บทที่ 11 ระบบบัญชีต้นทุนการผลิตสินค้า 1. ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ 1.1 วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับวัตถุดิบ 1.2 วิธีการบัญชีเกี่ยวกับวัตถุดิบ 1.3 วิธีการเกี่ยวกับค่าแรงงาน 1.4 วิธีการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายโรงงาน 1.5 การนำส่งสินค้าที่ผลิตเสร็จจากโรงงาน
2. ระบบบัญชีต้นทุนตอน 2.1 วิธีการบัญชีเกี่ยวกับวัตถุดิบ 2.2 วิธีการบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงานทางตรง 2.3 วิธีการบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายโรงงาน 2.4 การโอนต้นทุนของแต่ละแผนกเมื่อผลิตสินค้าเสร็จ
ระบบต้นทุนงานสั่งทำ จะใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตเฉพาะงาน โดยมีลักษณะของงานแต่ละงานไม่เหมือนกัน ได้แก่ การผลิตเฟอร์นิเจอร์ โรงพิมพ์ โดยจะผลิตตามคำสั่งของลูกค้า ดังนั้นในการบันทึกต้นทุนของสินค้าจะบันทึกตามงานหรือตามคำสั่งการผลิตแต่ละครั้ง
ค่าแรงที่นำมาบันทึกในงบต้นทุน มี 2 ประเภท ดังนี้ ค่าแรงงานทางตรง เป็นค่าแรงงานที่จ่ายให้แก่คนงานที่ทำการผลิตสินค้าโดยตรง ค่าแรงงานทางอ้อม เป็นค่าแรงงานที่จ่ายให้คนงานที่มิได้ทำการผลิตสินค้าโดยตรง เช่น ค่าแรงงานคนทำความสะอาด เงินเดือนยาม
การบันทึกบัญชีเมื่อมีค่าใช้จ่ายโรงงานเกิดขึ้น เมื่อมีจ่ายค่าน้ำมัน เดบิต ค่าใช้จ่ายโรงงาน xx เครดิต เงินสด/เจ้าหนี้ xx เมื่อมีการเบิกวัสดุโรงงานไปใช้ เครดิต วัสดุโรงงาน xx
เมื่อจ่ายค่าแรงงานทางอ้อม เดบิต ค่าใช้จ่ายโรงงาน xx เครดิต เงินเดือนและค่าแรงงาน xx
ระบบต้นทุนตอน เป็นระบบที่ใช้ในกรณีผลิตสินค้าที่มีลักษณะเหมือน ๆ กัน ผลิตครั้งละมากๆ ต่อเนื่องกันไป เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง
การบันทึกบัญชีเมื่อมีค่าใช้จ่ายโรงงานเกิดขึ้น เมื่อแบ่งค่าใช้จ่ายโรงงานให้แผนกต่าง ๆ เดบิต งานระหว่างทำ- แผนกที่ 1 xx งานระหว่างทำ- แผนกที่ 2 xx งานระหว่างทำ- แผนกที่ 3 xx เครดิต ค่าใช้จ่ายโรงงานจัดสรร xx
การโอนต้นทุนของแต่ละแผนก เมื่อผลิตสินค้าเสร็จ เมื่อโอนต้นทุนจากแผนกผลิตที่ 1 ไปยังแผนกผลิตที่ 2 เดบิต งานระหว่างทำ – แผนกผลิตที่ 2 xx เครดิต งานระหว่างทำ – แผนกผลิตที่ 1 xx เมื่อโอนต้นทุนจากแผนกผลิตที่ 2 ไปยังแผนกผลิตที่ 3 เดบิต งานระหว่างทำ – แผนกผลิตที่ 3 xx เครดิต งานระหว่างทำ – แผนกผลิตที่ 2 xx
เมื่อโอนต้นทุนจากแผนกผลิตที่ 3 ซึ่งผลิตสินค้าสำเร็จรูปเสร็จแล้ว เมื่อโอนต้นทุนจากแผนกผลิตที่ 3 ซึ่งผลิตสินค้าสำเร็จรูปเสร็จแล้ว เดบิต สินค้าสำเร็จรูป xx เครดิต งานระหว่างทำ – แผนกผลิตที่ 3 xx กลับ