นางสาวปุณณภา ฉัตรเดชาพล การศึกษาผลการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงิน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการบัญชีตั๋วเงิน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขางานการบัญชี นางสาวปุณณภา ฉัตรเดชาพล
ปัญหาการวิจัย การเรียนวิชาบัญชีให้เข้าใจสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ นักเรียนต้องวิเคราะห์รายการค้าให้ได้ อีกทั้งจะต้องทำแบบฝึกหัดด้วยตัวเองจะทำให้เรียนบัญชีได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งในรายวิชาการบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงิน เป็นรายวิชาของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)ของนักเรียนสาขาการบัญชี ซึ่งจะเรียนเกี่ยวกับตั๋วเงิน การบันทึกบัญชีตั๋วเงินในแต่ละประเภท เพราะว่าในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันการซื้อขายสินค้าอาจจะไม่สะดวกที่จะชำระเป็นเงินสดได้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการชำระหนี้
ปัญหาการวิจัย จึงต้องใช้ตั๋วเงินชำระหนี้ระหว่างกันได้เพราะว่าตั๋วเงินสามารถโอนเปลี่ยนมือจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้จากการเรียนการสอนในวิชาการบัญชีตั๋วเงิน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขางานการบัญชี ในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงิน จำนวน 36 คน พบว่า นักเรียนบันทึกบัญชีไม่ได้ ซึ่งสาเหตุดังกล่าวเมื่อผู้สอนได้พูดคุยกับนักเรียนสรุปได้ว่านักเรียนวิเคราะห์รายการค้าไม่ได้ว่าเมื่อมีรายการค้าเกิดขึ้นนักเรียนไม่รู้จะบันทึกบัญชีเป็นตั๋วเงินรับหรือตั๋วเงินจ่าย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การบันทึกบัญชี เกี่ยวกับตั๋วเงิน วิชาการบัญชีตั๋วเงิน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขางานการบัญชี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงิน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขางานการบัญชี ให้สูงขึ้น
ตารางสรุปผลการวิจัย ผลการทดสอบ N ร้อยละ (%) Mean ( x ) S.D ก่อนเรียน ตารางที่ 1 แสดงจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนวิชาการบัญชีตั๋วเงิน ตารางสรุปผลการวิจัย ผลการทดสอบ N ร้อยละ (%) Mean ( x ) S.D ก่อนเรียน 30 13.10 3.93 1.57 หลังเรียน 51.57 15.47 2.05
ตารางสรุปผลการวิจัย จากตารางที่ 1 พบว่าผลสัมฤทธิ์ของคะแนนทดสอบก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 3.93 (S.D = 1.57) คิดเป็นร้อยละ 13.10 ส่วนผลสัมฤทธิ์ของคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 15.47 (S.D = 2.05) คิดเป็นร้อยละ 51.57 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบคะแนนการทดสอบทักษะการบันทึกบัญชีตั๋วเงินของนักเรียนก่อนและหลังการทดลองและนำคะแนนมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ปรากฏว่าทักษะการบันทึกบัญชีตั๋วเงิน ของนักเรียนพัฒนาสูงขึ้นปรากฏดังตารางที่ 2
ตารางสรุปผลการวิจัย ผลการทดสอบ N Mean ( x ) S.D t-test P-value ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบคะแนนทดสอบการกรอกแบบแสดงรายการบันทึกบัญชีตั๋วเงิน ก่อนและหลังการทดลอง ผลการทดสอบ N Mean ( x ) S.D t-test P-value ก่อนเรียน 30 3.93 1.57 30.866** .000 หลังเรียน 15.47 2.05 **มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในตาราง ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีตั๋วเงิน ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยชุดฝึกทักษะการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงินมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (ด้วยความมั่นใจ 99%)
สรุปผลการวิจัย การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการบัญชีตั๋วเงิน ทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นเพื่อจะได้บูรณาการวิธีการสอนให้มีความหลากหลายและให้เข้ากับเนื้อหาบทเรียนต่าง ๆเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชำนาญในการบันทึกบัญชีตั๋วเงิน ต่อไปในภาคเรียนการศึกษา ปี 2556 ต่อไป
อภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิจัยการศึกษาผลการสอนโดยชุดฝึกทักษะการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงิน ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีตั๋วเงิน ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (ด้วยความมั่นใจ 99%) ทั้งนี้ เนื่องจากนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนโดยชุดฝึกทักษะเรื่อง “ การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงิน ” ทำให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้นซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สายพิณ สีดา (2551)
จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ