การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อพัฒนาความพร้อมในวิชาชีพ นักศึกษาแผนกพาณิชยการ สาขา การบัญชี ห้อง พบ.301 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ผู้วิจัย นางอ้อยใจ แดงอินทร์
เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อพัฒนาความพร้อมในวิชาชีพ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อพัฒนาความพร้อมในวิชาชีพ นักศึกษาแผนกพาณิชยการ สาขา การบัญชี ห้อง พบ.301 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
กรอบแนวความคิด ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วางแผนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ ดำเนินการพัฒนาตามแผน เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลงานวิจัย
ประชากร นักศึกษาแผนกพาณิชยการการบัญชี ห้อง พบ. 301 โรงเรียนลำปางเทคโนโลยี (แลมป์-เทค) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 20 คน กลุ่มตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และผ่านเกณฑ์ระยะเวลาที่โรงเรียนกำหนด 80 เปอร์เซ็นต์ ของเวลาเรียนทั้งหมด
เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม มี 2 ตอนคือ เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม มี 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อพัฒนาความพร้อมในวิชาชีพ ใน 5 ข้อ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดยให้ความหมายของระดับคะแนนดังนี้ 5 หมายถึง ระดับดีมาก 4 หมายถึง ระดับมาก 3 หมายถึง ระดับพอใช้ 2 หมายถึง ระดับน้อย 1 หมายถึง ระดับที่ต้องปรังปรุง
ตอนที่ 2 แบบสอบถามแนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาความพร้อมในวิชาชีพ นักศึกษาแผนก พาณิชยการ การบัญชี ห้อง พบ. 301 โรงเรียนลำปางเทคโนโลยี(แลมป์-เทค) จังหวัดลำปางเป็นแบบสอบถามชนิดปลายเปิด (Open –Ended)
สรุปผลการวิจัย ข้อ ประเด็น ค่าเฉลี่ย S.D. ความหมาย 1 การมีส่วนร่วมของผู้เรียน 4.75 0.44 ดีเยี่ยม 2 ความเหมาะสมของระยะเวลา 4.15 0.81 ดีมาก 3 ความรู้ประโยชน์ที่ได้รับ 4.60 0.50 4 ฝึกความอดทน 4.55 0.51 5 การนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต สรุปโดยรวม 4.52 0.59
ผลกระทบที่เกิดขึ้น ผลการการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาความพร้อมในวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ส่วนประเด็น การมีส่วนร่วมของผู้เรียน ในการวางแผนเพื่อให้มีกิจกรรมที่หลากหลาย อยู่ในระดับดีเยี่ยม ประเด็นความเหมาะสมของระยะเวลาและประโยชน์ที่ได้รับจากเนื้อหาการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมเสริม อยู่ในระดับ ดีมาก ตามลำดับ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า โรงเรียนมีนโยบายในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนอย่างชัดเจน และใช้วิธีการมีส่วนร่วมของนักเรียน ร่วมคิดร่วมทำระหว่างครูกับผู้เรียน จึงทำให้เกิดความพึงพอใจ และความสำเร็จได้ในหลาย ๆ ประเด็น
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1. ควรเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียนให้มากที่สุดเริ่มต้นจากการวางแผน การดำเนินการ รวมถึงการประเมินผล 2. การจัดกิจกรรมที่เน้นการออกนอกพื้นที่โรงเรียนเพื่อเรียนรู้ชุมชน สังคม วัด ศิลปะ และวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ควรทำเนื่องจากจะทำให้การเรียนรู้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงในสังคมมากกว่าการเรียนในห้องเรียน 3. ควรจัดทำวิจัยในเชิงคุณภาพควบคู่ไปกับการวิจัยเชิงสำรวจ