ภาควิชากีฏวิทยา ภาควิชากีฏวิทยา ให้การศึกษาทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแมลง เพื่อนำความรู้ไปแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ รู้จักแมลงที่มีประโยชน์และโทษ การสอนและการวิจัยแบ่งออก เป็นสาขาต่างๆคือ กีฏวิทยาทางการเกษตร กีฏวิทยาทางการแพทย์และสัตวแพทย์ กีฏวิทยาสิ่งแวดล้อม กีฏวิทยาอุตสาหกรรม การควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีการบริหารแมลงศัตรูพืช นิเวศวิทยาของแมลง โรคของแมลง ไรวิทยา สรีรวิทยาของแมลง และสารที่เป็นพิษต่อแมลง เป็นต้น
หลักสูตรปริญญาตรี มี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรปริญญาตรี มี 2 หลักสูตร คือ 1. หลักสูตรปริญญาตรีสำหรับผู้ที่เรียนทางกีฏวิทยา บัณฑิตที่จบการศึกษาจะได้รับปริญญา วท.บ. (วิทยาศาสตร์เกษตร) 2. หลักสูตรปริญญาตรีสาขาการจัดการศัตรูพืช บัณฑิตที่จบการศึกษาจะได้รับปริญญา วท.บ. (การจัดการศัตรูพืช )
หลักสูตรปริญญาโท ปริญญาที่ได้รับ คือ วท.ม. (กีฏวิทยา ) ปริญญาที่ได้รับ คือ วท.ม. (กีฏวิทยา ) แบ่งออกเป็น 2 แผนการเรียน คือ - แบบ ก.1 ( นานาชาติ ) เป็นหลักสูตรนานาชาติทางกีฏวิทยา ได้รับความร่วมมือทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยและสถาบันในประเทศ ฝรั่งเศส และประเทศอื่น โดยมีการแลกเปลี่ยนคณาจารย์และนิสิตไปทำ วิจัยยังต่างประเทศ - แบบ ก.2 ( ปกติ ) เรียนหลักสูตรภาษาไทย
หลักสูตรปริญญาเอก ปริญญาที่ได้รับ คือ ปร.ด. (กีฏวิทยา ) ปริญญาที่ได้รับ คือ ปร.ด. (กีฏวิทยา ) - เรียนตามหลักสูตรปกติ
อาคาร จรัด สุนทรสิงห์ ที่ตั้งของภาควิชากีฏวิทยา อาคาร จรัด สุนทรสิงห์ ที่ตั้งของภาควิชากีฏวิทยา
ภาควิชากีฏวิทยา
การเรียนในภาควิชากีฏวิทยา
งานวิจัย
พิธีไหว้ครู
กิจกรรมของนิสิต
ทัศนศึกษา
พิพิธภัณฑ์และอุทยานแมลง 60 ปี มก. พิพิธภัณฑ์และอุทยานแมลง 60 ปี มก.
การประกอบอาชีพ 1. ทำงานในบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีกำจัดแมลง ปุ๋ย และอื่นๆ 2. ทำงานในองค์กรภาครัฐ เช่น หน่วยงานต่างๆของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น 3. ประกอบอาชีพส่วนตัว เช่น รับดูแลสวนและต้นไม้ 4. ประยุกต์ใช้ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ 5. เป็นพื้นฐานในการศึกษาขั้นสูงต่อไป