การศึกษาพฤติกรรมการส่งงานของนักเรียนชั้น ปวช.ปีที่ ๒ สาขาการบัญชี วิชาบัญชีร่วมค้าและฝากขาย วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการเชียงราย ชื่อ ผู้วิจัย นางดวงใจ สารภี สังกัด วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โทร. 053-711021
ปัญหาการวิจัย นักเรียน ปวช. ปีที่ 2 สาขาการบัญชี ในรายวิชาบัญชี ร่วมค้าและฝากขาย ส่วนใหญ่ไม่ส่งงานตามกำหนด ส่งผลให้นักเรียนไม่มีความรู้และทักษะบัญชี เพียงพอที่จะเรียนรู้ในบทต่อไปได้
วัตถุประสงค์งานวิจัย เพื่อเพิ่มพฤติกรรมการส่งงานของนักเรียน ชั้น ปวช.ปีที่ 2 สาขาการบัญชี ในรายวิชาบัญชีร่วมค้าและฝากขาย วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการเชียงราย โดยวิธีการเสริมแรงจูงใจ
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น – การเสริมแรงจูงใจ ตัวแปรตาม - พฤติกรรมการส่งงานของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การเสริมแรงจูงใจและ แบบบันทึกพฤติกรรมการส่งงานของนักเรียน วิธีการเสริมแรงจูงใจ - ให้คะแนน+2 สำหรับนักเรียนที่ส่งงานตามกำหนด - ให้คะแนน+1 สำหรับนักเรียนที่ส่งงานไม่ทัน กำหนด - ให้คะแนน -1 แก่นักเรียนที่ไม่ส่งงาน
กลุ่มประชากร นักเรียน ปวช. ปีที่ 2 สาขาการบัญชี ห้อง 2/3 , 2/4 จำนวน 61 คน ระยะเวลาทำการวิจัย ภาคเรียนที่ 2 /2554
วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยบันทึกข้อมูลพฤติกรรมการส่งงานก่อนและหลังการเสริมแรงจูงใจของนักเรียนปวช.ปี 2 สาขาการบัญชี จำนวน 61 คน นำข้อมูลที่บันทึกมาหาผลต่างของจำนวนครั้งที่ส่งงานก่อนและหลังการเสริมแรงของนักศึกษาแต่ละคน นำผลต่างที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อนำไปทดสอบด้วยค่าสถิติ t- test แบบ dependent ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 6
สรุปผลการวิจัย พบว่าหลังจากการเสริมแรงจูงใจแล้วพฤติกรรมการส่งงานของนักเรียนปวช.ปีที่ 2 สาขาบัญชี ห้อง 2/3,2/4 จำนวน 61 คนเพิ่มขึ้น 0.98 ครั้ง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยทราบว่าการเสริมแรงจูงใจทำให้พฤติกรรมการส่งงานของนักเรียนปวช.ปี 2 สาขาการบัญชี เพิ่มขึ้นได้จริง ผู้วิจัยทราบแนวทางในการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ไขปัญหาการไม่ส่งงานตามกำหนดของนักเรียนได้ด้วยวิธีการเสริมแรงที่เหมาะสม วิธีการเสริมแรงจูงใจนี้อาจนำไปปรับใช้เพื่อลดพฤติกรรมในการไม่ส่งงานในรายวิชาอื่นได้
จบการนำเสนอ ขอขอบคุณคณะผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการเชียงราย จบการนำเสนอ ขอขอบคุณคณะผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการเชียงราย