวาน การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อและเซลล์ต้นกำเนิด โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคพิษสุนัขบ้า โรคอัลไซเมอร์ โรคติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดนก โรคเท้าช้าง โภชนศาสตร์ ลิพิดและไขมัน สารต้านอนุมูลอิสระ
ตัวอย่างรางวัลของอาจารย์ในหลักสูตร ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ และคณะ “ผลงานวิจัยดีเยี่ยม” รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2549 ผลงานวิจัย เรื่อง “ไข้หวัดนกในประเทศไทย” (Avian Influenza in Thailand) ศ.นพ.ดร. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร “นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ” สภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2549 ศ.นพ. วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ รางวัลนักวิจัยดีเด่น / รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานได้รับ การอ้างอิงสูงสุด/รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2549 ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” ประจำปี 2547 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์