การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ follow me เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบทางการเรียนวิชาบัญชีเบื้องต้น 2 ของนักศึกษาระดับ ปวช.1 สาขาพณิชยการ โดย อ.ชรินทร ชะเอมเทส
ที่มาและความสำคัญของปัญหา พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และนโยบายการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2559 เน้นเรื่องการสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ความรับผิดชอบเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์หนึ่งของผู้เรียน และถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน ถ้ามีการติดตามและกระตุ้นเตือนในเรื่องความรับผิดชอบในการเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น นอกจากครูผู้สอนแล้ว ผู้ปกครองถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยส่งเสริม และพัฒนาความรับผิดชอบของผู้เรียน สนองตอบต่อแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาในการสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้เรียน
วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบทางการเรียนวิชาบัญชีเบื้องต้น 2 ของนักศึกษาระดับ ปวช.1 สาขาพณิชยการ โดยการจัดรูปแบบการเรียนการสอนแบบ follow me ผู้เรียนมีความรับผิดชอบทางการเรียนวิชาบัญชีเบื้องต้น2 เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ50 หลังจัดรูปแบบการเรียนการสอนแบบ follow me สมมติฐานการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัย ผู้เรียน ความรับผิดชอบทางการเรียนสูงขึ้น รูปแบบการเรียนการสอนแบบ follow me ผู้สอน ผู้ปกครอง
ระเบียบวิธีวิจัย ประชากร นักศึกษาระดับ ปวช.1 สาขาพณิชยการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาระดับชั้น ปวช. 1/2 สาขาพณิชยการ จำนวน 41 คน ตัวแปรที่ศึกษา : ตัวแปรต้น การจัดการเรียนการสอนแบบ follow me ตัวแปรตาม ความรับผิดชอบทางการเรียนวิชาบัญชีเบื้องต้น 2 ระยะเวลาการทำวิจัย 1 ภาคการศึกษา (ภาคเรียนที่ 2/2555)
การจัดการเรียนการสอนแบบ follow me ผู้เรียน ผู้สอน ผู้ปกครอง แบบบันทึก Follow me
ผลการวิจัย ด้านพัฒนาการความรับผิดชอบทางการเรียน กราฟแสดงพัฒนาการความรับผิดชอบทางการเรียนก่อนและหลังการเรียน แบบ follow me ของนักศึกษาระดับ ปวช.1 สาขาพณิชยการ
ผลการวิจัย ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการสอนแบบ follow me นักศึกษา ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการสอนแบบ follow me ว่าช่วยให้ผู้ปกครองได้มีความใกล้ชิดกับนักศึกษามากขึ้น ได้ทราบพัฒนาการทางการเรียน และได้ทราบข้อบกพร่องของนักศึกษาเพื่อช่วยกระตุ้นเตือนให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว และอยากให้มีการสอนแบบ follow me ในรายวิชาอื่นๆ อีก
ข้อจำกัดของการวิจัย รูปแบบการสอนแบบ follow me ต้องอาศัยความร่วมมือจาก ผู้ปกครอง สร้างแรงจูงใจเพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เช่น ให้คะแนนพิเศษกับ ผู้เรียนที่ผู้ปกครองตอบแบบ follow me กลับมายังผู้สอน สุ่มสัมภาษณ์ผู้ปกครอง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ปกครองมีส่วนร่วมจริง
ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบ follow me ไปใช้ในรายวิชาอื่นๆ เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบทางการเรียนควบคู่กับรูปแบบการสอนแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด 2. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบของนักศึกษา ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3. ควรมีการศึกษาการมีส่วนร่วมและข้อเสนอแนะของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545 - 2559