การนิเทศภายในของวิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ นางพรสวรรค์ แย้มกวีตระกูล ผู้วิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ
ความสำคัญและปัญหาการวิจัย - การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีมาตรฐานของสถานศึกษา เอกชนต้องพัฒนาและ ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพโดยอาศัยการนิเทศภายใน - ควรมีการศึกษาสภาพการดำเนินงานและความคาดหวังของการนิเทศภายใน เพื่อนำ ข้อมูลมาพัฒนาการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก - ในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นผู้บริหารงานด้านวิชาการของวิทยาลัย ผู้วิจัยมีความตระหนักถึงความสำคัญของการนิเทศภายใน นำผลการวิจัยมาพัฒนาการนิเทศภายในของวิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งผลไปถึงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อหารูปแบบการนิเทศภายในที่เหมาะสมกับสภาพของวิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศภายในของวิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ
ระเบียบวิธีวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน ของวิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตร พณิชยการ ปีการศึกษา 2556 จำนวน 109 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 13 คน และครูผู้สอนจำนวน 96 คน ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อให้การพัฒนาการนิเทศภายในตรงกับความต้องการของผู้บริหาร และครูผู้สอนผู้วิจัยจะศึกษาจากประชากรทั้งหมด จำนวน 109 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. การประชุมกลุ่มย่อย 3 ครั้ง 2. แบบสอบถามความต้องการนิเทศภายใน 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของรูปแบบการนิเทศภายใน ด้านการเรียนการสอน ที่เหมาะสมกับสภาพของวิทยาลัย
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม รูปแบบการนิเทศแบบต่างๆ - รูปแบบ POLCA - รูปแบบคลินิก -รูปแบบ PIDRE ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบต่างๆ รูปแบบการนิเทศภายในที่เหมาะสม ของวิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตร พณิชยการ
สมมติฐานของการวิจัย ครูแต่ละสาขามีความต้องการรูปแบบการนิเทศภายในไม่แตกต่างกัน ครูมีความพึงพอใจในการนิเทศภายในระดับปานกลาง
สรุปผลการวิจัย ตารางที่ 1 ความต้องการรูปแบบการนิเทศในที่เหมาะสมกับวิทยาลัย รูปแบบการนิเทศ ลำดับที่ (ฐานนิยม) 1 2 3 รูปแบบการนิเทศภายในPOLCA 54 7 48 รูปแบบการนิเทศภายในแบบคลินิก 97 9 - รูปแบบการนิเทศภายในแบบ PIDRE 28 39 42 จากตารางพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามความต้องการรูปแบบการนิเทศภายในที่เหมาะสมกับ วิทยาลัย เรียงลำดับโดยพิจารณาตามค่าฐานนิยม คือ เลือกรูปแบบการนิเทศภายใน แบบคลินิก เป็น ลำดับที่ 1มากที่สุดเป็น รูปแบบการนิเทศภายใน POLCA เป็น ลำดับที่ 2 และ เลือกรูปแบบการนิเทศภายในแบบ PIDRE เป็นลำดับที่ 3
สรุปผลการวิจัย ตารางที่ 2 ความพึงพอใจของรูปแบบการนิเทศภายใน ของวิทยาลัย รายการ S.D. ระดับความพึงพอใจ 1. ท่านพึงพอใจที่โรงเรียนจัดประชุม เพื่อสรุปปัญหาและเสนอแนะความต้องการในการบริหารงานประจำปี 4.05 0.59 มาก 2. ท่านพึงพอใจในการจัดประชุมครูเพื่อกำหนดขั้นตอน/เป้าหมาย/เทคนิควิธีนิเทศ 3.95 1.02 3. ท่านพึงพอใจที่วิทยาลัยเชิญวิทยากรภายนอกอบรมให้ความรู้การนิเทศภายใน 4.19 0.75 3. ท่านพึงพอใจที่วิทยาลัยอบรมให้ความรู้การนิเทศภายในอย่างสม่ำเสมอ 4.14 0.79 4. ท่านพึงพอใจที่วิทยาลัยให้ผู้บริหาร ผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศตกลงร่วมกันในการนิเทศภายใน 4.29 0.56 5. ท่านพึงพอใจที่วิทยาลัยมีการสาธิตการนิเทศภายในแก่ผู้เกี่ยวข้อง 4.24 0.89 6. ท่านพึงพอใจที่ผู้รับการนิเทศได้แสวงหาความรู้ใหม่ๆด้วยตนเองอยู่เสมอ 0.70 7. ท่านมีความพึงพอใจที่วิทยาลัยมีการนิเทศภายในเป็นไปตามแผนงาน 4.09 0.74 8. ท่านมีความพึงพอใจที่วิทยาลัยใช้เทคนิควิธีการนิเทศภายในที่เหมาะสม 0.77 9. ท่านพึงพอใจที่วิทยาลัยได้ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้รับการนิเทศ 3.90 10. ท่านพึงพอใจที่ผู้บริหารส่งเสริม สนับสนุน สร้างขวัญกำลังใจในการนิเทศภายใน 3.86 0.91
สรุปผลการวิจัย ตารางที่ 2 ความพึงพอใจของรูปแบบการนิเทศภายใน ของวิทยาลัย รายการ S.D. ระดับความพึงพอใจ 11. ท่านพึงพอใจที่มีการวางตัวผู้นิเทศเป็นเพื่อนร่วมงาน 4.10 0.73 มาก 12. ท่านพึงพอใจที่วิทยาลัยนำผลของการนิเทศภายในมาใช้ในการพิจารณาความดีความชอบ 3.67 1.28 ปานกลาง 13. ท่านพึงพอใจที่วิทยาลัยได้มีการประเมินผลการนิเทศภายในโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน 4.14 0.57 14. ท่านพึงพอใจวิทยาลัยได้มีการประเมินผลการนิเทศภายในโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้รับการนิเทศ 3.76 0.54 15. ท่านมีความพึงพอใจที่วิทยาลัยนำผลการประเมินไปวางแผนปรับปรุงการดำเนินการให้ดีขึ้น 0.59 ความพึงพอใจในภาพรวม 4.33 0.82
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ผลกระทบที่เกิดขึ้น 1. ควรนำข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในด้านบุคลากรในโรงเรียนขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีใหม่ไปใช้ ในการจัดการเรียนการสอน โดยผ่านการนิเทศภายใน อย่างสม่ำเสมอ หรือทุก 3 เดือน ของทุกภาคการศึกษา 2. ควรนิเทศภายในเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคลากรทางการศึกษาในด้านคุณธรรม จริยธรรมและโครงการครูดีศรีโรงเรียน 3. ควรติดตามนิเทศนักเรียนที่ขาดความอบอุ่นทางครอบครัวและสามัคคีกัน โดยผ่าน โครงการคุณธรรมประจำตัว หรือโครงการรู้รักสามัคคี 4. ควรจัดหางบประมาณเข้ามาใช้ในสถานศึกษาทุกรูปแบบ เพื่อลดปัญหา การขาดวัสดุอุปกรณ์ การบริการ การสื่อสาร และการนิเทศภายใน ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้ได้รูปแบบการนิเทศที่เหมาะสมกับวิทยาลัย และเป็นที่ยอมรับของครูอาจารย์ทุกคน ทำให้ครูอาจารย์ของวิทยาลัยมีทัศนคติที่ดีต่อการนิเทศภายใน สามารถนำผลการนิเทศภายในมาปรับปรุงการเรียนการสอนให้เหมาะสม เป็นการพัฒนา ตนเอง และผู้เรียนได้มากขึ้น