มาตรฐานหลักสูตรปริญญาเอก สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร. ปราณี กุลละ วณิชย์ 29 มีนาคม 2550
1. ข้อมูลทั่วไปที่ น่าสนใจ
2. แนวทางในการรักษาคุณภาพ และข้อสังเกต 2.1 แบบของหลักสูตร 2.2 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ สมัคร 2.3 คุณสมบัติของอาจารย์ 2.4 เกณฑ์สำเร็จการศึกษา
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการมี แบ่งการศึกษา เป็น 2 แบบ ทั้ง 2 แบบเน้นการวิจัยเพื่อพัฒนานักวิชาการและ นักวิชาชีพชั้นสูง 2.1 แบบของหลักสูตร ปริญญาเอก
แบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ สถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติม หรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มขึ้นก็ได้โดยไม่นับ หน่วยกิต แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่ สถาบันอุดมศึกษากำหนด ดังนี้ แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโทจะต้องทำ วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต แบบ 1.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรีจะต้องทำ วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต ทั้งนี้วิทยานิพนธ์ตามแบบ 1.1 และ 1.2 จะต้องมีมาตรฐาน และคุณภาพเดียวกัน
แบบที่ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการ วิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูงและ ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพและ ศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติมดังนี้ แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโทจะต้องทำ วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิตและศึกษา งานรายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรีจะต้องทำ วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต และศึกษา งานรายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต ทั้งนี้วิทยานิพนธ์ตามแบบ 2.1 และ 2.2 จะต้องมี มาตรฐานเดียวกัน
2.2 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ สมัคร
2.3 คุณสมบัติของอาจารย์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ต้องเป็นอาจารย์ ประจำหลักสูตร มี คุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ เป็นผู้ดำรงดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ ต่ำกว่าศาสตราจารย์ในสาขานั้นหรือ สาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน จำนวนอย่างน้อย 3 คน
อาจารย์ผู้สอน ต้องเป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอกสถาบัน มีคุณวุฒิปริญญาเอก หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์ กัน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอน และการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของ การศึกษาเพื่อรับปริญญา
2.4 เกณฑ์สำเร็จการศึกษา แบบที่ 1 สอบผ่านภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) และสอบผ่านการสอบปากเปล่าชั้นสุดท้าย ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รบการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อย ดำเนินการให้ผลกงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการ ยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มี กรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการ ตีพิมพ์ และเป็นที่ยอมรับในสาขานั้น
แบบที่ 2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนด สอบผ่านภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการ ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหรือ สิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ และเป็นที่ยอมรับในสาขานั้น
สวัสดี