ชื่อเรื่อง การใช้แนวการสอนพหุประสาทสัมผัสเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ผู้วิจัย นางสาวปวีณา สุวรรณปักษ์
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา ภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญอย่างมากในโลกปัจจุบันเนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลและยังใช้ในการประกอบอาชีพได้อีกด้วยนอกจากนี้ภาษาอังกฤษยังใช้ในการติดต่อสื่อสารเจรจาต่อรองเพื่อการแข่งขันและร่วมมือทั้งทางเศรษฐกิจสังคมการเมืองและการศึกษาดังนั้นในการปฏิรูปการศึกษาไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2540 จึงได้เน้นย้ำให้การศึกษาไทยต้องมีคุณภาพมีมาตรฐานในระดับสากลสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ภาษาอังกฤษจึงยังเป็นภาษาสากลที่ใช้แพร่หลายกันทั่วโลก
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความสามารถทางด้านการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลังการเรียนโดยใช้แนวการสอนพหุประสาทสัมผัส 2. เพื่อประเมินผลความพึงพอใจการใช้เครื่องมือเพื่อส่งเสริมความสามารททางการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ตัวแปรต้น คือการใช้แนวการสอนพหุประสาทสัมผัส ตัวแปรตาม คือความสามารถทางการจดจำคำศัพท์ ภาษาอังกฤษ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 แผนก การโรงแรมและการท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ จำนวน 47 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 แผนก การโรงแรมและการท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ จำนวน 20 คน โดยเลือกแบบเจาะจงเฉพาะนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบคำศัพท์ (Dictation)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการเรียนรู้ตามแนวการสอนพหุประสาทสัมผัส จำนวน 5 แผน แผนละ 3คาบ รวมทั้งหมด 15 คาบ คาบละ 50 นาที แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แผนการเรียนรู้ตามแนวการสอนพหุประสาทสัมผัส
การรวบรวมข้อมูล ผู้สอนจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีการฝึกฝนการใช้ทักษะการพูดออกเสียงคำศัพท์ ร่วมกับการแสดงพฤติกรรมทันทีหลังจากเสนอเนื้อหาในที่นี้คือการที่ใช้สื่อต่างๆเช่น ครูผู้สอนยกรูปภาพ หรือทำท่าทางประกอบ ซึ่งอาจมีการฝึกพูดพร้อมกัน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างอิสระใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง เช่น การแสดงบทบาทสมมุติ (Role play) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ใช้สถิติค่าเฉลี่ยมาตรฐานและร้อยละ
สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนมีความสามารถทางการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากการทดสอบ 3 ครั้ง เฉลี่ยแล้วผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับดี หลังการเรียนตามแนวการสอนพหุประสาทสัมผัส 2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยการใช้แนวการสอนพหุประสาทสัมผัสในระดับดี สรุปผลการวิจัย
จบการนำเสนอ