การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และผู้นำทางวิชาการ การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และผู้นำทางวิชาการ ความเป็นครู
การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ บุคคลแห่งการเรียนรู้หมายถึง ผู้ที่มีคุณลักษณะนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความกระตือรือร้น สนใจเสาะ แสวงหาความรู้อยู่เสมอ มุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม การเรียนรู้อาจทำได้หลายวิธี เช่น อ่านหนังสือหรือวารสารที่มี ประโยชน์ ดูรายการโทรทัศน์หรือฟังวิทยุที่มีสาระ ค้นคว้าหาความรู้โดย ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซักถามข้อมูลจากผู้รู้ รวมทั้งสามารถ จับใจความสำคัญเพื่อแยกแยะและเลือกสาระข้อมูลที่ได้มาอย่างมีเหตุผล ความเป็นครู
การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทักษะพื้นฐานสำคัญต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ 1. ทักษะการฟัง ทำให้รับรู้ข้อมูลข่าวสารซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ การคิดและการพูด 2. ทักษะการถาม ทำให้เกิดประบวนการคิด การเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ เนื่องจากคำถามที่ดีทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ตั้งแต่ระดับการจำไปจนถึง ระดับวิเคราะห์และประเมินค่า 3. ทักษะการอ่าน ทำให้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งนอกจากจะเป็นทักษะการ อ่านข้อความ จะรวมถึงการอ่านสถิติ ข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์ต่างๆด้วย ความเป็นครู
การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 4. ทักษะการคิด ทำให้บุคคลมองการไกล สามารถควบคุมการกระทำ ของตนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ การคิดอย่างมีเหตุผลและมี วิจารณญาณ มีผลต่อการเรียนรู้ การตัดสินใจ และการแสดงพฤติกรรม 5. ทักษะการเขียน เป็นความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทัศนคติ และความรู้สึกออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งเป็น สิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อวงการศึกษา(การหาความรู้) เนื่องจากบันทึก เหตุการณ์ ข้อมูล ความจริง ใช้เป็นหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป 6. ทักษะการปฏิบัติ เป็นการลงมือกระทำจริงอย่างมีระบบเพื่อค้นหาความ จริง และสามารถสรุปผลอย่างมีเหตุผลได้ด้วยตนเองเพื่อนำไปใช้ในการ แก้ปัญหา ความเป็นครู
ผู้นำทางวิชาการ บทบาทหน้าที่ของผู้นำทางวิชาการ ปฏิรูป 5 ด้าน บทบาทหน้าที่ของผู้นำทางวิชาการ ปฏิรูป 5 ด้าน ระบบการศึกษา ทรัพยากรและ กองทุนการศึกษา พ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ. 2542 ระบบบริหาร การศึกษา การเรียนรู้ ครู อาจารย์ ความเป็นครู
ผู้นำทางวิชาการ บทบาทของผู้นำทางวิชาการ 1.จัดเนื้อหาสาระ กิจกรรม 4.ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม พ.ร.บ.การศึกษา 2.พัฒนา 5.จัดบรรยากาศการเรียนรู้ 3.สนับสนุน 6.ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ความเป็นครู
ผู้นำทางวิชาการ ความตระหนักในภาระผู้นำวิชาการ 1. คุณสมบัติผู้นำวิชาการ สนใจ ใฝ่ศึกษา ค้นคว้าวิจัย ไตร่ตรองพิจารณา ก้าวหน้า ทันสมัย เปิดใจกว้าง สร้างผลงาน สานสัมพันธ์ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน ความเป็นครู
ผู้นำทางวิชาการ 2. ภาระงาน 2.1 งานประจำ หลักสูตร จัดผู้สอน ตารางสอน ตารางสอบ การฝึกงาน สารบรรณ การสื่อสารภายใน และนอก 2.2 งานวิชาการ สร้างศาสตร์ระดับชาติ และนานาชาติ เอกสารประกอบการสอน ตำรา วารสาร วิจัยในชั้นเรียน การ ประชุมวิชาการ การแสดงผลงานวิชาการในรูปแบบต่างๆ ความเป็นครู
ผู้นำทางวิชาการ คุณลักษณะของผู้นำวิชาการมีดังนี้ 1. มีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง 2. วิสัยทัศน์กว้างไกล มองอนาคต เตรียมการได้ สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลง 3. ทัศนคติเชิงบวก สามารถมองประเด็นทางบวกได้แม้บางกรณีอาจ ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอบางประการ 4. สร้างสรรค์ สามารถคิด สร้างจินตนาการ หาแนวทางในการพัฒนา วิชาการ ความเป็นครู
ผู้นำทางวิชาการ 5. มีมนุษยสัมพันธ์ดี ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 5. มีมนุษยสัมพันธ์ดี ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 6. กล้าตัดสินใจ มีเหตุผลในการตัดสินใจ ตั้งใจจริงและกล้าที่จะตัดสินใจ ทำงานให้ประสบผลสำเร็จได้ 7. รับผิดชอบ การมุ่งงานที่รับผิดชอบให้สำเร็จลุล่วงไปโดยไม่หวั่น หรือ ย่อท้อต่ออุปสรรค 8. เปิดโอกาส เปิดโอกาสให้อาจารย์รับความรู้เพิ่มเติม ส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์พัฒนา ความเป็นครู
ผู้นำทางวิชาการ จิตตระหนักด้านคุณธรรม จริยธรรม 1. อดทน ต่อคำวิพากษ์ วิจารณ์ ต่องานธุรการ งานเอกสาร การรอคอยผลงาน พฤติกรรมที่แตกต่างของอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา 2. ทุ่มเท งานวิชาการต้องใช้เวลาในการสร้างและผลิตผลงาน จึงต้อง ทำงานแบบทุ่มเท มานะ พยายาม 3. ซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์เป็นจรรยาบรรณที่สำคัญในการสร้างผลงาน ต้องไม่ลอก หรือนำผลงานของผู้อื่นมาใส่ในงานวิชาการของตน ความเป็นครู
ผู้นำทางวิชาการ 4. สามัคคี ผลงานวิชาการที่ดีต้องได้รับความร่วมมือจากทีมงานใน ศาสตร์นั้น เพื่อความแข็งแกร่งทางวิชาการ กระจายงาน คนคิดเก่ง อ่านเก่ง เขียนเก่ง 5. อิทธิบาทสี่ ในการสร้างงานวิชาการ - รักและพึงพอใจในการสร้างผลงาน - มีความเพียรพยายาม - เอาใจจดจ่อที่จะทำผลงานให้สำเร็จ - หมั่นพิจารณา ไตร่ตรอง ทบทวน ทำให้ผลงานวิชาการถูกต้อง ความเป็นครู
ผู้นำทางวิชาการ 6. ธรรมะสำหรับผู้นำวิชาการ - การให้ ผู้บริหารต้องมีความพร้อมในการให้ เวลา เงิน สถานที่ การสนับสนุน กำลังใจ โอกาส - การมีวาจางาม การพูดมีอิทธิพลต่อผู้ร่วมงานอย่างยิ่ง พูดจูงใจ ให้ คล้อยตาม ปลุกจิตสำนึก หรือ กระตุ้นให้เกิดพลังสร้างสรรค์ - ทำประโยชน์ให้เพื่อนร่วมงาน รักษาผลประโยชน์ ทำให้เพื่อน ร่วมงานได้ประโยชน์ - ทำตนสม่ำเสมอ ไม่ยกตนเหนือกว่าผู้อื่น และปฏิบัติตนคงเส้นคงวา ความเป็นครู