พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เด็ก คือ บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติมี 23 คน รมต.พัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ เป็นประธาน กรรมการ ต้องเป็นหญิงไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กระดับจังหวัด 22 คน ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ผอ.สพท.เป็นกรรมการ พัฒนา สังคมเป็นกรรมการเลขาฯ มีผู้หญิงไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 คณะกรรมการมีหน้าที่สงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กส่งเสริม ความประพฤติเด็กและอื่น ๆ มีข้อห้ามมิให้บุคคลอื่น ผู้ปกครองปฏิบัติต่อเด็กหากฝ่าฝืนเป็นความ ผิด (คำนึงประโยชน์สูงสุดเด็ก) ผู้พบเห็นเด็กตกในสภาพที่ต้องสงเคราะห์ คุ้มครอง ต้องช่วยเหลือ แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้คุ้มครองสวัสดิภาพ เด็กพึงจะได้รับการสงเคราะห์มี 8 ประเภท
พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เด็กที่จะได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพมี 3 ประเภท กำหนดให้โรงเรียนจัดระบบงาน กิจกรรมแนะแนว ให้คำปรึกษา ฝึกอบรมนักเรียน นักเรียนที่กระทำความผิดต้องถูกลงโทษตามระเบียบที่ ศธ.กำหนด
พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เด็กที่พึงจะได้รับการสงเคราะห์มี 8 ประเภท ดังนี้ 1. เด็กกำพร้า เด็กเร่ร่อน 2. เด็กที่ถูกทอดทิ้ง พลัดหลง 3. เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการทุพพลภาพ หรือเจ็บป่วยโรคจิต 4. เด็กที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพไม่เหมาะสม 5. เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เด็กที่พึงจะได้รับการสงเคราะห์มี 8 ประเภท ดังนี้ 6. เด็กพิการ 7. เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก 8. เด็กที่ควรได้รับการสงเคราะห์ตามกฎกระทรวง
พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ 3 ประเภท ดังนี้ 1. เด็กที่ถูกทารุณกรรม 2. เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด 3. เด็กที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎกระทรวง