วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการบัญชีการเงิน เรื่อง การวิเคราะห์รายการค้า โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติ นางสุนันทา ฤทธิ์บำรุง วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา
ปัญหาการวิจัย จากการสอนในรายวิชาการบัญชีการเงิน ปัญหาที่พบคือ นักศึกษา ไม่เข้าใจเรื่องการวิเคราะห์รายการค้าเป็นส่วน ใหญ่ เนื่องจากนักศึกษา จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งไม่มีพื้นฐานทางด้าน บัญชี และส่งผลให้คะแนน จากการทดสอบและการทำแบบฝึกหัดต่าง ๆ ต่ำ บทเรียนเรื่องการวิเคราะห์รายการค้าเป็น บทเรียนที่เป็นพื้นฐานของการบันทึกรายการค้า ให้ถูกต้องจำเป็นที่ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจใน เรื่องการวิเคราะห์รายการค้าให้ลึกซึ้ง ผู้วิจัย จึงสนใจที่จะแก้ปัญหาการวิเคราะห์รายการค้า ของนักเรียนโดยการใช้ชุดฝึกปฏิบัติ
วัตถุประสงค์ เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีประสิทธิภาพ 75/75 เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีประสิทธิภาพ 75/75 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ ชุดฝึกปฏิบัติ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่าง เรียนและหลังใช้ชุดฝึกปฏิบัติ
ระเบียบวิธีวิจัย ประชากรและลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือเด็ก นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาค เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 25 คน วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจ อยุธยา กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่าย โดย เจาะจงคือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง ปีที่ 2 ห้อง 3B สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ มีนักเรียนจำนวน 7 คน
ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะดำเนินการเก็บรวบรวม ข้อมูล โดยดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ ติดต่อนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)ปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา เพื่อขอ ความร่วมมือในการตอบแบบทดสอบ นำแบบทดสอบ จำนวน 30 ข้อ ทดสอบกับ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)ปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ก่อนใช้ชุดฝึกปฏิบัติ ดำเนินการสอนและให้นักเรียนใช้ชุดฝึกปฏิบัติ ทดสอบหลังการใช้ชุดฝึกปฏิบัติ
ระเบียบวิธีวิจัย นำผลการทดสอบมาเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกปฏิบัติ สรุปผลการพัฒนาการเรียนรู้ ให้นักเรียนตอบแบบสอบถามเพื่อวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มี ต่อชุดฝึกปฏิบัติ นำแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกปฏิบัติมา คำนวณหาค่าทางสถิติ วิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนหลังเรียน
สรุปผลการวิจัย นักศึกษามีคะแนนระหว่างเรียนโดยใช้ชุดฝึก ปฏิบัติ มีคะแนนเฉลี่ย 12.28 คะแนน จาก คะแนนเต็ม 15 คะแนน คิดเป็นร้อย ละ 81.90 จากคะแนนเต็ม และนักศึกษา มีคะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ย 12.71 คะแนนจากคะแนนเต็ม 15 คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 84.76 จากคะแนนเต็ม การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนา ความรู้ทักษะวิชาชีพทางการบัญชีของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิชาการบัญชี การเงิน เรื่อง การวิเคราะห์รายการค้า โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติ มีประสิทธิภาพ 81.90/84.76 ตามเกณฑ์ 75/75
สรุปผลการวิจัย นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการสอนโดยใช้ ชุดฝึกปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับ ดีมากที่สุด (μ = 4.71) เมื่อพิจารณาราประเด็น พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับดีมากที่สุด ได้แก่ การ ใช้ชุดฝึกปฏิบัติช่วยให้ผู้เรียนสนใจในการ เรียน หลังจากใช้ชุดฝึกปฏิบัติผู้เรียน สามารถเข้าใจในหน่วยถัดไป การใช้ชุดฝึก ปฏิบัติสามารถวิเคราะห์รายการค้าได้ดีขึ้น หลังจากใช้ชุดฝึกปฏิบัติสามารถช่วยส่งเสริมให้ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้ชุดฝึก ปฏิบัติช่วยให้ผลคะแนนดีขึ้น ตามลำดับ