โดย นางวัลภา เก่งอักษร การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยวิธีการ จับคู่เพื่อนคู่คิด วิชาการบัญชีสำหรับกิจการพิเศษ ของนักเรียนระดับ ปวช. ปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี โดย นางวัลภา เก่งอักษร
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา ผู้เรียนมีผลคะแนนเก็บไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมส่วนตัวของผู้เรียน ผู้สอนใช้วิธีการสอนโดย การจับคู่เพื่อนคู่คิด เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนที่มีผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ และสร้างความตระหนักให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าของตนเองที่สามารถช่วยผู้อื่นได้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับ ปวช. ห้อง 2/3 สาขาการบัญชีที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ จำนวน 17 คนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ 10 คะแนน อย่างน้อยจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 80 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง จำนวน 17 คนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ 15 คะแนน อย่างน้อย 14 คน คิดเป็นร้อยละ 80
ระเบียบวิธีวิจัย ประชากร นักเรียนระดับชั้น ปวช.ปีที่ 2 สาขาการบัญชี ประชากร นักเรียนระดับชั้น ปวช.ปีที่ 2 สาขาการบัญชี กลุ่มตัวอย่าง นักเรียน ปวช. ห้อง 2/3 สาขาการบัญชีที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ จำนวน 17 คนและที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง จำนวน 17 คน รวม 34 คน วิชาการบัญชีสำหรับกิจการพิเศษ ระยะเวลาการทำวิจัย ในภาคเรียนที่ 1/2554 ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การเรียนการสอนโดยวิธีการจับคู่เพื่อนคู่คิด ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น
เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบเพื่อนคู่คิด แบบทดสอบก่อนทำกิจกรรมแต่ละหน่วยการเรียนรู้ แบบทดสอบหลังทำกิจกรรมแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ผลคะแนนการทดสอบแต่ละหน่วย เนื้อหาสาระการบัญชีสำหรับสถานศึกษาเอกชน การบัญชีสำหรับสโมสรสมาคม การบัญชีสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระและการบัญชีสำหรับเกษตรกร
ผู้เรียนที่มีผลการเรียนต่ำ ผู้เรียนที่มีผลการเรียนสูง สรุปผลการวิจัย การทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ผู้เรียนที่มีผลการเรียนต่ำ ผู้เรียนที่มีผลการเรียนสูง จำนวนคน ร้อยละ ผ่านเกณฑ์ 14 82.35 17 100 ไม่ผ่านเกณฑ์ 3 17.65 - รวม
ขั้นสรุปผลการวิจัย นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ จำนวน 17 คน เมื่อได้เข้าร่วมกิจกรรมจับคู่เพื่อนคู่คิดได้มีการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน จากเพื่อนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงแล้ว ผลที่เกิดทำให้นักเรียนกลุ่มนี้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจากเดิม 14 คน คิดเป็นร้อยละ 82.35
ขั้นสรุปผลการวิจัย นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง จำนวน 17 คน ที่ได้รับมอบหมายให้ช่วยดูแลเพื่อน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจากเดิม จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ100
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัย นักเรียนห้อง 2/3 สาขาการบัญชี จำนวน 34 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีสำหรับกิจการพิเศษ สูงขึ้นและผ่านเกณฑ์การประเมินตามวัตถุประสงค์
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัย ผู้สอนได้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีสำหรับกิจการพิเศษและนำไปประยุกต์ใช้ใน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาบัญชีเล่มอื่น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น