งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
หน้าที่ และ บทบาททั่วไป ของกรรมการสวัสดิการ By: Yosita copy right TSK

2 ความหมาย และ เจตนารมณ์
คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการตามมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ ลูกจ้างได้รับเลือกตั้งในสถานประกอบกิจการเพื่อเป็นตัวแทนของลูกจ้างร่วมปรึกษากับนายจ้างในการสวัสดิการให้แก่ลูกจ้าง เสมือนเป็นสื่อกลางความต้องการของลูกจ้างให้นายจ้างทราบ เจตนารมณ์ในการจัดตั้งกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการนั้นเพื่อลดข้อขัดแย้งอันนำไปสู่ข้อพิพาทแรงงาน โดยใช้หลักของแรงงานสัมพันธ์เข้ามาดำเนินกิจกรรมแบบทวิภาคี เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกจ้างได้เสนอข้อคิดเห็นแก่นายจ้าง คณะกรรมการสวัสดิการฯ ครบวาระ พ้นจากตำแหน่งเมื่อ ตาย ลาออก เป็นคนไร้ความสามารถหรือเป็นเสมือนคนไร้ความสามารถ ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดยกเว้นความผิดโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ copy right TSK

3 ประโยชน์ของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ และความเข้าใจอันดีระหว่างนายจ้างกับฝ่ายลูกจ้าง เกิดการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมและตรงความต้องการของลูกจ้างลดปัญหาข้อขัดแย้งและเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานของลูกจ้าง นายจ้างยอมรับการเข้าไปมีส่วนร่วม มีการนำไปปฏิบัติร่วมกันในการแก้ไขปัญหา เป็นแนวทางในการปรับปรุงสวัสดิการและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ส่งเสริมและพัฒนาแนวคิดระบอบประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วม สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการทำงาน ผ่อนคลายความเครียด ลดข้อขัดแย้ง สร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน copy right TSK

4 พ.ร.บ พ.ศ. 2541 หมวด 7 สวัสดิการ มาตราที่เกี่ยวข้อง
ม.96 ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปให้นายจ้างจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อย 5 คน ม. 97 คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. ร่วมหารือกับนายจ้างเพื่อจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง 2. ให้คำปรึกษาหารือและเสนอแนะความเห็นแก่นายจ้างในการจัดสวัสดิการสำหรับลูกจ้าง 3.ตรวจตราควบคุม ดูแล การจัดสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง 4. เสนอข้อคิดเห็นและแนวทางในการจัดสวัสดิการที่เป็นประโยชน์สำหรับลูกจ้างต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน copy right TSK

5 ม. 99 นายจ้างปิดประกาศจัดสวัสดิการตามกฏกระทรวงให้ลูกจ้างทราบ
ม. 98 นายจ้างจัดให้มีการประชุมหารือ กับ คุณกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการอย่างน้อย 3 เดือนครั้ง ม. 99 นายจ้างปิดประกาศจัดสวัสดิการตามกฏกระทรวงให้ลูกจ้างทราบ copy right TSK

6 แนวทางในการดำเนินงานของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
ตั้งประธานกรรมการสวัสดิการ เป็นหลักในการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ตั้งเลขานุการ เพื่อบันทึกการประชุม รวบรวมเอกสาร ตั้งกรรมการ พบปะกันเป็นครั้งคราว เพื่อหารือ ศึกษาอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฏหมายและนายจ้าง ให้เป็นที่ยอมรับทั้งลูกจ้างและนายจ้าง ขอเปิดประชุมเมื่อนายจ้างเพิกเฉย กำหนดแผนการประชุม ในรายละเอียดให้ชัดเจน ปฏิบัติตามผลการประชุมอย่างชัดเจน ติดตามผลการปฏิบัติงาน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบทั่วกัน ทบทวนสวัสดิการที่จะเสนอต่อนายจ้าง มีความเป็นไปได้ กำลังทรัพย์นายจ้าง และภาวะเศรษฐกิจ นำเสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อกรรมการสวัสดิการแรงงานเพื่อนำไปทบทวนในระดับชาติ copy right TSK

7 ข้อควรคำนึง ปฏิบัติตนเองตัวอย่างที่ดีแก่ลูกจ้างอื่น
เมื่อต้องหารือไม่ควรใช้เวลาปฏิบัติงาน แต่หากจำเป็นให้ขออนุญาตจากหัวหน้า / นายจ้างก่อน ต้องมีความรับผิดชอบและพร้อมทำหน้าที่ตามคำสั่งของนายจ้าง มีความเสียสละและปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ต่อลูกจ้าง และ นายจ้าง เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้าง และนายจ้าง มีความจริงใจ ไม่ทำให้แบ่งแยก copy right TSK

8 บทบาท สร้างความเชื่อถือให้แก่นายจ้าง
ให้ความร่วมมือในกิจกรรมอันเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย ให้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เสียสละเพื่องานของคณะกรรมการฯ เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง ติดตามเรื่องที่ได้มีการเสนอแนะตกลงกันได้ แจ้งผลการเจรจาการตกลงให้ลูกจ้างทราบอย่างถูกต้อง copy right TSK


ดาวน์โหลด ppt กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google