ทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์ 10/01/54 ทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์ PowerPoint เรื่อง ทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์และการผลิต
ทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) ทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง จำนวนประชากรทั่วไป และคุณภาพ ของประชากร ถือว่าเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญมากกว่าปัจจัยอื่น เพราะหากปราศจากมนุษย์แล้ว การผลิตสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจจะไม่เกิดขึ้น
ทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ 10/01/54 ทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ 2) ทรัพยากรที่ไม่ใช่มนุษย์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ - ทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ แร่ธาตุ เป็นต้น - ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เครื่องมือ เครื่องจักร สิ่งของต่างๆที่สามารถจับต้องได้ ทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัจจัยการผลิต PowerPoint เรื่อง ทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์และการผลิต
การผลิต การผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง กระบวนการแปรสภาพทรัพยากร (ปัจจัยการผลิต) ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เป็นสินค้าหรือบริการที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่ โดยทำให้สิ่งของหรือบริการมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นและสามารถบำบัด ความต้องการของมนุษย์ได้ กระบวนการผลิต เป็นกระบวนการที่นำวัตถุดิบมาแปรสภาพเป็นผลผลิต เช่น โรงสีข้าว จะนำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวสาร
ปัจจัยการผลิต
ปัจจัยการผลิต ปัจจัยการผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์ได้มีการแบ่งปัจจัยการผลิต ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1) ที่ดิน คือ พื้นดินที่ใช้ในการเพาะปลูกหรือใช้ประกอบกิจการต่างๆ เช่น ใช้เป็นที่ตั้งโรงงาน รวมไปถึงทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดใต้ดิน บนดิน หรือเหนือพื้นดินเข้าไว้ด้วยกัน เช่น แร่ธาตุ ป่าไม้ อากาศ โดยมีผลตอบแทนของผู้เป็นเจ้าของที่ดิน คือ “ค่าเช่า”
ปัจจัยการผลิต 2) ทุน ปัจจัยเกี่ยวกับทุนมี 2 แบบ คือ วัตถุทุน และเงินทุน - วัตถุทุน หมายถึง เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อ ทุ่นแรงในการผลิตสินค้าและบริการ เช่น เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์การผลิต โรงงาน เป็นต้น - เงินทุน คือ จำนวนเงินที่นำไปซื้อหา หรือทำให้ได้มาซึ่งวัตถุทุนประเภทต่างๆ หรือจ่ายเป็นค่าจ้าง ค่าวัตถุดิบ โดยผลตอบแทนที่เจ้าของเงินทุนได้รับ เรียกว่า “ดอกเบี้ย”
ปัจจัยการผลิต 3) แรงงาน สินค้าและบริการต่างๆ ถ้าขาดแรงงานของมนุษย์ สินค้าและบริการเหล่านั้นจะมีขึ้นไม่ได้ ซึ่งแรงงานสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ - แรงงานฝีมือ เป็นแรงงานที่ได้รับการอบรมความรู้เฉพาะทางมาเป็นอย่างดี - แรงงานไร้ฝีมือ เป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการอบรมความรู้เฉพาะทางมาก่อน ผลตอบแทนที่เจ้าของแรงงานได้รับเราเรียกว่า “ค่าจ้าง” หรือ “เงินเดือน”
ปัจจัยการผลิต 4) ผู้ประกอบการ คือ ผู้รวบรวมปัจจัยในการผลิต ได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน มาผลิตสินค้าและบริการสนองความต้องการของผู้บริโภค ผู้ประกอบการอาจจะเป็นหน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน หรือเอกชนเพียงคนเดียวก็ได้ ผลตอบแทนที่ผู้ประกอบการได้รับเราเรียกว่า “กำไร” หรืออาจจะ “ขาดทุน”
ลำดับขั้นในการผลิต สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การผลิตขั้นปฐมภูมิ เป็นการผลิตขั้นต้น โดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ เป็นหลัก ซึ่งการผลิตขั้นปฐมภูมิมักจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง เช่น การทำไร่ ทำสวน การเลี้ยงสัตว์ โดยอาศัยเครื่องมือ ประเภท จอบ เสียม หรือแรงงานจาก วัว ควาย
ลำดับขั้นในการผลิต 2) การผลิตขั้นทุติยภูมิ จะอาศัยวัตถุดิบ เครื่องจักรกลโรงงาน และการจัดองค์กรขนาดใหญ่ เช่น โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง จะนำเอาผลไม้จากสวน อันเป็นผลผลิตขั้นปฐมภูมิมาแปรรูปจนผลิตออกมาเป็นผลไม้กระป๋อง
ลำดับขั้นในการผลิต 3) การผลิตขั้นตติยภูมิ เป็นการผลิตขั้นสุดท้ายในลักษณะที่เป็นในการให้บริการคอยให้ความสะดวกสบาย คือ ทำการเคลื่อนย้ายไปสู่ผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เช่น การให้บริการด้านการขนส่ง การธนาคาร เป็นต้น
คุณธรรมของผลิต ผู้ผลิตควรมีคุณธรรมพื้นฐานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และเพื่อผลประโยชน์ในระยะยาวของผู้ผลิตเอง ดังนี้ มีความกลัวและละอายในการทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องทั้งปวง ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค มีความซื่อสัตย์ ไม่หลอกลวงหรือเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคไม่ว่ากรณีใดๆ มีความขยันมั่นเพียรที่จะพัฒนาสินค้า ร่วมมือกันรักษาสิ่งแวดล้อม
ลองคิดดูนะคะ ข้อใดเป็นทรัพย์ที่แตกต่างจากข้ออื่น ก. น้ำฝน ข. น้ำทะเล ค. น้ำคลอง ง. น้ำประปา
ลองคิดดูนะคะ ปัจจัยการผลิตในข้อใดที่มีความสำคัญมากที่สุด ก. ที่ดิน ข. ทุน ค. แรงงาน ง. ผู้ประกอบการ