ภก. ปรมินทร์ วีระอนันตวัฒน์ สรุปการเตรียมความพร้อมในการ Re-accreditation เรื่องระบบ IC, ระบบยา, ระบบงานสนับสนุน ในเดือน เมษายน – พฤษภาคม 2550 โดย วิทยากรจาก พรพ. อาจารย์ ผ่องพรรณ ธนา รศ. ภญ. ธิดา นิงสานนท์ ภก. ปรมินทร์ วีระอนันตวัฒน์
ระบบ IC ควรทำ Post Discharge Surveillance คลุมหัตถการสำคัญ การประเมินของประสิทธิภาพของการเฝ้าระวังการติดเชื้อ ควรนำเวชระเบียนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น NI มาทบทวน ควรบริหารเชิงรุก ในการจัดการกับปัญหาการติดเชื้อของผู้ป่วยที่ได้รับ Refer IC ควรออกไปนอกโรงพยาบาล หาเครือข่ายและวางกำหนดแนวทางร่วมกับชุมชน ควรแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของการดำเนินงานเช่นการดูแลด้านอาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม น้ำดื่มน้ำใช้ บำบัดน้ำเสีย และในการตรวจสุขภาพบุคลากร มีบุคลากรสุขภาพดี /เสี่ยง/ป่วย มากน้อยเพียงไร ควรมีการประเมินพฤติกรรมพื้นฐานตลอดเวลา เช่น การล้างมือของบุคลากร การแยกทิ้งขยะ เป็นต้น
ระบบ IC (ต่อ) ระบบเครื่องมือ ระบบการจ่ายกลาง ระบบผ้า ควรจัดทำศูนย์เครื่องมือ/ศูนย์ล้างเครื่อง เพื่อบริการได้อย่างทั่วถึง ควรมีการประเมินติดตามการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ เช่นการล้างเครื่องมือในหน่วยงานต่างๆ มีการปฏิบัติไม่เหมือนกัน ระบบการจ่ายกลาง ควรจัดทำศูนย์ CSS ใหม่ที่เอื้อต่อการบริการทั้งองค์กร ระบบผ้า จัดระบบการแยกผ้าให้ชัดเจน ควรจัดทำศูนย์ผ้า เพื่อบริการงานทั้งองค์กร
ระบบยา ควรมีการค้นหาความเสี่ยงเชิงรุกของความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาของผู้ป่วยนอก ควรพัฒนาระบบ IT มาช่วยการป้องกันความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาและจ่ายยา มีระบบเตือน Drug Interaction ของยากลุ่มเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพเอื้อต่อผู้ใช้ การรายงานการแพ้ยาซ้ำ และการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการใช้ยา จัดทำ Warfarin Clinic แบบครบวงจรเชื่อมโยงทั้งผู้ป่วยในและนอก
ระบบยา(ต่อ) การกระจายยา ควรทำระบบ Daily dose ช่วยลดปัญหาการคืนยา และความคลาดเคลื่อนในการให้ยา ควรมีการทำระบบ Reconciliation เพื่อประเมินยาที่ผู้ป่วยได้รับมาก่อน การประเมินความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา (DUE) ต้องมีนโยบายที่ชัดเจน มีการเก็บข้อมูลและผลเป็นอย่างไร เพื่อกำหนดแนวทาง จัดทำ Pharmacy care ในหอผู้ป่วย เพิ่มเติมบทบาทเภสัชในการ หน้าที่สำคัญคือการกำกับดูแลการใช้ยาAntiseptic และDisinfectants
ระบบงานสนับสนุนที่สำคัญ การป้องกันอัคคีภัย ควรมีแผนการซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งยามปกติและยามวิกาล ทบทวนประสิทธิภาพของการจัดการว่าเป็นอย่างไร ดูแลให้มีการติดตั้งไฟฉุกเฉินบริเวณจุดรวมพล การดูแลระบบ Gas Pipeline Oxygen เหลวและไฟฉุกเฉิน ให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมเพียงพอเหมาะสมพร้อมใช้งาน ควรทราบข้อมูลว่าไฟ Pump ได้นานแค่ไหน แรงดันที่ Set ดับไฟมีขนาดเท่าใด Oxygen มีเพียงพอหรือไม่ ใช้ได้นานกี่ชั่วโมง / แนวทางการปิด-เปิด Alam เป็นอย่างไร
ระบบงานสนับสนุนที่สำคัญ (ต่อ) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ สิ่งที่พบ คือ มีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเภสัชกรและพยาบาลโดยการปรับเงินเดือนให้สูงขึ้น ข้อเสนอแนะ ได้แก่ สร้างความเป็นชาวสวนดอก กำหนดว่าคนพันธ์แท้ของสวนดอกเป็นอย่างไร นำ Core Values มาจับ ประเมินภาพรวมของหน่วยงาน ว่า Form (มี Core Values ครอบคลุมทุกหน่วยงาน) และ Firm (การคิดและการทำงานฝังในวัฒนธรรมขององค์กร)
ระบบงานสนับสนุนที่สำคัญ (ต่อ) ระบบสารสนเทศ ควรวัดวิเคราะห์ จัดการให้เกิดความรู้ได้แก่ ทบทวนว่าการเก็บข้อมูลผู้ป่วยมีความครอบคลุมหรือไม่ มี Code Error เท่าไร การบันทึกข้อมูลมีความผิดพลาดเกิดจากประเด็นใดบ้าง ทบทวนการปกปิดข้อมูลผู้ป่วยคดี ว่ามีการแยกเก็บข้อมูลอย่างไร กำหนดขอบเขตของผู้ใช้บริการเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ระดับโรงพยาบาล (ทีมบริหาร) ระดับทีมนำทางคลินิก ระดับหน่วยงานและระดับบุคคล กำหนดกลุ่มผู้ใช้ ลูกค้าที่ต้องดูแล เช่น PCT ส่งข้อมูลอะไรให้ และได้รับข้อมูลอะไรจาก PCT การพัฒนาการบริการสารสนเทศในเชิงรุก ประมวลเชื่อมโยงข้อมูลกับการสร้างเสริมสุขภาพเช่น ผู้ป่วยโรค HT มีกี่คนเป็น CVA กี่คน Stroke กี่คน /มีภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง/จำนวนเท่าไหร่ / มี Case ใหม่เกิดขึ้นปีละเท่าไหร่