อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการตลาด
สิ่งแวดล้อมทางการตลาด หมายถึง สิ่งแวดล้อมภายในซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่ธุรกิจควบคุมได้ และสิ่งแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งมีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาดของธุรกิจ ผู้บริหารจึงต้องให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์สภาพสิ่งแวดล้อมทั้งภายในของธุรกิจเพื่อกำหนดจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weakness) ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกของธุรกิจที่อาจจะมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจโดยการทำให้เกิดโอกาส (Opportunities) รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดเป็นอุปสรรค (Threats) ในการดำเนินธุรกิจให้ได้
สิ่งแวดล้อมภายในที่เป็นปัจจัยการตลาด สิ่งแวดล้อมประเภทนี้ก็ คือ ส่วนประสมทางการตลาด หรือ Marketing Mix นั่นเอง ซึ่งประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) การส่งเสริมการตลาด (Promotion)
สิ่งแวดภายในที่เป็นปัจจัยอื่น สถานะทางการเงิน หรือ เงินทุน (Financial Status) ความสามารถในการค้นคว้าวิจัย (R&D Capability) ทำเลที่ตั้ง (Company Location) คุณภาพของบุคลากร (Human Resources) ภาพลักษณ์ ชื่อเสียงขององค์กร (Company Image) ความสามารถและประสบการณ์ในการผลิต (Production Skill and Experience)
สิ่งแวดล้อมภายนอกแบบจุลภาค (1) สิ่งแวดล้อมจุลภาค (Microenvironment) (1.1) ผู้ขายวัตถุดิบ (Suppliers) * ตัวกลางทางการตลาด (Marketing intermediaries) คนกลาง (Middleman) ธุรกิจที่ช่วยหาลูกค้าและช่วยขายสินค้า แทนผู้ผลิต คนกลางประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ พ่อค้าคนกลาง และตัวแทน คนกลาง * ธุรกิจที่ทำหน้าที่กระจายตัวสินค้า (Physical distribution firm) * ธุรกิจที่ให้บริการทางการตลาด (Marketing service agencies)
(1) สิ่งแวดล้อมจุลภาค (Microenvironment) (1.2) ลูกค้า (Customer) หรือ ตลาด (Market) ตลาดผู้บริโภค (Consumer market) ตลาดอุตสาหกรรม (Industrial market) ตลาดผู้ขายต่อหรือตลาดคนกลาง (Reseller market) ตลาดรัฐบาล (Government market) ตลาดต่างประเทศ (International market)
(1) สิ่งแวดล้อมจุลภาค (Microenvironment) (1.3) คู่แข่งขัน (Competitors) บริษัทต้องวิเคราะห์ว่าใครคือคู่แข่งขัน จุดแข็งและจุดอ่อน ของคู่แข่งขันเป็นอย่างไร รวมทั้งหาวิธีการที่จะเอาชนะคู่แข่งขันให้ได้ (1.4) กลุ่มชุมชน (Public) หมายถึง กลุ่มชนหรือหน่วยงานในท้องที่ ที่มีอิทธิพลต่อการทำงานของธุรกิจตัวอย่าง เช่น หน่วยงานรัฐบาลสามารถให้ความสะดวกแก่องค์กร หน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม
(2) สิ่งแวดล้อมภายนอกแบบมหภาค (2.1) สิ่งแวดล้อมทางประชากรศาสตร์ (Demographic environment) การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร (Population Growth) โครงสร้างอายุประชากรจะกำหนดความต้องการผลิตภัณฑ์ (Population age mix determines needs) ตลาดชาติพันธ์วรรณนา (Ethnic markets) และการเปลี่ยนแปลงด้านเชื้อชาติ (Nationality) และสีผิว (Race) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบครอบครัว (Household patterns) การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ของประชากร (Geographical shifts in population) กลุ่มที่ได้รับการศึกษา (Educational groups) การเปลี่ยนแปลงจากตลาดใหญ่เป็นตลาดย่อย (Shift from a mass market to micromarkets)
(2.2) สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic environment) (1) การเปลี่ยนแปลงของรายได้ที่แท้จริง (2) การออมน้อยลงและภาวะหนี้สินมากขึ้น (3) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค
(2.3) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical environment) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ประกอบด้วยดิน น้ำ อากาศ วัตถุดิบรวมทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติ นักการตลาดจะเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 4 ประการ คือ การเพิ่มขึ้นของสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (Increased levels of pollution) การขาดแคลนวัตถุดิบบางอย่าง (Shortage of raw materials) การเพิ่มขึ้นของต้นทุนพลังงาน (Increased cost of energy) บทบาทของรัฐบาลในการควบคุมและป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษทางการตลาด (Changing role of governments in environment protection)
2.4) สิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technology environment) มีการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ไม่มีที่สิ้นสุด (Accelerating pace of technological change) โอกาสจากการค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ มีอย่างไม่จำกัด (Unlimited innovational opportunities) การเพิ่มขึ้นของงบประมาณที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา (Increased R&D budgets) ข้อบังคับทางกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมีมากขึ้น (Increased regulation of technological change)
(2.5) สิ่งแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย (Political and legal environment) การเพิ่มขึ้นของกฎหมายธุรกิจและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐบาล (Substantial amount of legislation regulating business) การเพิ่มขึ้นของกลุ่มสนใจผู้บริโภค (Growth of public interest groups)
(2.6) สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมและสังคม (Cultural and social environment) (2.7) การเปลี่ยนแปลงค่านิยมในวัฒนธรรม (Cultural values undergo shifts through time)