ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชา ความแข็งแรงของวัสดุ เรื่อง การคำนวณหาค่าความเค้นและความเครียดของวัสดุ โดยการใช้ชุดฝึกปฏิบัติของนักศึกษาระดับประกาศ- นียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 (ปวส.1) สาขาเทคนิคยานยนต์คณะช่างอุตสาหกรรม โรงเรียนเทคโนโลยีชลบุรี ” นายสุริยา สีคิ้ม โดย
วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลการใช้ชุดฝึกปฏิบัติพัฒนาการเรียนวิชาความแข็งแรงของวัสดุ เรื่องการคำนวณหาค่าความเค้นและความเครียดของวัสดุ
กรอบแนวคิดในการวิจัย ทักษะทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนาให้เกิดทักษะการคิด ได้แก่ทักษะ การสรุปความ การให้คำจำกัดความ การวิเคราะห์ การจัดระบบความคิด การสร้างองค์ความรู้ใหม่ การค้นหาแบบแผน การพยากรณ์ การตั้งสมมุติฐาน การทดสอบสมมติฐาน การตั้งเกณฑ์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ไม่ว่าทักษะใด ล้วนแต่ก่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะ กระบวนการคิดจึงจะเกิด
กรอบแนวคิดในการวิจัย แต่ใช่ว่าการคิดจะเกิดได้ภายใน 2 – 3 วัน ต้องมีการฝึกจนเกิดความเคยชิน จะทำให้สมองทำงานได้คล่อง ทำงานได้หลายซีก ทนทานต่อการทำงานหนักและผลิตผล (ความคิด) ออกมาอย่างละเอียด ชัดเจน (ทิวากร มีระหันนอก 2452100981 ,18 พ.ค. 2547)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ นักศึกษาโรงเรียนเทคโนโลยีชลบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 คณะช่างอุตสาหกรรม สาขางานยานยนต์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 40 คน
ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบชุดฝึกพัฒนาการเรียนวิชาความแข็งแรงของวัสดุ เรื่องการคำนวณหาค่าความเค้นและความเครียดของวัสดุ
สรุปผลการวิจัย สรุปผลคะแนนการทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบชุดฝึกพัฒนาการเรียนวิชาความแข็งแรงของวัสดุ เรื่อง การคำนวณ หาค่าความแข็งแรงของวัสดุกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน พบว่า ก่อนการใช้แบบชุดฝึกพัฒนาการเรียนวิชาความแข็งแรงของวัสดุ เรื่อง การคำนวณหาค่าความแข็งแรงของวัสดุ
สรุปผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างสามารถผ่านการทดสอบจำนวน 30 คนคิดเป็นร้อยละ 75 ไม่ผ่านการทดสอบจำนวน 10 คนคิดเป็นร้อยละ 25 และหลังจากการใช้แบบชุดฝึกพัฒนาการเรียนวิชาความแข็งแรงของวัสดุ เรื่อง การคำนวณหาค่าความแข็งแรงของวัสดุพบว่ากลุ่มตัวอย่างสามารถผ่านการทดสอบจำนวน 36 คนคิดเป็นร้อยละ 90 ไม่ผ่านการทดสอบจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 10
ผลกระทบที่เกิดขึ้น คะแนนจากแบบทดสอบการคิดคำนวณหาค่าความแข็งแรงของวัสดุ ของนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1คณะช่างอุตสาหกรรม สาขางานยานยนต์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนเทคโนโลยีชลบุรี ส่วนใหญ่พัฒนาการเรียนที่ดีขึ้น ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะการวิจัย ครูผู้สอนควรจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการคิดคำนวณของนักศึกษา โดยคํานึงถึงเนื้อหาวิชาเพื่อให้นักศึกษาสามารถนําไปประกอบการเรียนสำหรับทางด้านสายวิศวกรรมหรือรวมทั้งในประกอบวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ