การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม CONTERT AUTHORING
เป็นที่ยอมรับว่า ครู ต้องพัฒนารูปแบบการจัดทำสื่อการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน ให้มีรูปแบบที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มากขึ้น จากเดิมที่สื่อการเรียนรู้อาจมีรูปแบบเป็นเอกสาร เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการเรียนรู้มากขึ้น สื่อในรูปแบบของเอกสารจึงพัฒนารูปแบบให้เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ในบทความนี้ ผู้เขียนขอเสนอวิธีสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Content Authoring ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เอื้ออำนวยให้ผู้ที่มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป สามารถใช้เพื่อออกแบบสื่อการเรียนรู้ได้โดยไม่ยาก
ก่อนที่ท่านจะลงมือสร้างสื่อด้วยโปรแกรม Content Authoring ให้ท่านตอบคำถามต่อไปนี้ก่อนคือ 1. ท่านมีเนื้อหาที่เป็นเป็นข้อความ ซึ่งอาจพิมพ์ไว้ด้วยโปแกรม word แล้วหรือยัง 2. ท่านมีภาพ (Image) ประกอบบทเรียนหรือยัง ภาพนั้นได้รับการตกแต่งให้เหมาะกับการจัดทำสื่อหรือยัง(อ่านเพิ่มเติมได้จาก http://nites.esanpt1.org) 3. ท่านมีเพลง (Sound) ประกอบบทเรียนหรือไม่ ต้องมีหรือไม่ 4. บทเรียนของท่านต้องมีภาพเคลื่อนไหว (Video) หรือไม่ ถ้ามีต้องไปถ่ายเองหรือหาจากไหน 5. เตรียมสตริปของสื่อเราหรือยัง เช่น เราจะมีสื่อสัก 10 หน้า อาจเขียนสตริปง่ายๆ ดังนี้
หน้า 1 เป็นปก ต้องมีชื่อเรื่อง มีภาพประกอบปก มีข้อความบอกว่าเป็นสื่อของสาระการเรียนรู้อะไร ช่วงชั้นหรือชั้นไหน ใครเป็นคนจัดทำ เป็นต้น หน้า 2 เป็นคำนำ หน้า 3 เป็นสารบัญ หน้า 4 เป็นเนื้อหาตอนที่ 1 หน้า 5 เป็นเนื้อหาตอนที่ 2 หน้า 6 เป็นเนื้อหาตอนที่ 3 หน้า 7 เป็นเนื้อหาตอนที่ 4 หน้า 8 เป็นเนื้อหาตอนที่ 5 หน้า 9 เป็นแบบทดสอบหลังเรียน หน้า 10 เป็นส่วนการอ้างอิงและรายชื่อคณะผู้จัดทำ เมื่อท่านตอบคำถาม 5 ข้อและเตรียมวัตถุดิบ (Stock) ครบแล้ว เราก็มาดูเรื่องการติดตั้งโปรแกรมซึ่งไม่ยากเลย โปรแกรมนี้เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว จะไปปรากฏอยู่ที่ All Programs เมื่อโปรแกรมติดตั้งเสร็จแล้ว ก็เริ่มลงมือจัดทำสื่อตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้
ขั้นตอนการสร้างเนื้อหา ขั้นตอนการสร้างเนื้อหา 1. ไปที่ Start All Programs Content Authoring Content Authoring Creation
. 2 โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างการเชื่อมโยงระหว่างโปแกรมนี้กับโปรแกรมอื่นๆ ให้เราคลิก OK
3. โปรแกรมจะเปิดหน้างานให้เราทำงาน ดังภาพ โดยจะเริ่มที่ slide 1
4. ไปที่ File New Content
5. เมื่อเราคลิกที่ Content จะพบหน้าต่างให้เราบันทึก ดังภาพ
6. ให้เราเลือกที่เก็บงานไว้ที่ Desktop สร้างโฟลเดอร์ใหม่ เปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์เป็น Ayudhaya (เป็นชื่ออะไรขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่เราจะสร้าง ในกรณียกตัวอย่างนี้ ผู้เขียนจะยกตัวอย่างการสร้างสื่อเรื่อง อยุธยา...มรดกโลกของไทย 7. เมื่อตั้งชื่อเสร็จเรียบร้อย ให้ดับเบิลคลิกที่โฟลเดอร์ Ayudhaya ชื่อ Ayudhaya จะเข้าไปอยู่ในช่อง Save in ที่ด้านล่างของหน้าต่าง ในช่อง File name จะมีชื่อไฟล์ว่า Content อยู่แล้ว ให้คลิก Save ได้เลย โปรแกรมจะเปิดกลับไปที่หน้างาน Slide 1 เหมือนเดิม
8. คลิกที่เมนูี่คำสั่ง Insert ท่านจะพบเมนูย่อยหลายเมนู ในขั้นตอนนี้ให้ท่านเลือก Text box ดังภาพ
9. เมื่อคลิกเลือก Text box จะปรากฏกล่องข้อความให้ท่านพิมพ์ข้อความลงไปในกล่องดังกล่าว และสามารถปรับเปลี่ยนสี ขนาด ลักษณะ ได้เหมือนไฟล์ประเภท Word นอกจากจะพิมพ์ข้อความได้แล้วท่านยังสามารถไปคัดลอกข้อความจากไฟล์ Word มาวางในกล่องข้อความได้เช่นกัน
10. ใน Slide 1 ตามสตริปที่กำหนดให้เป็นปก จึงอาจมีข้อความดังตัวอย่าง
11. การเปลี่ยนแปลงพื้นหลัง การแทรกภาพ ของ Slide สามารถทำได้ ดังคำอธิบายในภาพต่อไปนี้
11.1 การแทรกภาพ
11.2 การเปลี่ยนสีพื้นหลัง
12. หากท่านต้องการสร้าง Slide เพิ่ม ให้ท่านไปที่เมนูบาร์ บรรทัดที่ 2 คลิกตรง Icon ที่เป็นรูปเอกสาร จะสร้าง Slide2,3,4...ได้มากเท่าที่ต้องการ
จัดทำโดย นาย วรพล ช้างลอย โปรแกรมดนตรีศึกษา จัดทำโดย นาย วรพล ช้างลอย โปรแกรมดนตรีศึกษา