ผู้วิจัย อาจารย์วราพร จันทร์แจ่มหล้า การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่มีการเรียนรู้แบบร่วมมือและรายบุคคล ผู้วิจัย อาจารย์วราพร จันทร์แจ่มหล้า
ปัญหา นักเรียนขาดทักษะความชำนาญการปฏิบัติงานทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้นและองค์ประกอบระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากภาพปัญหาในการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากตัวผู้เรียน ครูผู้สอน เทคนิควิธีการเรียน ความพร้อมของอุปกรณ์การเรียนหรือสภาพแวดล้อม
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลพณิชยการ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน วิชา คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น ที่ได้รับการเรียนรู้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้วยการเรียนแบบร่วมมือ และรายบุคคล
กรอบแนวคิด ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม วิธีการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2 วิธี คือ การเรียนแบบร่วมมือ กับ การเรียนรายบุคคล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 (ปวช.1) วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลพณิชยการ
ขอบเขตการวิจัย ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 (ปวช.1) จากห้องเรียน 10 ห้อง จำนวนนักเรียน 465 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่ 1 เป็นนักเรียน ปวช.1/7 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ให้เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบร่วมมือ กลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียน ปวช. 1/10 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ให้เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบรายบุคคล
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน - รูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน - ประเภทและลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน - การเรียนแบบร่วมมือ
วิธีการดำเนินการวิจัย สร้างเครื่องมือและตรวจสอบเครื่องมือ นำไปทดลองใช้กับกลุ่มนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง นำมาใช้กับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ ข้อมูล นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบร่วมมือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผลการวิจัย 1. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ห้อง 1/7 และ ห้อง 1/10 มีค่าประสิทธิภาพของบทเรียนเท่ากับ 82.75/88.50 และรายบุคคล มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.42/86.17 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยตั้งไว้ (E1/E2) 80/80
สรุปผลการวิจัย 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ห้อง 1/7 และ ห้อง 1/10 แบบร่วมมือสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ขอบคุณค่ะ