นายศิวรุจน์ ศรีแจ่มใส การพัฒนาทักษะการสร้างจดหมายเวียน โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติ รายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สาขาพณิชยการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 นายศิวรุจน์ ศรีแจ่มใส
ที่มาและความสำคัญของปัญหา จากการเรียนการสอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพที่ผ่านมาพบว่า ผู้เรียนเป็นร้อยละ 40 ไม่สามารถสร้างจดหมายเวียนได้ เนื่องจากการสร้างจดหมายเวียน จำเป็นต้องอาศัยทักษะในการพิมพ์จดหมายไม่ว่าจะเป็นจดหมายราชการ จดหมายธุรกิจ และมีวิธีในการสร้างหลายขั้นตอน จึงส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะในการสร้างจดหมายเวียนต่ำ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการวิจัยการพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติเรื่องจดหมายเวียน โดยที่ชุดฝึกปฏิบัติดังกล่าวเป็นชุดฝึกปฏิบัติที่จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากฝึกปฏิบัติจริง สามารถให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และตามความต้องการของผู้เรียน ซึ่งการเรียนรู้จากการใช้ชุดฝึกปฏิบัติดังกล่าว จะนำไปสู้การพัฒนาทักษะในการสร้างจดหมายเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างจดหมายเวียน โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติเรื่องจดหมายเวียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 มีทักษะการสร้างจดหมายเวียนดีขึ้น ได้ชุดฝึกปฏิบัติเรื่องจดหมายเวียน สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ที่สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการแก้ปัญหา/พัฒนา ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัติวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาพณิชยการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 37 คน
นวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหา ชุดฝึกปฏิบัติเรื่องจดหมายเวียน
สมมติฐานการวิจัย นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ห้อง 1 มีทักษะการสร้างจดหมายเวียนหลังการใช้ชุดฝึกปฏิบัติสูงกว่าก่อนการใช้ชุดฝึกปฏิบัติ
วิธีดำเนินการวิจัย จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ พัฒนาชุดฝึกปฏิบัติเรื่องจดหมายเวียน ตรวจสอบและปรับปรุงจนเป็นที่เรียบร้อย นำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ห้อง 1 สาขาพณิชยการ จำนวน 37 คน
การเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติที่ใช้ แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน โดยหลังจากที่ได้ทำการทดสอบในแต่ละครั้ง ผู้สอนได้ทำการเปรียบเทียบเพื่อหาระดับทักษะการสร้างจดหมายเวียนของผู้เรียนดังนี้ 9 – 10 คะแนน มีระดับทักษะดีมาก 8 – 7 คะแนน มีระดับทักษะดี 6 – 4 คะแนน มีระดับทักษะปานกลาง 3 – 2 คะแนน มีระดับทักษะพอใช้ 0 – 1 คะแนน มีระดับทักษะควรปรับปรุง
สรุปผลการนำนวัตกรรมไปใช้ ระดับทักษะ ก่อนใช้ชุดฝึกปฏิบัติ หลังใช้ชุดฝึกปฏิบัติ จำนวน ร้อยละ ดีมาก 4 10.81 9 24.32 ดี 6 16.22 15 40.54 ปานกลาง 14 37.84 12 32.43 พอใช้ 1 2.70 ควรปรับปรุง 0.00 รวม 37 100
ข้อเสนอแนะ ในการพัฒนะทักษะของผู้เรียนโดยการใช้ชุดฝึกปฏิบัตินี้ เป็นการเพิ่มระดับทักษะของผู้เรียน และยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วยตัวเอง ควรนำไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่น ๆ อย่างเหมาะสม และควรมีการจัดทำชุดฝึกที่มีประสิทธิภาพให้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน และมีการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ชุดฝึกที่พัฒนาขึ้นมาสามารถสร้างประโยชน์ได้สูงสุด
ขอบคุณครับ