การฝึกทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง (อันเดอร์) โดยใช้กระบวนการฝึกทักษะของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 นางพัชลินทร์ แดงประเสริฐ
ปัญหาการวิจัย ในการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาพ (วอลเลย์บอล) ให้กับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ยังขาดทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง (อันเดอร์) จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิธีการเล่นลูกสองมือล่าง และจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการฝึกทักษะทางพลศึกษา
วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง (อันเดอร์)
อภิปรายผล จากการวิจัยในชั้นเรียน ปรากฏว่าผลการทดสอบทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ห้อง 5 แผนกพาณิชยกรรม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 คน ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาพลศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาพ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 มีการพัฒนาทักษะการเล่นลูกสองมือล่างอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นทุกคน ทั้ง 15 คน เห็นได้ว่าผลการฝึกทักษะที่ต่อเนื่องทำให้มีการพัฒนาขึ้นจากเดิมทุกคน และมีทักษะในการเล่นลูกสองมือล่างที่ดีขึ้นจากเดิมทุกคน จึงทำให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย 1. เกณฑ์และแบบทดสอบที่ใช้ควรผ่านการทดสอบหลายๆครั้งเพื่อนำมาแก้ไขต่อไป 2. ขณะทำการทดสอบ ครูผู้สอนควรให้คำแนะนำอย่างถูกต้องและเอาใจใส่กับนักเรียนให้มาก 3. ผู้วิจัยสามารถนำผลการวิจัยไปจัดกระบวนการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนระดับชั้นต่างๆ เพื่อให้เกิดทักษะกระบวนการเล่นลูกสองมือล่าง (อันเดอร์) ที่ถูกต้องอันเป็นพื้นฐานของการเล่นกีฬาวอลเลย์บอ
สรุปผลการวิจัย การทดสอบทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง (อันเดอร์) เดี่ยว ครั้งที่ 1 ก่อนเรียน ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน ไม่ผ่านเกณฑ์ เพราะยังขาดทักษะในการปฏิบัติที่ต่อเนื่องกันตามกระบวนการและขั้นตอน ผู้วิจัยจึงนำผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คนนี้ มาทำการฝึกทักษะตามกระบวนการฝึก โดยใช้แบบฝึกทักษะ 3 แบบ ใช้เวลา 7 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 8 ผู้วิจัยจึงทำการทดสอบครั้งที่ 2 นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน ที่ได้รับการฝึกเพิ่มเติมตามแบบฝึกที่ผู้วิจัยกำหนดและมีเกณฑ์ที่ชัดเจน ปรากฏว่านักเรียนทั้ง 15 คนมีการพัฒนาทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง (อันเดอร์) ดีขึ้น สามารถเล่นลูกได้ตามเกณฑ์ และผ่านเกณฑ์หมดทุกคน
ภาพประกอบ (ถ้ามี)
จบการนำเสนอ