งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รองศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รองศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รองศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนทางวินัย เรื่อง กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง รองศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2 หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง
1) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำ ทางปกครอง (1) เปรียบเทียบหลักการพื้นฐานในกฎหมาย กฎหมายเอกชนและกฎหมายปกครอง (2) เนื้อหาของหลักความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำทางปกครอง

3 (4) หลักการคุ้มครองความเชื่อถือและไว้วางใจ
2) หลักการพื้นฐานสำหรับการกระทำทางปกครอง (1) หลักความพอสมควรแก่เหตุ (2) หลักความชัดเจนแน่นอนและคาดหมาย ได้ในการกระทำทางปกครอง (3) หลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยอำเภอใจ (4) หลักการคุ้มครองความเชื่อถือและไว้วางใจ (5) หลักการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ

4 3) ข้อความคิดว่าด้วยดุลพินิจของฝ่ายปกครอง
(1) การใช้กฎหมายของฝ่ายปกครองและการควบ คุมตรวจสอบการใช้กฎหมายของฝ่ายปกครอง (2) ความหมายของ “ดุลพินิจของฝ่ายปกครอง” (3) ดุลพินิจที่ผิดพลาด

5 กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ความหมาย : เป็นกฎหมายกำหนดกฎเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยเฉพาะการออกคำสั่งทางปกครองและขั้นตอนการปฏิบัติภายหลังจากที่ได้ออกคำสั่งทางปกครองแล้ว ความสำคัญ : เป็นกฎหมายหลักที่กำหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานขององค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีระบบระเบียบ

6 กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ต่อ)
ขอบเขตการใช้บังคับ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเป็น “กฎหมายกลาง” เพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับการใช้อำนาจในฝ่ายปกครอง กรณีที่มิใช่การใช้อำนาจทางปกครอง จะไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายนี้ (มาตรา 4)

7 กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ต่อ)
ผู้มีอำนาจพิจารณาเรื่องทางปกครอง ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือมอบอำนาจให้พิจารณาเรื่องทางปกครอง เว้นแต่กรณีที่รัฐมอบหมายให้เอกชนใช้อำนาจทางปกครองแทนในบางเรื่อง เช่นนี้ย่อมถือว่าเอกชนเป็นเจ้าหน้าที่เช่นกัน

8 กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ต่อ)
ผู้มีส่วนร่วมในการพิจารณาเรื่องทางปกครอง (คู่กรณี) หมายถึง เอกชนที่เกี่ยวข้องในกระบวนพิจารณาออกคำสั่งทางปกครอง ได้แก่ ผู้ยื่นคำขอ ผู้คัดค้านคำขอ ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง หรือผู้ที่อาจถูกกระทบกระเทือนจากผลของคำสั่งทางปกครอง

9 กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ต่อ)
คำสั่งทางปกครอง : ผลผลิตของกระบวนวิธีพิจารณาเรื่องทางปกครอง ความหมาย ต้องเป็นมาตรการอันเกิดจากการใช้อำนาจรัฐ ต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ ต้องเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์อันมุ่งต่อผลในทางกฎหมาย ต้องเป็นการกระทำที่เกิดผลเฉพาะกรณี ต้องมีผลบังคับโดยตรงออกไปภายนอกฝ่ายปกครอง

10 กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ต่อ)
ผลของคำสั่งทางปกครอง การสิ้นผลของคำสั่งทางปกครอง คำสั่งทางปกครองมีผลใช้ยันบุคคลตั้งแต่ผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นต้นไป และย่อมมีผลตราบเท่าที่คำสั่งนั้นยังไม่สิ้นผลโดยการลบล้าง โดยเงื่อนเวลา หรือโดยเหตุอื่น เพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบ ยกเลิกคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย

11 กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ต่อ)
การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง ในกรณีที่กฎหมายเฉพาะกำหนดขั้นตอน ระยะเวลา และวิธีการอุทธรณ์ไว้อย่างไร บุคคลผู้รับคำสั่งทางปกครองก็จะต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายเฉพาะนั้นกำหนดไว้ หากไม่มีกฎหมายเฉพาะ จึงจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองซึ่งเป็นกฎหมายกลาง การอุทธรณ์คำสั่งไม่มีผลเป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่ง เว้นแต่เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งจะพิจารณาทุเลาการบังคับให้

12 กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ต่อ)
การขอให้พิจารณาใหม่ คำสั่งทางปกครองที่ล่วงเลยระยะเวลาอุทธรณ์ ย่อมมีผลบังคับผูกพันให้ผู้รับคำสั่งต้องปฏิบัติตามคำสั่งนั้น จะมาอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือจะนำคดีไปฟ้องศาลปกครองไม่ได้ อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ก็ได้เปิดช่องทางให้คู่กรณีขอให้พิจารณาเรื่องทางปกครองใหม่ได้ (มาตรา 54)


ดาวน์โหลด ppt รองศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google