จัดทำโดย น.ส. อมรทิพย์ พึ่งเพียร วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา การพัฒนาระบบแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะด้านการสื่อสาร ภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาโรงเรียนพณิชยการลานนาเชียงใหม่ จัดทำโดย น.ส. อมรทิพย์ พึ่งเพียร
ปัญหาการวิจัย การเรียนการสอนของโรงเรียนพณิชยการลานนาเชียงใหม่ได้เน้นทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ จากการมุ่งเน้นทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษพบว่านักศึกษาจำนวน 60% ของนักศึกษาทั้งหมดสามารถเข้าใจและมีความรู้ทางด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษพอสมควร โดยวัดผลจากการสอบผ่านเกณฑ์ประเมินและวัดผล นักศึกษาจำนวน 40% ของนักศึกษาทั้งหมดยังไม่เข้าใจและไม่สามารถนำภาษาอังกฤษมาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารได้ ทางโรงเรียนจึงมีการนำแบบทดสอบวินิจฉัยเข้ามาช่วยวิเคราะห์สาเหตุและข้อบกพร่องว่านักศึกษามีความรู้หรือขาดความรู้ในส่วนใด วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
ปัญหาการวิจัย ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงพัฒนาระบบแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาโรงเรียนพณิชยการลานนาเชียงใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการพัฒนาให้เป็นแบบทดสอบวินิจฉัยออนไลน์ เพื่อทำให้ทราบข้อบกพร่องด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในแต่ละด้านของนักศึกษาสำหรับนำมาใช้ในการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักศึกษาแต่ละคน วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาระบบแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาโรงเรียนพณิชยการลานนาเชียงใหม่ 2. เพื่อทำให้ทราบข้อบกพร่องของนักศึกษาด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนและการสอนซ่อมเสริม วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
กรอบแนวคิดการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา การใช้งานระบบแบบทดสอบ วินิจฉัย - การสร้างแบบทดสอบที่มี คุณภาพ - การทำแบบทดสอบออนไลน์ - การวิเคราะห์ข้อบกพร่อง ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ ระบบแบบทดสอบวินิจฉัย ข้อบกพร่องของนักศึกษาด้าน การสื่อสารภาษาอังกฤษ การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับ นักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และเครื่องมือ 1. ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาของโรงเรียนพณิชยการลานนาเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1,954 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ จำนวน 4 คนและนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ของโรงเรียนพณิชยการลานนาเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 450 คน 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระบบแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะด้านการสื่อสาร แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบ วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ลักษณะการใช้งานในระบบ ค่าเฉลี่ย ระดับความพึงพอใจ 1. มีความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ 4.03 มาก 2. ความสวยงามของการออกแบบหน้าจอ 3.97 3. หน้าจอง่ายต่อการนำไปใช้งาน 4.43 4. ความสะดวกในการจัดการข้อมูล ได้แก่ เพิ่ม ลบ แก้ไข 4.37 5. การออกแบบรายงานสารสนเทศง่ายต่อการนำไปใช้งาน 4.07 6. คู่มือการใช้โปรแกรมมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย 4.47 7. ความถูกต้องในการประมวลผลของระบบ 4.53 มากที่สุด 8. ความเร็วในการแสดงผลของระบบ 4.27 9. ข้อมูลสารสนเทศตรงตามความต้องการใช้งาน 4.23 10. ช่วยลดขั้นตอนจากการทำงานของระบบเดิม 4.5 ความพึงพอใจโดยภาพรวม 4.29
สรุปผลการวิจัย ระบบแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาโรงเรียนพณิชยการลานนาเชียงใหม่ ทำให้ระบบงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้ โดยสามารถลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนทำให้ลดระยะเวลาและมีความถูกต้องในการทำงานมากขึ้นเช่น การออกแบบทดสอบ การประกาศผลสอบทันทีเป็นต้น วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
สรุปผลการวิจัย ผู้บริหารและอาจารย์สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานมาช่วยในการวางแผนการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา
จบการนำเสนอ วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา