ประเมินเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุด ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน (จบ ม.6 ใน 8 เดือน)
การจัดการศึกษานอกระบบเพื่อสร้างสมรรถภาพในเรียนรู้ ได้พัฒนานวตกรรม โดยใช้ยุทธศาสตร์ ตามตัวแบบ KSM K ความรู้ (Knowledge) ความสามารถ (competency) S เป็นผู้มีความชำนาญ มีประสบการณ์ สามารถถ่ายทอดได้ ปฏิบัติงานนั้น ๆ ได้ประสบความสำเร็จสูงสุด (skill) M การบริการจัดการที่ดี คือความรอบรู้อย่างเป็นกระบวนการ รู้จักบริหารตน บริหารคน บริหารเวลา และบริหารความรู้ เพื่อพัฒนาตนและสังคม (Management)
กลุ่มเป้าหมาย คือบุคคลที่ มีความรู้พื้นฐานไม่ต่ำกว่าระดับประถม มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ ไม่น้อยกว่า 3 ปี และต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. สัญชาติไทย 2. อายุไม่น้อยกว่า 20 ปี 3. ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบอื่น ๆ 4. ประกอบอาชีพในจังหวัดที่สถานศึกษาที่สมัคร เทียบการศึกษา
ปฏิทินการปฏิบัติงาน (รอบ 8 เดือน) เดือนที่ 1 ปฐมนิเทศ และเตรียมพร้อม เดือนที่ 2 – 3 ผู้เทียบ ฯศึกษาเรียนรู้ โดยมีครูที่ปรึกษาให้ ความช่วยเหลือและเตรียมประเมิน เรียนรู้ Module 1 (คอม,คณิต, SMEs) เดือนที่ 4 – 5 ผู้เทียบ ฯศึกษาเรียนรู้ โดยมีครูที่ปรึกษาให้ ความช่วยเหลือและเตรียมประเมิน เรียนรู้ Module 2 (ประชาธิปไตย, บริหารจัดการชุมชน)
เดือนที่ 6. ผู้เทียบ ฯศึกษาเรียนรู้ โดยมีครูที่ปรึกษาให้ เดือนที่ 6 ผู้เทียบ ฯศึกษาเรียนรู้ โดยมีครูที่ปรึกษาให้ ความช่วยเหลือและเตรียมประเมิน เรียนรู้ Module 3 (ภาษาอังกฤษ,ภาษาไทย) เดือนที่ 7 - 8 ผู้เทียบ ฯศึกษาเรียนรู้ โดยมีครูที่ปรึกษาให้ ความช่วยเหลือและเตรียมประเมิน เรียนรู้ Module 4 (การวิจัยชุมชน,การจัดการ อาหารฯ) ปลายเดือนที่ 8 ประกาศผล และออกหลักฐานการศึกษา และ รายงานผล
การวัดและประเมินผล แบ่งออกภาคทฤษฎี ร้อยละ 70 และ ภาคประสบการณ์ ร้อยละ 30 ภาคทฤษฎี ต้องสอบได้คะแนนไม่น้อยกว่า 50 คะแนนของคะแนนเต็ม จากการสอบข้อสอบของ สำนักงาน กศน. และคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 จากการสอบ ข้อสอบของ สทศ. ภาคประสบการณ์ ประเมินตามจริง จากการสัมภาษณ์ และหรือแฟ้มสะสมผลงาน (
ยกเว้นวิชาภาษาไทยและคณิต ต้องผ่าน ร้อยละ 70 เนื่องจากไม่มีภาคประสบการณ์) เกณฑ์การผ่าน 1. การประเมินแต่ละรายวิชา ทั้งทฤษฎีและประสบการณ์ รวมกันต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มในแต่ละวิชา 2. การสอบทุกครั้งต้องสอบภาคทฤษฎีของ สำนักงาน กศน.และของ สทศ. โดยผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งสองอย่าง
ผลการประเมินแต่ละรายวิชาให้ผลการประเมินเป็น ผ่าน และ ไม่ผ่าน และบันทึกร้อยละของคะแนนไม่มีระดับคะแนนผลการประเมินและไม่มีเฉลี่ยสะสม(GPAX) เกณฑ์การจบการศึกษา 1.ผู้เข้าเทียบระดับการศึกษา ต้องสอบผ่าน ภาคทฤษฎี ทั้ง 9 รายวิชา และภาคประสบการณ์ 7 รายวิชา(จากการปฏิบัติจริง, สัมภาษณ์, แฟ้มสะสมงาน) 2. ผู้เข้าเทียบระดับต้องผ่านการสัมมนาวิชาการ 3 วัน 2 คืน และจะต้องอยู่สัมมนาอย่างน้อยร้อยละ 80
หลักเกณฑ์การเก็บค่าธรรมเนียม ๑. ผู้สมัครลงทะเบียนเทียบระดับ ครั้งแรก ๑,๕๐๐ บาท ต่อรอบการประเมิน (สอบ ๒ ครั้ง กล่าวคือทั้ง กศน.และ สทศ. ในคราวเดียวกันเรียกว่า ๑ ครั้ง ) ๒. ผู้เข้าเทียบระดับการศึกษาลงทะเบียนเทียบครั้งที่ ๒ เป็นต้นไป รวมถึงการย้ายไปเทียบระดับ ณ สถานศึกษาแห่งใหม่ ในอัตราไม่เกิน ๗๕๐ บาท
การจ่ายค่าตอบแทน ค่าตอบแทนครูที่ปรึกษา - ดูแลผู้เข้าเทียบระดับใหม่ ในอัตราไม่เกิน ๑,๕๐๐ บาท ต่อ ๑ คน ต่อ ๑ รอบการประเมิน - ดูแลผู้เข้าเทียบระดับที่ลงทะเบียนครั้งที่ ๒ เป็นต้นไป ในอัตราไม่เกิน ๗๕๐ บาท ต่อ ๑ คน ต่อ ๑ รอบการประเมิน
- ค่าตอบแทนคณะกรรมการประเมินภาคประสบการณ์ เบิกจ่ายเป็นรายวิชา วิชาละไม่เกิน ๑๐๐ บาท ต่อกรรมการ ประเมิน ๑ คน ต่อผู้เข้าเทียบระดับ ๑ คน ต่อการประเมิน ๑ ครั้ง - การตรวจกระดาษคำตอบอัตนัยของกรรมการ(ข้อสอบปรนัย) ข้อละไม่เกิน ๑๐ บาท โดยเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
ขั้นตอนการบันทึกคะแนน ในโปรแกรมเทียบสูงสุด (KSM) อ.พัชรีพร