ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2556 นางสาวกรรณิการ์ นัยผ่องศรี วิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน(STAD)ในวิชา 2000-1525 คณิตศาสตร์ประยุกต์ 7 ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ สายช่างอุตสาหกรรม ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2556 นางสาวกรรณิการ์ นัยผ่องศรี วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา
ปัญหาการวิจัย จากการที่ครูผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนในชั้น หลังจาการสอนครูผู้สอนได้ประเมินผล โดยการมอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด และแบบทดสอบ พบว่านักเรียนบางคนไม่สามารถทำแบบฝึกหัดและทำข้อสอบได้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจากที่นักเรียนบางคนเรียนรู้ได้ช้า และมีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน ผู้วิจัยจึงได้หาวิธีการที่จะจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจ และกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น กิจกรรมการเรียนการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนนั้น เป็นวิธีการที่ช่วยสนับสนุนวิธีการดังกล่าวได้ทางหนึ่ง โดยให้เพื่อนมีบทบาทสำคัญในการเรียน เพื่อนและกลุ่มมีอิทธิพลในการสร้างความสนใจ จูงใจและมีการยอมรับของเพื่อนด้วยกัน ซึ่งการเรียนการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (STAD)
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (STAD) ในวิชา 2000 – 1525 คณิตศาสตร์ประยุกต์ 7 ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพสายช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา
กรอบแนวคิด จากการศึกษาหลักการ แนวคิด และประโยชน์ของการเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ( STAD )ของจอนห์น ดิวอี้ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยจึงกำหนดเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยได้ดังนี้
ผลการวิจัย ตารางที่ 1 แสดงระดับคะแนนในเรื่องจำนวนเชิงซ้อน ก่อนและหลังการเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (STAD)ในวิชา 2000 – 1525 คณิตศาสตร์ประยุกต์ 7 ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพสายช่างอุตสาหกรรม จำนวน 130 คน
ผลการวิจัย ตารางที่ 2 แสดงเปรียบเทียบผลการสอบวัดผลก่อนและหลังการเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (STAD) ในวิชา 2000 – 1525 คณิตศาสตร์ประยุกต์ 7 ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพสายช่างอุตสาหกรรม จำนวน 130 คน
สรุปผลวิจัย สรุปว่านักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (STAD) เรื่องจำนวนเชิงซ้อนแล้ว มีความรู้สูงขึ้นจริงเป็นไปตามสมมติฐานว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา 2000-1525 คณิตศาสตร์ประยุกต์ 7 ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพสายช่างอุตสาหกรรม หลังเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (STAD) สูงกว่าก่อนเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (STAD) และนักเรียนที่เรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนผ่านเกณฑ์ 60% จำนวน 127 คน จากจำนวนผู้เข้าสอบ 130 คน คิดเป็นร้อยละ 97.69 ตามแนวคิดทฤษฏีของจอนห์น ดิวอี้ และงานวิจัยที่ได้ศึกษามา กิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนทำให้เกิดบรรยากาศที่ดี ช่วยให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น สนใจ ตั้งใจและมีความรับผิดชอบมากขึ้น ช่วยสร้างสามัคคี รู้จักแก้ปัญหาร่วมกัน
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ครูผู้สอนจะต้องคอยติดตามดูแล การปฏิบัติงานกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ควรหาหัวหน้ากลุ่มที่เก่ง และมีคุณภาพจริงๆ ครูผู้สอนจะต้องคอยให้แรงเสริมแก่นักเรียนอย่างต่อเนื่อง ครูผู้สอนควรแจ้งผลการประเมินทุกครั้งเพื่อกลุ่มจะได้ปรับปรุงและพัฒนาตัวเองในจุดที่ยังด้อยอยู่
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งต่อไป ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (STAD) กับการเรียนแบบอื่นๆ เช่น e-learning ควรทำแบบสำรวจความพึงพอใจผู้เรียนต่อการแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ( STAD)