ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ บทที่ 1 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ การดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคนเกี่ยวข้องกับข้อมูลอยู่ ตลอดเวลา อาจเป็นผู้ให้ข้อมูล ผู้ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ และเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ตัวอย่างเช่น เมื่อ นักเรียนกรอกรายละเอียดส่วนตัวลงในเอกสารเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ และทางโรงเรียนได้นำข้อมูลเหล่านั้นไปพิจารณาคัดเลือกผู้สมัคร โดย อาจมีการแบ่งกลุ่มตามเพศและอายุ จะเห็นได้ว่านักเรียนเป็นผู้ให้ข้อมูล หน่วยทะเบียนเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้งาน ได้ และคณะกรรมการพิจารณาเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อตัดสินใจ
ความหมายของข้อมูล ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่แสดงถึงลักษณะ สถานะหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้สื่อสาร แปลความหมายและประมวลผล ซึ่งอาจทำด้วยคนหรือคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างลักษณะของข้อมูล เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ อีเมล สี สัญลักษณ์ รูปทรง อุณหภูมิ ตัวโน๊ต และเสียง ตัวอย่างข้อมูลที่เก็บในรูปแบบต่างๆ
ตัวอย่างข้อมูลที่เก็บในรูปแบบต่าง ๆ
ความหมายของสารสนเทศ สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลได้เป็นสารสนเทศที่มีความถูกต้อง ทันต่อสถานการณ์ที่สนใจ มีความน่าเชื่อถือ มีความหมาย มีคุณค่า และเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้ เช่น เมื่อต้องการนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนการขาย สารสนเทศที่ต้องการควรจะเป็นรายงานสรุปยอดการขายแต่ละเดือน ในปีที่ผ่านมาที่เพียงพอแก่การตัดสินใจ ดังตัวอย่างการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจ
ตัวอย่างสารสนเทศที่เกิดจากการประมวลผล ตัวอย่างสารสนเทศที่เกิดจากการประมวลผล
การประมวลผลสารสนเทศ
ชนิดของข้อมูล แบ่งตามที่มาดังนี้ 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) 2. ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)
ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลขั้นต้นที่ได้มา จากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลนักเรียนที่ได้มาจากการตอบแบบสอบถาม การสำรวจ การสัมภาษณ์ การวัด การสังเกต การทดลอง ข้อมูลสินค้าที่ได้จากการใช้ เครื่องอ่านบาร์โค้ด ข้อมูลบัตรเอทีเอ็มที่ได้จากเครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก ข้อมูลที่ได้จะต้องมีความถูกต้อง ทันสมัย และเป็นปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ
ข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้วโดยมีผู้หนึ่งผู้ใดหรือหน่วยงานได้ทำการ การที่ตัดสินใจว่าข้อมูลไหนเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือข้อมูลทุติยภูมินั้น มีหลักสังเกต คือ ถ้าเป็นข้อมูลปฐมภูมิจะต้องเป็นข้อมูลที่ผู้เขียนหรือผู้ประเมินผลได้พบเหตุการณ์ต่าง ๆ ลงมือสำรวจศึกษาค้นคว้าหรือเป็นการแสดงความคิดเห็นเริ่มแรกด้วยตนเอง มิได้คัดลอกมาจากผู้อื่น แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่ได้คัดลอกมาจากบุคคลอื่น แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ ถือว่าเป็นข้อมูลทุติยภูมิ
แบบฝึกหัดบทที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้ แบบฝึกหัดบทที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้ จงบอกความหมายของข้อมูล อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง จงบอกความหมายของสารสนเทศ อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลทุติยภูมิ คือ