อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Master of Arts in Pali and Sanskrit Chulalongkorn University วัตถุประสงค์ มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ด้านวิชาการอย่างลึกซึ้งในลักษณะรู้รอบ รู้ลึก และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านภาษาบาลีและสันสกฤตเพื่อพัฒนา การวิจัยระดับสูง บัณฑิตที่จบการศึกษามีความรู้ด้านภาษาบาลีและสันสกฤต สามารถทำงานในสายวิชาการด้านภาษาหรือวัฒนธรรมไทยที่เกี่ยวข้องกับภาษาและวัฒนธรรมอินเดียโบราณ หรือใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านศาสนา ปรัชญา ภาษาหรือวัฒนธรรมไทย ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีตามความสนใจได้
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต สาขาวิชาภาษาไทย หรือสาขาวิชาอื่นที่มีขอบข่ายใกล้เคียงเช่น โบราณคดี การศึกษาพระปริยัติธรรม และมีคะแนนสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕ หรือเทียบเท่า หากท่านสนใจ และมีเป้าหมายที่จะศึกษาเชิงลึกในภาษาบาลี สันสกฤต หรือวรรณคดีพุทธศาสนาทั้งสายเถรวาท มหายาน ปรัชญาอินเดีย หรือ วรรณคดีสันสกฤต และเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม แต่ยังไม่มีความรู้ภาษาบาลี หรือสันสกฤต ท่านสามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตพื้นฐานในปีแรกของหลักสูตรได้
โครงสร้างหลักสูตร รายวิชาเรียน รายวิชาบังคับ ๔ วิชา ได้แก่ สัมมนาไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต สัมมนาไวยากรณ์และวรรณคดีปรากฤต สัมมนาวรรณคดีบาลี สัมมนาวรรณคดีสันสกฤต รายวิชาเลือก เลือกเรียน ๔ วิชา ได้แก่ สัมมนาประวัติวรรณคดีบาลี สัมมนาประวัติวรรณคดีสันสกฤต สัมมนาคัมภีร์ปรัชญาอินเดีย สัมมนาทฤษฎีวรรณคดีบาลีและสันสกฤต สัมมนาจารึกบาลีสันสกฤต สัมมนานาฏยศาสตร์และการละครสันสกฤต วิทยานิพนธ์ เลือกทำประเด็นที่อยู่ในขอบเขตการศึกษาภาษาหรือวรรณคดีบาลีสันสกฤต ตามความสนใจและความถนัดของผู้ศึกษา
ทุนอุดหนุนการศึกษาสำหรับนิสิตที่ขาดแคลน ๑ ปีการศึกษา ระยะเวลาในการศึกษา ๒ - ๔ ปี ทุนการศึกษา ทุนอุดหนุนการศึกษาสำหรับนิสิตที่ขาดแคลน ๑ ปีการศึกษา ทุนผู้ช่วยสอน ทุนเมฆิน เอื้ออนันต์ จากมูลนิธิคีตาอาศรมประเทศไทย หากท่านสนใจเข้าศึกษา ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ. ทัศนีย์ สินสกุล ภาควิชาภาษาตะวันออก โทร ๐๒-๒๑๘-๔๗๕๓ ในเวลาราชการ หรือ ดูรายละเอียดจาก คู่มือการสมัครเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย