อาจารย์ผู้ร่วมประเมิน ระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา Interactive Voice Response System for Students' Grades Notification ผู้ทำโครงการ 1. นายธนวัฒน์ กันพานิชย์ 473040581-3 2. นายวิทวัฒน์ วะสุรี 473040613-6 อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.กานดา รุณนะพงศา อาจารย์ผู้ร่วมประเมิน ผศ.พิเชษฐ เชี่ยวธนะกุล ผศ.วิโรจน์ ทวีปวรเดช
หัวข้อที่จะนำเสนอ ที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ ขอบเขตของโครงการ แผนการดำเนินงาน งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ปัญหาที่พบและแนวทางแก้ไข ความคืบหน้าของโครงการ แผนการดำเนินงานขั้นต่อไป
ที่มาของโครงการ การแจ้งผลการเรียนของนักศึกษามีทางเดียว คือ เว็บไซต์ เซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักหรืออาจล่มไปเลย มีการนำเทคโนโลยีโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Voice over IP) มาประยุกต์ใช้งานกับเทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูด (Text to Speech) และเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส (Web Services) เนื่องจากขณะทางมหาวิทยาลัยมีช่องทางในการรายงานผลการเรียนของนักศึกษาเพียงทางเดียวคือผ่านเว็บไซต์เท่านั้น ผลที่ตามมาคือเมื่อถึงเวลาที่เกรดออกจะมีนักศึกษาเข้ามาดูเป็นจำนวนมากซึ่งทำให้เซิฟเวอร์ทำงานหนักหรืออาจจะล่มไปเลยก็ได้ “” เนื่องจากขณะนี้เทคโนโลยี VoIP เริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ทางเราจึงนำมาประยุกต์ใช้กับ webservice เนื่องจากข้อดีของเว็บเซิฟวิดคือ เราจะได้ข้อมูลที่มีการอัพเดลล่าสุด และข้อดีของ VoIP คือ จะเป็นการรวมเสียงและข้อมูล เมื่อรวมทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วก็จะได้ทั้งข้อมูลล่าสุดแล้วก็เสียงด้วย
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพิ่มช่องทางในการทราบผลการเรียน ลดการทำงานที่เซิร์ฟเวอร์เว็บไซต์ที่แสดงผลการเรียนลง นำเทคโนโลยีโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Voice over IP) มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูด (Text to Speech) และเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส (Web Services) เพิ่มช่องทางที่สามารถในการเข้าดูเกรด ผู้ใช้จะมีตัวเลือกว่าจะเข้าเว็บดูหรือว่าจะโทรไปฟังผลแทน ถ้าผู้ใช้เลือกโทรศัพท์ก็จะทำให้เซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์ทำงานน้อยลง และต้องการที่เพิ่ม application ที่ใช้กับ VoIP
ขอบเขตของโครงการ โทรศัพท์เข้ามาฟังผลการเรียนได้เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้งานได้กับระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Voice over IP) ระบบนี้ฟังได้เพียง 2 ภาษาคือไทยและอังกฤษ และสามารถใช้ได้เพียงแค่โทรศัพท์ IP เท่านั้น ถ้าต้องการให้ใช้ได้กับโทรศัพท์ทั่วไป ต้องมีการ์ดเชื่อมต่อ ซึ่งระบบของเราเป็นเพียงระบบจำลองจึงไม่จำเป็นต้องใช้ แต่ถ้าจะนำไปใช้ควรจะมีการ์ดนี้ อุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่สำหรับคือ switch ที่รองรับ QOS เพื่อเวลาฟังเสียงจะได้ไม่กระตุก
แผนการดำเนินงาน แผนงานการดำเนินงานของเรา แบ่งออกเป็น 5 แผนงานใหญ่ๆ คือ ศึกษาค้นหว้าข้อมูล ใช้เวลาเดือนครึ่ง ออกแบบระบบอีกเดือนครึ่ง พัฒนาระบบใช้เวลา 4 เดือน จากนั้นก็เป็นการทดสอบและปรับปรุงในเวลา 1 เดือน สุดท้ายคือทำรายงานและคู่มือ อีก 1 เดือน
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา WAP (Wireless Application Protocol) SMS (Shot Message Service) IVR (Interactive Voice Respond) การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บน Voice over IP ระบบฟังข่าวอัตโนมัติ (NewsTalk) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้ทำการสืบค้นแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อคือ วิธีการแจ้งผลการเรียนของนักศึกษาในปัจจุบันและการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บน Voice over IP
WAP (Wireless Application Protocol) โปรโตคอลสำหรับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่พกพาได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ และ พีดีเอ เป็นต้น เหมาะสมกับการใช้งานบนเครือข่ายไร้สายที่มีความเร็วต่ำในอินเทอร์เน็ต ภาษาที่ใช้แสดงผลสำหรับเบราว์เซอร์ คือ WML (Wireless Markup Language) ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ตรวจสอบผลการเรียนทางโทรศัพท์มือถือได้ที่ http://admin.src.ku.ac.th/wap/ เป็นโปรโตคอลสำหรับอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายที่พกพาได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ และ PDA (Personal Digital Assistant) เป็นต้น เพื่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต WAP มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับระบบอินเทอร์เน็ตมากแต่ได้รับการออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในเครือข่ายไร้สายที่มีความเร็วต่ำในอินเทอร์เน็ต ภาษาที่ใช้สำหรับแสดงผลสำหรับเบราว์เซอร์คือ HTML จึงไม่ค่อยเหมาะสมกับการแสดงข้อมูลทางหน้าจอ อุปกรณ์พกพาที่มักมีขนาดเล็กและมีแบนวิดท์จำกัด จึงมีการพัฒนาภาษาขึ้นมาใหม่เรียกว่า Wireless Markup Language (WML) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ตรวจสอบผลการเรียนทางโทรศัพท์มือถือได้ที่ http://admin.src.ku.ac.th/wap/
SMS (Shot Message Service) บริการส่งข้อความสั้นๆ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ส่งข้อความได้ได้ไม่เกิน 160 ตัวอักษร การใช้งานคล้ายกับการส่งอีเมล ส่งข้อความที่ได้รับมาต่อไปยังหมายเลขอื่นๆ ได้ไม่จำกัด ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยรามคำแหง เรียกบริการนี้ว่า “ซิมราม” ใช้บริการผ่านทางเครือข่าย AIS เท่านั้น SMS (Shot Message Service) คือบริการส่งข้อความสั้นๆ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ สามารถส่งข้อความได้ไม่เกิน 160 ตัวอักษร ลักษณะการใช้งานจะคล้ายกับการส่งอีเมล คือ สามารถส่งไปยังผู้รับโดยไม่ต้องกังวลว่าพื้นที่ของผู้รับจะมีสัญญาณหรือไม่ในขณะนั้น หากปลายทางไม่มีสัญญาณ ระบบ SMS นี้จะเก็บข้อมูลไว้จนกว่าปลายทางจะมีสัญญาณ ระบบจึงจะทำการส่งข้อมูลไปในทันที นอกจากนี้แล้ว SMS ยังสามารถส่งข้อความที่ได้รับมาต่อไปยังหมายเลขอื่นๆได้อย่างไม่จำกัด มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยเรียกบริการนี้ว่า “ซิมราม” ซึ่งปิดบริการให้นักศึกษาสามารถใช้บริการทางการศึกษาผ่านทาง SMS เช่น ลงทะเบียนเรียน แจ้งตารางสอบและห้องสอบ แจ้งผลสอบ และแจ้งข่าวสารของทางมหาวิยาลัย โดยใช้บริการผ่านทางเครือข่าย AIS เท่านั้น
IVR (Interactive Voice Respond) ระบบตอบรับอัตโนมัติทางโทรศัพท์ กระบวนการขอใช้บริการผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์ ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สามารถโทรมาฟังได้ที่เบอร์ 0-2470-8333 หรือเบอร์ภายใน 8333 IVR (Interactive Voice Respond) หรือ ระบบตอบรับอัตโนมัติทางโทรศัพท์ คือ กระบวนการขอใช้บริการผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์ ตัวอย่าง การขอใช้บริการเติมเงินโดยใช้บัตรเติมเงินผ่านทางโทรศัพท์ โดยทำการกดหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้บริการเติมเงินเพื่อเข้าสู่ระบบตอบรับอัตโนมัติแล้วทำการกดรหัสบัตรเติมเงินแล้วตามด้วยเครื่องหมาย# ระบบก็จะทำการเติมเงินเข้าบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นำมาตอบรับเรื่องการประกาศเกรด ผลสอบ และประกาศข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา ซึ่งเราสามารถโทรมาฟังได้ที่เบอร์ 0-2470-8333 หรือเบอร์ภายในกดเบอร์ 8333
ระบบฟังข่าวอัตโนมัติ (NewsTalk) เป็นบริการที่ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ใช้งานโทรศัพท์ พัฒนาเป็นระบบตอบรับอัตโนมัติ (IVR) บนระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Voice over IP) ใช้ซอฟต์แวร์ IP PBX ที่เป็นโอเพนซอร์ส คือ Asterisk มีอินเตอร์เฟตสำหรับเพิ่มแอปพลิเคชัน คือ Asterisk Gateway Interface (AGI) ระบบฟังข่าวอัตโนมัติหรือ NewTalk เป็นงานวิจัยที่ประสานเทคโนโลยีโทรศัพท์พื้นฐาน (PSTN) โทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (VoIP) อินเทอร์เน็ต (Internet) และการสังเคราะห์เสียงพูด (Text to Speech) เพื่อเป็นบริการที่ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ใช้งานโทรศัพท์ไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลเพียงใดก็สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องอ่านข่าวเอง ภายในระบบเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างซอฟต์แวร์ IP PBX และโปรแกรมสังเคราะห์เสียงทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยทำการพัฒนาเป็นระบบตอบรับอัตโนมัติบนระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Voice over IP) ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ IP PBX ที่เป็นโอเพนซอร์ส คือ Asterisk ที่สามารถติดตั้งบน PC ทั่วไปได้โดยไม่ต้องอาศัยฮาร์ดแวร์แบบพิเศษเพียงแค่มีการ์ดสำหรับคู่สายแบบ E1/T1 ก็สามารถเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์พื้นฐานได้ทำให้สามารถนำมาทดแทนอุปกรณ์ PBX และ IVR แบบดั้งเดิมในราคาที่ต่ำลงมา นอกจานี้ Asterisk ยังมีอินเตอร์เฟตสำหรับเพิ่มแอปพลิเคชัน คือ Asterisk Gateway Interface (AGI) ที่รองรับภาษาต่างๆ เช่น Perl, Python, PHP, Ruby, C เป็นต้น
ระบบฟังข่าวอัตโนมัติ (NewsTalk) Asterisk ตอบรับการทำงานและเรียกใช้โปรแกรม NewsTalk โทรศัพท์เข้ามาที่ระบบ ดึงข้อมูลข่าวจากอินเทอร์เน็ต แยกข้อความภาษาไทยและอังกฤษ สังเคราะห์เสียง ขั้นตอนการทำงานของระบบฟังข่าวอัตโนมัติ ผู้ใช้งานโทรศัพท์เข้ามาที่ระบบโดยสามารถจากระบบโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Asterisk ตอบรับการทำงานและเรียกใช้โปรแกรม NewsTalk ระบบ NewsTalk ดึงข้อมูลข่าวจากอินเทอร์เน็ต ระบบ Newstalk ตรวจสอบแยกประเภทข้อความและสังเคราะห์ข้อความข่าวเป็นข้อความเสียง ส่งข้อความเสียงแสดงให้ผู้โทรเข้ามาฟัง ข้อความเสียง
ปัญหาที่พบและแนวทางแก้ไข สำนักทะเบียนไม่มี PBX เป็นของตัวเอง ทางศูนย์คอมพิวเตอร์ไม่มีเบอร์โทรศัพท์ให้ทดลองใช้ระบบ แนวทางแก้ไข ทำระบบนี้ให้เป็นแบบจำลองก่อน ทางสำนักทะเบียนจะให้โครงสร้างของฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทำให้ระบบนี้ใช้งานได้จริง เราจึงได้ไปขอคำปรึกษาจากสำนักทะเบียน จึงได้ทราบว่า สำนักทะเบียนไม่มีตู้ PBX เป็นของตัวเอง และทางศูนย์คอมไม่มีเบอร์เหลือที่จะรองรับระบบนี้ แนวทางแก้ไขคือทำระบบนี้เป็นแบบจำลองก่อน และทางสำนักทะเบียนจะสนันสนุนในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างของฐานข้อมูลเกี่ยวข้อง และระบบนี้อาจจะถูกนำไปใช้เมื่อทุกอย่างพร้อม
ความคืบหน้าของโครงการ ในช่วงของการศึกษาข้อมูลนี้ จะ ศึกษาวิธีการแจ้งเกรดให้นักศึกษาได้ทราบของแต่ละมหาลัย ซึ่งมีบางมหาลัยที่ใช้เทคโนโลยี SMS เข้ามาช่วย แต่ที่นำระบบตอบรับโทรศัพท์มาแจ้งเกรดนั้นยังไม่มี จากนั้นค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับ RSS ว่าเหมาะสมกับการนำมาแจ้งเกรดหรือไม่รวมทั้งเทคโนโลยี VoIP และ protocols ที่เกี่ยวข้อง เมื่อทราบถึงความต้องการของระบบทั้ง input และ output แล้วจึงทำการแบบระบบ ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วงออกแบบระบบตอบรับ คือถ้ามีคนโทรมาระบบจะทำอะไรกับคนนั้นบ้าง และออกแบบฐานข้อมูลของฝั่งระบบตอบรับ
แผนการดำเนินงานต่อไป ออกแบบโครงสร้างของระบบ ศึกษาเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาระบบ จำลองระบบขึ้นเพื่อทดสอบการทำงานตามโครงสร้างของระบบ แผนการดำเนินงานต่อไปคือ ออกแบบโครงสร้างโดยรวมของระบบว่าประกอบด้วยส่วนไหนบ้าง จากนั้นก็ทำการศึกษาเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาระบบและทำการจำลองระบบขึ้นมาเพื่อทดสอบการทำงานในแต่ละส่วนตามโครงสร้างของระบบที่ได้ทำการออกแบบ
คำถามและข้อเสนอแนะ
จบการนำเสนอ