ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทย์ คณะนิติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รายงานการประชุมเรื่อง “กลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายในคดีล่วงละเมิดทางเพศ” ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทย์ คณะนิติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดย สุรีพร ยุพา องค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
รายงานการประชุมเรื่อง “กลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายในคดีล่วงละเมิดทางเพศ” วันศุกร์ ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๐๙.๐๐ น.- ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในเนื้อหาสัมมนาได้พูดถึง “สิทธิและความเสมอภาคทางเพศในกระบวนการยุติธรรม โดยพิจารณาประเด็น สถานะของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ พนักงานบริการ แรงงานหญิงข้ามชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย เด็กหญิงและหญิงสาว หญิงที่มีสามีมากกว่า ๑ คน โดย ๑. พ.ต.ท. ปัญญา ชะเอมเทศ กองปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชนและสตรี (ปดส) ๒. ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ที่ปรึกษา ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ ๓. อาจารย์สมชาย ปรีชาศิลปะกุล คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ๔. คุณณัฐวุฒิ บัวประทุม มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ๕. คุณสุรางค์ จันทร์แย้ม มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ ๖. คุณฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ องค์กรเครือข่ายบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
ดำเนินรายการโดย รศ.ดร. กฤตยา อาชวนิชกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งในช่วงเช้าที่ได้เข้าร่วมการอบรม ผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นได้ออกมาพูดถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งกฎหมายไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรณีแก๊งค์เกลียดกระเทย กลุ่มนี้จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่กลุ่มกระเทยโดยไม่มีเหตุผล หรือในกรณีสตรีขายบริการที่ถูกข่มขืนโดยชายมากกว่า ๑ คน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นว่าไม่ใช่การข่มขืน หรือกรณีสตรีขายบริการถูกจับในข้อหาขายบริการในวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นจากกลุ่มพนักงานขายบริการขาดความรู้ทางด้านกฎหมาย จึงทำให้ขาดความเข้าใจและไม่สามารถปกป้องสิทธิของตนเองได้ หลังจากที่ทุกกลุ่มได้นำเสนอประเด็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายในคดีล่วงละเมิดทางเพศในกลุ่มแล้ว ทีมผู้จัดงานได้เชิญให้ทางเครือข่ายคนพิการนำเสนอประเด็นคดีล่วงละเมิดทางเพศในกลุ่มคนพิการ คุณสุภัทราพร จึงนำเสนอกรณีคนพิการที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ประเด็นคนพิการที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ กรณีของคนพิการที่ขอนแก่น กรณีของคนพิการที่ถูกข่มขืน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้แนะนำให้ไปพบแพทย์ และแนะนำให้ตัดมดลูกออก เรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของคนพิการทางสติปัญญา กรณีคนตาบอดถูกข่มขืน
สรุป มิติของสตรีพิการ ในการกระบวนการถูกฐานคติที่มองว่าความบกพร่องที่หลากหลาย ตาบอด หูหนวก สติปัญญา ตลอดจนความพิการทางกาย ทำให้สตรีพิการจัดเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการถูกคุกคามทางเพศสูง แต่ไม่มีกลไลของกระบวนการยุติธรรมเข้ามาช่วยเหลือ นอกจากนั้นครอบครัวมีความอับอายที่มีลูกพิการ เมื่อลูกถูกข่มขืน ก็คิดว่าเป็นเวรกรรม ทั้งพิการและถูกข่มขืนควรจะเก็บความลับไว้ในครอบครัว (ฐานคติทางศาสนาที่มีต่อสตรีพิการ) สตรีพิการขาดความรู้ ในการสื่อที่ถูกกระทำรุนแรง ทั้งจากครอบครัวและบุคคลอื่น กลไกของรัฐไม่สามารถช่วยเหลือสตรีพิการ สตรีพิการไม่มีความน่าเชื่อถือ เพราะความบกพร่องของร่างกายที่ติดตัวตั้งเกิดหรือในภายหลัง ข้อเสนอแนะ เรื่องสตรีพิการเป็นเรื่องใหม่ ในกลุ่มของสตรี ในทางสถิติหรือการศึกษา กลุ่มสตรีชายขอบหรือสตรีพิการเนื่องจาก ๑. เกิดมาเป็นสตรี ๒.มีความพิการ ๓.อยู่ท่ามกลางความยากจน จึงเป็นมิติความซับซ้อนภายใต้มิติของสตรีทั่วไป สุรีพร ยุพา องค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก