ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการกำลังสอง โดยใช้โปรแกรมฝึก ทักษะแยกตัวประกอบพหุนามกำลังสอง ในรายวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 โดย นายสมชาย เอี่ยมสอาด เทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค)
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการกำลังสอง โดยใช้โปรแกรมฝึกทักษะแยกตัวประกอบพหุนามกำลังสอง
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรตาม ตัวแปรต้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการกำลังสอง สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 60 โปรแกรมฝึกทักษะแยกตัวประกอบพหุนามกำลังสอง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาพณิชยการ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค ) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาพณิชยการ ชั้นปีที่ 1 ห้อง B.1/4 จำนวน 47 คน ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค ) โดยการสุ่มแบบเจาะจง
ลักษณะเครื่องมือที่ใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้ 1. โปรแกรมฝึกทักษะแยกตัวประกอบพหุนามกำลังสอง โปรแกรมโดย อ.พงศักดิ์ วุฒิสันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ 2. แบบทดสอบเก็บคะแนน เรื่อง สมการกำลังสอง ในรายวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1
สรุปผลการวิจัย จากข้อมูลที่ได้ภายหลังการใช้โปรแกรมฝึกทักษะแยกตัวประกอบพหุนามกำลังสอง เรื่อง สมการกำลังสอง ในรายวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 73.40 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 60
ผลกระทบที่เกิดขึ้น ข้อมูลที่ได้รับจากการวิจัยทำให้ครูผู้สอนรู้ถึงปัญหาการเรียนซึ่งผู้เรียนยังค่อนข้างอ่อนในเรื่องการคำนวณทำให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานเกี่ยวกับสื่อเคลื่อนไหวหรือสื่อที่สามารถฝึกให้ผู้เรียนโต้ตอบระหว่างเรียนซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาได้
ข้อเสนอแนะการวิจัย 1. การใช้โปรแกรมฝึกทักษะแยกตัวประกอบ อาจไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้นกับนักเรียนบางคน ซึ่งครูผู้สอนควรหาทางแก้ไขปัญหาหรือพยายามหาทางให้ผู้เรียนกลุ่มนี้มีผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น 2. โปรแกรมฝึกทักษะแยกตัวประกอบ สามารถส่งเสริมและลดช่องว่างในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนได้ ซึ่งควรนำไปพัฒนาหรือสร้างรูปแบบที่เหมาะสมในการเรียนการสอน