V-NET คืออะไร V-NET ย่อมาจาก Vocational National Education Test หมายถึงการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ทางด้านอาชีวศึกษา เป็นการทดสอบวัดความรู้มาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา ทีจะจบระดับชั้น ปวช.3 V-NET เทียบได้กับการทดสอบO-NET ของนักเรียนสายสามัญที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ มัธยมปีที่ 6
ความสำคัญของการสอบ V-NET การทดสอบ V-NET เป็นการสอบวัดมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ต้นสังกัด และสถานศึกษาในการที่จะทราบมาตรฐานการเรียนการสอนของครูและ นักศึกษา ผลการทดสอบ V-NET สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนของครู อันจะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสูงขึ้นได้ รวมทั้งการนำผลการสอบ V-NET ไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาด้วย
V-NET สอบวิชาใดบ้าง ตามโครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2545 ปรับปรุง พ.ศ. 2546 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วยวิชาสามัญ ไม่น้อยกว่า 26 หน่วยกิต วิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 66 หน่วยกิต และวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต รวมทั้งสิ้น ไม่น้อยกว่า 102 หน่วยกิต ฉะนั้นข้อสอบ V-NET ควรจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ข้อสอบวิชาสามัญ ประมาณ ร้อยละ 20-25 และข้อสอบวิชาชีพตามสาขาวิชาที่เรียน ประมาณร้อยละ 75-80
V-NET สอบวิชาใดบ้าง (ประกอบด้วย 6 วิชา ได้แก่ วิชาภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และวิชาพละศึกษาและสุขศึกษา)
จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์ ความปลอดภัยในการใช้คอม ไวรัส บทบาท การพัฒนาบุคลิกภาพ ทรัพย์สินทางปัญญาและจรรยาบรรณ เทคโนโลยีสารสนเทศ อาญชากรรมทางคอมพิวเตอร์
ฮาร์แวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น ระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบ เมนบอร์ด ซีพียู แรม การจัดการกับฮาร์ดดิกส์ การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows ไดรเวอร์ การแก้ปัญหาด้วยโปรแกรมยูทิลิตี้
การประมวลผลข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ การสื่อสารข้อมูลด้วยอิเล็คทรอนิกส์ ข้อมูล การประมวลผลข้อมูล แฟ้มข้อมูล ระบบฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศ
คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ ระบบเลขฐานและคณิตศาสตร์ เลขฐาน 2 ฐาน 8 ฐาน 16 การแปลงเลขฐาน10 เป็นฐานใด ๆ การแปลงเลขฐานที่เป็นจุดทศนิยม การบวกลบเลขฐาน
สถิติในงานคอมพิวเตอร์ ความรู้เบื้องต้นของสถิติและการประมวลผลข้อมูลคอมพิวเตอร์ การแจกแจงความถี่ การวัดแนวโน้มข้าส่วนกลาง ควอไทล์ เดไซล์ เปอร์เซ็นไทล์ ความเบ้และความโด่ง SPSS/FW แฟ้มข้อมูลด้วย Data Editor การวิเคราะห์การแปลผลสถิติ
การเขียนโปรแกรม ผังงาน การทำงานแบบลำดับ การออกแบบและพัฒนาโปรแกรม หลักการเขียนโปรแกรม การเขียนโปรแกรม ผังงาน การทำงานแบบลำดับ การออกแบบและพัฒนาโปรแกรม
โปรแกรม Microsoft Office การใช้โปรแกรมประมวลผลข้อมูล Microsoft Word 2007 การใช้โปรแกรมตารางาน Microsoft Excel 2007 การใช้โปรแกรมฐานข้อมูล Microsoft Access 2007
คอมพิวเตอร์กราฟฟิก ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟฟิก โปรแกรม Adobe Photoshop 7.0 โปรแกรม Adobe Illustrator 10
โปรแกรมบนระบบปฏิบัติการ GUI ชนิดของข้อมูลและตัวแปร การดำเนินการ ประโยคคำสั่ง การสร้างเมนู การออกแบบและพัฒนาโปรแกรม
การสร้างเว็บเพจ ภาษา HTML (1) การทำงานของเว็บเพจ การออกแบบเว็บเพจเบื้องต้น การจัดข้อความ การนำเสนอรูปภาพในเว็บเพจ
การสร้างเว็บเพจ ภาษา HTML (2) การเชื่อมโยงเอกสาร การสร้างตาราง การสร้างเฟรม การนำข้อมูลเข้าสู่เว็บเซิร์ฟเวอร์