วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อประสมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่อง การ Setup BIOS และการ FDISK วิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น ปีที่ ๓ วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา นางสาววรารัตน์ รื่นสุภาพ วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา ปัญหาการวิจัย การจัดการเรียนการสอนไม่มีสื่อการสอนที่ทันสมัยในห้องเรียนผู้สอนใช้วิธีการสอนโดยการเขียนอธิบายขั้นตอนการทำงานบนกระดานจากนั้น นักเรียนฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามใบงานที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยการเรียน วิธีการดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆเช่นนักเรียนไม่สนใจในการฟังคำอธิบายนักเรียนเสียเวลาไปกับการจดบันทึกจากกระดานนักเรียนไม่เข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติอย่างชัดเจนไม่มีสิ่งจูงใจในการให้นักเรียนได้สนใจเรียน ผู้สอนต้องอธิบายซ้ำหลาย ๆครั้ง นักเรียนจึงจะปฏิบัติได้เนื่องจากความแตกต่างในการรับรู้ของนักเรียน
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อสร้างบทเรียนสื่อประสมด้วยคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ๒. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ ๓ก่อนและหลังการใช้สื่อประสมด้วยคอมพิวเตอร์
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ๑.๑ ประชากร นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ ๓ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น ๑.๒ กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ ๓ จำนวน ๔๙ คน โดยใช้วิธีเลือกสุ่มอย่างง่าย
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา การเก็บรวบรวมข้อมูล ๑. ชี้แจงข้อตกลงในการเรียนการสอน ให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนการสอน ๒. ทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่องการ Setup BIOS และการ FDISK โดยใช้สื่อประสมด้วยคอมพิวเตอร์ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ ๓ เพื่อทดสอบความรู้ของนักเรียน
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา การเก็บรวบรวมข้อมูล ๓. ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แผนการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมด้วยคอมพิวเตอร์ ๔.ทดสอบหลังเรียน (Post-test) หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเสร็จสิ้นแล้ว โดยใช้แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ใช้แบบทดสอบก่อนเรียน
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนและหลังเรียน วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนและหลังเรียน โดยใช้สื่อประสมด้วยคอมพิวเตอร์เรื่องการ Setup BIOS และการ FDISK วิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้นตามเกณฑ์ 75/75 รายการ จำนวนนักเรียน (N) คะแนนเต็ม μ σ % คะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบย่อยระหว่างเรียน (E1) 49 20 15.16 1.34 75.82 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (E2) 10 8.43 0.89 84.29
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา สรุปผลการวิจัย นักเรียนมีคะแนนระหว่างเรียน ตามแผนการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมด้วยคอมพิวเตอร์ มีคะแนนค่าเฉลี่ย ๑๕.๑๖ จากคะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๘๒ และนักเรียนมีคะแนนทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ย ๔.๗๘ จากคะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๗๖ และนักเรียนมีคะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ย ๘.๔๓ จากคะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๒๙ จากคะแนนเต็ม นั่นคือ แผนการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมด้วยคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพ เท่ากับ ๗๕.๘๒/๘๔.๒๙
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา สรุปผลการวิจัย ๒.ประสิทธิผลการเรียนรู้ด้วยแผนการเรียนรู้ด้วยสื่อประสมด้วยคอมพิวเตอร์เรื่องการ Setup BIOS และการ FDISK วิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ ๓ วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยาคะแนนเฉลี่ย จากแบบทดสอบระหว่างเรียนทางการเรียนก่อนใช้สื่อประสมด้วยคอมพิวเตอร์คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๑๕.๑๖คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๘๒ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้สื่อประสมด้วยคอมพิวเตอร์คิดเป็นค่าเฉลี่ย๘.๔๓ คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๒๙
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา สรุปผลการวิจัย ๓. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่อง การ Setup BIOS และการ FDISKวิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้นก่อนการทดลองและหลังการทดลอง