งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผู้วิจัย นายอภิสิทธิ์ แก้วฟู วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผู้วิจัย นายอภิสิทธิ์ แก้วฟู วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผู้วิจัย นายอภิสิทธิ์ แก้วฟู วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี
การพัฒนาความรู้ เรื่อง ระบบการจัดเก็บเอกสาร ตามลำดับตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี ปีการศึกษา 2559 ผู้วิจัย นายอภิสิทธิ์ แก้วฟู วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี

2 ที่มาและความสำคัญ

3 วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความรู้ เรื่อง ระบบการจัดเก็บเอกสารตามลำดับตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี ปีการศึกษา 2559 เพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการทำแบบทดสอบ เรื่อง ระบบการจัดเก็บเอกสารตามลำดับตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี ปีการศึกษา 2559

4 กรอบแนวคิด ตัวแปรตาม ตัวแปรต้น ความรู้ เรื่อง ระบบการจัดเก็บเอกสารตามลำดับตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เทคนิคการเรียนรู้ แบบร่วมมือ รูปแบบ STAD

5 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 แผนกพาณิชยกรรม สาขาธุรกิจสถานพยาบาล ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี ที่ลงทะเบียนเรียน ในรายวิชาการจัดเก็บเอกสาร ( ) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้วิจัยเลือกใช้กลุ่มประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 แผนกพาณิชยกรรม สาขาธุรกิจสถานพยาบาล ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการจัดเก็บเอกสาร ( ) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน ซึ่งการเลือกกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวผู้วิจัยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

6 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ปฐมนิเทศนักเรียนกลุ่มตัวอย่างเพื่อทำความเข้าใจ ดำเนินการจัดการเรียนการสอน (รูปแบบปกติ) ประเมินผลครั้งที่ 1 (ก่อน) ดำเนินการจัดการเรียนการสอน (รูปแบบ STAD) แบ่งกลุ่มตัวอย่างตามผลคะแนนจากการทำแบบทดสอบ ประเมินผลครั้งที่ 2 หลัง

7 วิเคราะห์ผลการวิจัย แผนภูมิแสดง ผลการวิเคราะห์การพัฒนาความรู้ เรื่อง ระบบการจัดเก็บเอกสารตามลำดับตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD

8 วิเคราะห์ผลการวิจัย แผนภูมิแสดง ผลการวิเคราะห์การพัฒนาความรู้ เรื่อง ระบบการจัดเก็บเอกสารตามลำดับตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD พบว่า ผลคะแนนจากการทำแบบทดสอบของนักเรียนก่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ได้ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 4.43 และหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ได้ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.34 และนักเรียนมีผลคะแนนของพัฒนาการเฉลี่ย เท่ากับ 13.77

9 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ ผลต่าง
วิเคราะห์ผลการวิจัย ตารางแสดง ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการทำแบบทดสอบ เรื่อง ระบบการจัดเก็บเอกสารตามลำดับตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD การทดสอบ คะแนนเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าเฉลี่ย ของผลต่าง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ ผลต่าง T-test df Sig. ก่อนเรียน 12.02 4.43 13.77 3.02 20.343 19 .000 หลังเรียน 25.80 3.34 พบว่าผลคะแนนจากการทำแบบทดสอบของนักเรียนก่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ได้ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 4.43 และหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ได้ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.34 ทดสอบค่า T-test เท่ากับ เมื่อดำเนินการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD นักเรียนมีผลคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

10 สรุปและอภิปรายผลการวิจัย
ผลคะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD นักเรียนสามารถทำแบบทดสอบได้ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ และหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD นักเรียนสามารถทำแบบทดสอบได้ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ โดยระดับค่า T-test เท่ากับ แสดงให้เห็นได้ว่านักเรียนมีผลคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เนื่องจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ครบทุกขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง–ปานกลาง–อ่อน) 2) ให้สมาชิกในกลุ่มศึกษาเนื้อหาสาระที่มอบหมายร่วมกัน 3) ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบและประเมินผล 4) เสริมแรง ชื่นชม ให้รางวัลสำหรับกลุ่มที่ได้ผู้คะแนนสูงสุด (ทิศนา แขมมณี, 2551, น.64-70) ทั้งนี้ในแต่ละกระบวนการผู้วิจัยยังได้สอดแทรกกิจกรรมต่างๆที่ให้นักเรียนได้ร่วมกันระดมความคิด พูดคุย อภิปรายร่วมกัน ที่สำคัญมีการถ่ายทอดความรู้ จากนักเรียนที่เรียนเก่งไปยังสมาชิกคนอื่นภายในกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกทุกคนเกิดการเรียนรู้ไปพร้อม ๆกัน ซึ่งภาพที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือนักเรียนที่มีคะแนนผลการเรียนสูงและปานกลาง จะช่วยสอนและอธิบายเนื้อหาให้กับเพื่อนสมาชิกที่ผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์ต่ำได้อย่างเข้าใจจนสามารถทำแบบทดสอบได้

11 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย
1. ครูผู้สอนจะต้องเข้าใจบทบาทของตนเองว่าการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือนั้น ครูผู้สอนจะเป็นเพียงผู้ให้ข้อคิด ข้อเสนอแนะ ชี้ข้อบกพร่องตลอดจนให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติและเข้าใจด้วยตนเองมากที่สุด 2. ควรจัดกลุ่มนักเรียนให้คละความสามารถอย่างชัดเจน ตามเนื้อหาการเรียนรู้ที่สอนเพื่อให้สมาชิกเกิดพฤติกรรมกลุ่มร่วมมือในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อการเรียนการสอน ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือรูปแบบอื่นๆ 2. ควรศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD


ดาวน์โหลด ppt ผู้วิจัย นายอภิสิทธิ์ แก้วฟู วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google