หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต 1. สำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา หรือทรัพยากร/แหล่งน้ำ หรือ วิศวกรรมศาสตร์ชลประทาน หรือสาขาวิชาในชื่ออื่นที่เทียบเท่า หรือ วทบ. (วิศวกรรมโยธา) จากมหาวิทยาลัยที่ ก.พ รับรองและมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมแขนงโยธา (กว.) 2. ในกรณีผู้สมัครไม่มีวุฒิตรงตามข้อ 1. ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมแขนงโยธา (กว.) และจะต้องผ่านการ เรียนรายวิชาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรน้ำและต้องได้รับความ เห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และอาจต้องลงทะเบียนรายวิชาในระดับปริญญาบัณฑิตเพิ่มเติมตามที่ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ กำหนด 3. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้ 4. ผู้สมัครต้องมีหนังสือรับรองจากอาจารย์ที่เคยสอนในระดับปริญญาบัณฑิต หรือจากผู้บังคับบัญชารวม 2 ฉบับ และ ในกรณีที่รับราชการจะต้องมีหนังสือรับรองอนุญาตให้ลาเรียนได้ จากผู้บังคับบัญชาโดยตรงอีก 1 ฉบับ (ดูตัวอย่าง หนังสือรับรองท้ายเล่ม) 5. ผู้สมัครที่มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ 6. เงื่อนไขเฉพาะสำหรับนิสิตที่จะจบการศึกษาที่ยังไม่มีใบ กว.จะอนุญาตให้สมัครได้ แต่จะต้องส่งหลักฐานการมี ใบ กว. ก่อนสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต 1. ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (วศ.ม.) สาขาวิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ หรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 3.50 จากระบบ 4 แต้ม 2. หากผู้สมัครมีคะแนนต่ำกว่า 3.50 แต่ไม่ต่ำกว่า 3.25 ผู้สมัครต้องมีผลงานวิจัยทาง วิชาการที่มีคุณภาพดีซึ่งเคยเสนอใน การประชุมวิชาการหรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง (ต้องแนบ สำเนา ผลงานวิจัยมาพร้อมใบสมัคร) หรือ 3. เป็นผู้ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ปริญญาเอกพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษา 4. ผู้สมัครต้องนำใบรับรองคะแนนรายวิชา (Transcript) ในระดับปริญญาตรี ประกาศนียบัตร (ถ้ามี) และปริญญาโท ประกอบการสมัคร 5. ผู้สมัครที่ทำงานต้องมีหนังสือสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาให้ลาศึกษาได้ 6. ผู้สมัครต้องนำเสนอเอกสารต่อไปนี้ประกอบการสมัคร - บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท - ประวัติการศึกษาและการทำงาน - แนวทางการทำวิจัยในระดับปริญญาเอก สำหรับผู้สมัครที่สำเร็จระดับอนุปริญญา/เทียบเท่ามาก่อน แล้วจึงมาเรียนต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี ผู้สมัครต้องนำใบคะแนนรายวิชา (Transcript) ในระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า ส่งเป็นเอกสารประกอบการสมัครด้วย
ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ วิชาที่สอบ วันและเวลาที่ ทำการทดสอบ สถานที่สอบ ป.โท 1. ความรู้ทั่วไปด้านวิศวกรรมโยธา , ความรู้พื้นฐานทางด้านวิศวกรรมแหล่งน้า, วิศวกรรมอุทกวิทยา, วิศวกรรมชลศาสตร์ 18 มีนาคม 2551 (09.00 - 12.00 น.) ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ ตึก 1 ชั้น 2 ห้อง ภาควิชาฯ 2. สอบสัมภาษณ์ ป.เอก สัมภาษณ์เชิงวิชาการ 25 มีนาคม 2551 (09.00 - 12.00น และ 13.00 -16.00) (09.00 - 16.00 น.) ผู้ที่ไม่มีผลสอบภาษาอังกฤษ (CU-TEP) ดูรายละเอียดได้จากประกาศ เรื่องการทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ และสมัครได้ที่ www.atc.chula.ac.th (ส่งผลการสอบภาษาอังกฤษ (CU-TEP) ที่ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์แหล่งน้ำ ภายในวันที่ 14 มีนาคม 2551) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ 11 มีนาคม 2551 ที่ บัณฑิตวิทยาลัย หรือwww.grad.chula.ac.th ประกาศผลการสอบคัดเลือก 1 เมษายน 2551 ที่ บัณฑิตวิทยาลัย หรือ www.grad.chula.ac.th หากผู้สมัครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร ติดต่อได้ที่ อาจารย์ชัยยุทธ สุขศรี หรือที่ ห้อง 212 ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 1 ระหว่างเวลา 08.30-16.00 น. โทร. 0-2218-6455