หมวดที่ 2 การลงทะเบียนเรียน หมวดที่ 2 การลงทะเบียนเรียน
การลงทะเบียนเรียน นักศึกษาใหม่ที่เข้าศึกษาในภาคการศึกษาแรก ต้องลง ทะเบียนเรียนในเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์การเข้าเป็นนักศึกษาและจะถูกถอนชื่อออกจากทะเบียน กำหนดการลงทะเบียนเรียนและวิธีการลงทะเบียนให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด การลงทะเบียนเรียนจะสมบูรณ์ เมื่อได้ชำระค่าลงทะเบียน และค่าธรรมเนียม ภายในเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด
การขอเพิ่ม ขอถอน และขอยกเลิกรายวิชา การขอเพิ่มและการขอถอนรายวิชา …จะกระทำได้ภาย ใน ๒ สัปดาห์แรก ของภาคการศึกษาปกติ และภายใน ๑ สัปดาห์แรกของภาคการศึกษาฤดูร้อน การขอยกเลิกรายวิชา …ต้องกระทำให้เสร็จสิ้นก่อนสอบ ปลายภาค ๒ สัปดาห์ (ตามกำหนดในปฏิทินวิชาการ) นักศึกษาชำระเงินค่าธรรมเนียมแบบเหมาจ่าย ที่ขอเพิ่มหรือ ถอนรายวิชา ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม แต่กรณีที่ ขอถอนรายวิชา จะไม่สามารถถอนเงินคืน ได้
ในแต่ละภาคการศึกษา นักศึกษาภาค กศ.พบ. จะลงทะเบียนเรียนได้กี่หน่วยกิต ? ตอบ 12 หน่วยกิต หรือตามที่กำหนดไว้ใน แผนการเรียน ของแต่ละภาคการศึกษา
นักศึกษาจะลงทะเบียนเกินจากหน่วยกิต ที่กำหนดไว้ในตารางเรียน ได้หรือไม่ ? ตอบ ขึ้นอยู่กับเหตุผลและความจำเป็นของนักศึกษา ซึ่งจะพิจารณาเป็น รายกรณี เช่น 1) เป็นนักศึกษาปีสุดท้าย โดยมีวิชาที่ติด E หรือ ยกเลิกรายวิชา(W) เป็นรายวิชาไว้ 2) กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 2 หรือปีที่ 3 ซึ่งมีรายวิชาที่ติด E หรือ ยกเลิกไว้เป็นบางรายวิชา ... ทั้งนี้จำนวนหน่วยกิตจะต้องหน่วยกิต ไม่เกินจากตารางเรียน ที่กำหนดไว้ในภาคการศึกษานั้นๆ *** กรณีที่รักษาสภาพไว้ หรือได้รับการโอน-ยกเว้นรายวิชา จะไม่สามารถ นำมาใช้เป็นเหตุผลในการขอลงทะเบียนเรียนเกินหน่วยกิตที่กำหนด
- หมู่เรียนที่นักศึกษามีชื่อลงทะเบียน แต่ไม่ได้เข้าเรียน ผล ลงทะเบียน เพิ่ม-ถอน ผิดหมู่เรียน (section) หรือเข้าชั้นเรียนผิดหมู่เรียน จะมีปัญหาหรือไม่ ? และถ้ามีจะแก้ปัญหาได้อย่างไร ? ตอบ มีปัญหา เพราะ - หมู่เรียนที่นักศึกษามีชื่อลงทะเบียน แต่ไม่ได้เข้าเรียน ผล การเรียนต้องเป็น E หรือ - เข้าเรียนในหมู่เรียนที่ไม่ได้ลงทะเบียน ทำให้ อาจารย์ไม่ สามารถให้ผลการเรียนได้ วิธีการแก้ไข 1) ตรวจสอบ section (วัน /เวลา /ผู้สอน) ให้ถูกต้องก่อน การเพิ่ม-ถอนวิชาเรียน 2) กรณีที่ลงทะเบียน เพิ่ม-ถอนไปแล้ว และทราบว่าลงผิด section ให้ยื่น คำร้องขอเปลี่ยน section โดยเร่งด่วน (จะพิจารณาตามเหตุผลเป็น รายกรณ๊)
นักศึกษาลงทะเบียนเรียนโดยไม่ชำระเงิน แต่เข้าเรียน จะมีผลอย่างไร ? ตอบ เนื่องสถานภาพเป็นนักศึกษาขึ้นอยู่กับ การ ชำระเงินตามกำหนดเวลา การเข้าเรียน ตามปกติอาจถือเป็นโมฆะ เพราะ - ไม่มีสิทธิ์เข้าสอบในทุกรายวิชา - อาจารย์ไม่สามารถให้เกรดได้ - ไม่มีชื่อในระบบการส่งผลการเรียนออนไลน์
หมวดที่ 1 การรับนักศึกษา นักศึกษาภาค กศ.พบ. สามารถลงทะเบียนเรียนร่วมกับนักศึกษาภาคปกติ หรือนักศึกษาภาคปกติ จะลงทะเบียนเรียนร่วมกับนักศึกษาภาค กศ.พบ. ได้หรือไม่ ? หมวดที่ 1 การรับนักศึกษา ตอบ ตามระเบียบฯ การลงทะเบียนเรียนรายวิชาจะต้องเป็นไปตามสถานภาพของนักศึกษา *** กรณีที่ยกเว้น ให้นักศึกษาภาคกศ.พบ.เรียนร่วมกับภาคปกติ หรือภาคปกติเรียนร่วมกับ ภาคกศ.พบ. ได้นั้น ขึ้นอยู่กับเหตุผล/ความจำเป็น เป็นรายกรณี เช่น เป็นนักศึกษาตกค้าง และไม่มี รายวิชาที่เรียน ในภาคการศึกษานั้นๆ เป็นภาคการศึกษาสุดท้าย หรือเมื่อลงทะเบียนเรียน แล้ว จะสามารถสำเร็จการศึกษาได้ หมายเหตุ 1) นักศึกษาภาคกศ.พบ. ที่ทำงานในเวลาราชการ จะต้องมีหนังสือที่ได้รับการอนุญาตจากหน่วยงาน ให้มาเรียนในเวลาราชการ 2) กรณีที่นักศึกษาย้ายมาจากสถาบันการศึกษา การศึกษาอื่น หรือได้รับการโอน-ยกเว้นรายวิชา หรือรักษาสถานภาพนักศึกษาไว้ จะไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับการพิจารณา
กรณีที่ไม่มีรายวิชาที่นักศึกษาต้องการลงทะเบียนเรียน ในภาคการศึกษาที่นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษา นักศึกษาจะต้องทำอย่างไร? ตอบ 1) ให้ตรวจสอบรายวิชาที่เปิดสอนตามศูนย์บริการการศึกษา ของมหาวิทยาลัย และยื่นคำร้องขอไปเรียนร่วม 2) ยื่นคำร้องขอไปเรียนสมทบกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอื่น ที่เปิด สอนในรายวิชานั้นๆ
การลงทะเบียน เพิ่ม-ถอน ผ่านระบบออนไลน์ สามารถลงได้ กี่หน่วยกิต ? ตอบ จะเพิ่ม-ถอน ได้ไม่เกินจำนวนหน่วยกิต ที่กำหนดไว้ในตารางเรียนส่วนตัว ของนักศึกษา
ลงทะเบียน เพิ่ม-ถอน ผ่านระบบออนไลน์แล้ว ทำไมจึงไม่ปรากฏชื่อในการลงทะเบียนเรียน ? ตอบ อาจเกิดจากการลงทะเบียนเพิ่ม-ถอน รายวิชา ดำเนินการไม่สมบูรณ์ เช่น - เมื่อเพิ่ม-ถอนรายวิชาแล้ว ไม่ทำการยืนยัน (summit) ในระบบ หรือ - ไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ใจ ด้วยการพิมพ์รายการ ออกมาเป็นเอกสาร
ลงทะเบียนเพิ่ม-ถอน ผ่านระบบออนไลน์ บางครั้งไม่สามารถทำได้ เพราะเหตุใด ? ตอบ - รายวิชาในหมู่เรียนนั้น มีนักศึกษาลงทะเบียน และมีจำนวนนักศึกษาเต็มแล้ว จากจำนวนที่รับได้ - ลงทะเบียนเรียนเกินจากหน่วยกิตที่กำหนดไว้ใน ตารางเรียน - มีเวลาเรียนทับซ้อนกับรายวิชาอื่นที่นักศึกษาได้ ลงทะเบียนไว้แล้ว
ลงทะเบียนเรียนและชำระเงินแล้ว แต่ไม่ได้มาเรียนหรือไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ จะต้องปฏิบัติอย่างไร? ตอบ 1) นักศึกษามีเวลาเรียนไม่ครบ 80% อาจารย์ก็จะไม่อนุญาตให้เข้า สอบ และการขาดสอบปลายภาคจะทำให้นักศึกษามีผลการเรียนเป็น E *** ดังนั้น จึงควรยื่นคำร้อง ขอยกเลิกรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนไว้ ก่อนการ สอบปลายภาค 2 สัปดาห์ หรือตามวันที่กำหนดไว้ในปฏิทินวิชาการของ มหาวิทยาลัย
ตอบ ไม่ได้... เพราะเป็นข้อบังคับมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการ ลงทะเบียนเรียนซ้ำกับรายวิชาที่เคย ศึกษามาแล้วเพื่อต้องการปรับค่าคะแนนเฉลี่ยจะได้หรือไม่? ตอบ ไม่ได้... เพราะเป็นข้อบังคับมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการ วัดผลและประเมินผลฯ กรณีที่นักศึกษาลงทะเบียน เรียนซ้ำกับรายวิชาที่สอบได้แล้ว ให้นับหน่วยกิต และค่าระดับคะแนนเฉพาะรายวิชาที่ลงทะเบียน ครั้งแรกเท่านั้น
ผลการเรียนเป็น I ลงทะเบียนเรียนใหม่ (ลงทะเบียนเรียนวิชาที่เคยได้ I) ได้หรือไม่? ตอบ ไม่ได้... เพราะ การลงทะเบียนเรียนซ้ำวิชาเดิม จะได้ เฉพาะกรณีนักศึกษาถูกประเมินผลเป็น E เท่านั้น เนื่องจากผลการเรียน I ยังมีโอกาสแก้ I ได้และ ผลการเรียนหลังจากการแก้ I อาจเป็นเกรด ได้ทุก ระดับ *** กรณีที่ไม่แก้ I แล้วลงทะเบียนเรียนใหม่เท่ากับเป็นการ ยอมรับรายวิชานั้นเป็น E โดยอัตโนมัติ
การค้างชำระเงินลงทะเบียนเรียน และได้ดำเนินการยกเลิก(ถอน)รายวิชา ผ่านระบบออนไลน์แล้ว ทำไมยังมีรายวิชาที่ยกเลิกปรากฏอยู่ ตอบ การยกเลิกรายวิชา โดยยังไม่ชำระเงินลงทะเบียน มีผลทำให้ ... - การลงทะเบียนยังไม่สมบูรณ์ ทำให้รายวิชาที่ทำการยกเลิก ไม่เข้าระบบฯในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ - ยังคงปรากฏรายวิชาอยู่ ในการลงทะเบียนเรียน และมีผล ทำให้ มีผลการเรียนเป็น E ได้ เนื่องจากไม่ได้สอบปลายภาค
ลงทะเบียนเรียนช่วงเวลาเดียวกัน หรือคาบเกี่ยวเวลากันในหลายวิชา ซ้ำซ้อน กันได้หรือไม่? ตอบ ไม่สามารถลงทะเบียนเรียนได้... เพราะ ในระบบ(คอมพิวเตอร์) การลงทะเบียน เรียนที่มีรายวิชาซ้ำซ้อนกัน จะถูกควบคุม โดยระบบการลงทะเบียนอัตโนมัติ
นักศึกษาตกค้าง ไม่มีรายวิชาลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรปี 2543 จะทำอย่างไร ? จึงจะเรียนจบได้ ตอบ 1) นักศึกษาจะต้องไปหาข้อมูลรายวิชาเรียนที่มหาวิทยาลัย ราชภัฏอื่น เพื่อขอลงทะเบียนเรียนร่วมในวิชาเดียวกัน หรือ 2) ขอเทียบรายวิชาระหว่างหลักสูตรปี 2543 กับ หลักสูตรปี 2549 หรือ 3) หากมีจำนวนนักศึกษาจำนวนมาก ให้ขอเปิดหมู่เรียนพิเศษ
จะดำเนินการได้ในกรณีใดบ้าง? การขอเปิดหมู่พิเศษ จะดำเนินการได้ในกรณีใดบ้าง? ตอบ 1) เป็นนักศึกษาตกค้างที่เรียนรายวิชาในหลักสูตรเก่า และไม่มีรายวิชาที่ เปิด และไม่มีมหาวิทยาลัยราชภัฏอื่นเปิดสอน 2) เป็นรายวิชาที่นักศึกษายังเรียนไม่ครบหลักสูตร (ตกหล่นจากแผนการ เรียนทั้งหมู่เรียน)จำเป็นต้องเรียน เพื่อให้สามารถสำเร็จการศึกษาได้ ในภาคการศึกษานั้นๆ *** กรณีในข้อ 2) จะต้องให้สาขาวิชา / อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ดำเนินการขอ เปิดหมู่เรียนพิเศษ 3) มีจำนวนนักศึกษาที่ต้องเรียนมากกว่า 10 คน