รายละเอียดของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา รายละเอียดของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและบทบาทของหน่วยงานระดับต่างๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการโดยกรมวิชาการเสนอไว้เป็นแนวทางแก่หน่วยงานต่างๆ ที่มีสถานศึกษาในสังกัดสรุปไว้ในแผนภูมิต่อไปนี้
๑.การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ - ๑.๑จัดโครงสร้างการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการดำเนินงาน ทุกคนส่วนร่วม และมีการประสานสัมพันธ์กับทุกฝ่ายทุกคน (๑.บันทึกการประชุมจะทำอะไร ๒.ออกคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ ๓.ออกระเบียบงานแต่ละฝ่ายงานของโรงเรียน) - ๑.๒ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางทำงาน ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ(๑.บันทึกการประชุม) และออกคำสั่งแต่งตั้งคณะบุคคลทำการตรวจสอบทบทวนและรายงานคุณภาพการศึกษาปีก่อน (ทำการวิเคราะห์ SWOTให้ได้ข้อมูล) - ๑.๓จัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์ภารกิจและแผนพัฒนา
๒.การกำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษา - มุ่งเน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานช่วงชั้นที่หลักสูตรกำหนด(มฐ.ของ สมศ./สพฐ.)
๓.จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา - แผนที่จัดทำอย่างเป็นระบบพื้นฐานข้อมูลของสถานศึกษาประกอบด้วย /เป้าหมาย /ยุทธศาสตร์ และ /แนวปฏิบัติ ที่ชัดเจนสมบูรณ์ครอบคลุมการพัฒนาทุกกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบหลักของการจัดการศึกษา และเป็นที่ยอมรับร่วมกันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นำไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมที่กำหนดอย่างสอดรับ กับวิสัยทัศน์/มาตรฐาน/หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๔.ดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา - กำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง(แผนนิเทศ/ปฏิทินนิเทศ)ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่กำหนดไว้โดยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่ชัดเจน ครอบคลุมงาน/โครงการ/กิจกรรมของสถานศึกษา
๕.ตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษา ประกอบด้วยการตรวจสอบและทบทวนภายใน โดย ๑.บุคลากรในสถานศึกษาดำเนินการและ ๒.การตรวจสอบและทบทวนจากหน่วยงานต้นสังกัด
๖.ประเมินคุณภาพการศึกษา - เน้นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในระดับชั้นที่เป็นตัวประโยคได้แก่ ประถมศึกษาปีที่ ๓ และ ๖ มัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๖ ในวิชาแกนร่วม โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐาน โดยหน่วยงานส่วนกลางร่วมกับต้นสังกัด (เขตพื้นที่) ดำเนินการ
๗.จัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา - เป็นการนำข้อมูลผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพ(รายงานผลงาน/โครงการ/กิจกรรม)การตรวจสอบและทบทวนภายใน(เปรียบเทียบกับเป้าหมาย/ตัวชี้วัดที่ตั้งไว้)และภายนอกมาประมวลรายงานผลการพัฒนาคุณภาพประจำปีการศึกษา(SAR)ซึ่งจะนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพต่อไป
๘.การผดุงระบบประกันคุณภาพ - เป็นกลไกส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการส่งเสริมพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพ