การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน การประเมินโครงการ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนทั่วทั้งองค์กร ของโรงเรียนบ้านหนองนกกะเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ราชบุรีเขต 1
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดห้วยไผ่ ผู้ประเมิน นายกิตติชัย วงษ์ปาน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดห้วยไผ่
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินบริบทของโครงการการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนทั่วทั้งองค์กร 2. เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3. เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4. เพื่อประเมินผลผลิตของ โครงการการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผู้ให้ข้อมูล ครู และ นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองนกกะเรียน วิทยากร และคณะ กรรมการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ แบบสอบถามครู และ แบบสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับการประเมินสภาพการ ปฏิรูปการเรียนรู้ ( 6 ด้าน ) 2. แบบประเมินความต้องการจำเป็น 3. แบบสอบถามวิทยากรการประเมินปัจจัยเบื้องต้นด้านบุคลากร แบบสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบโครงการการประเมินปัจจัยเบื้องต้นด้านงบประมาณและเอกสารประกอบการฝึกอบรมและเอกสารค้นคว้าสำหรับครู แบบสอบถามครูการประเมินกระบวนการด้านการดำเนินงานและการฝึกอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียน 6. แบบสอบถามผู้นิเทศ การประเมินผลผลิตการนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ในการแก้ปัญหาในการเรียนการสอน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( x ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S)
ผลการประเมิน 1. ด้านการประเมินบริบท พบว่า ผลสรุปจากข้อมูลบริบทสภาพของโรงเรียนในด้านความเชื่อ ความรู้ ความเข้าใจ ด้านกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนและผลการเรียนรู้ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ด้านการวิจัยปฏิบัติการและการประกันคุณภาพ ด้านการบริหารโรงเรียน ด้านผลการปฏิบัติงาน และจากการศึกษาความต้องการจำเป็นของโครงการโดยวิธีการเปรียบเทียบน้ำหนักความสำคัญของโครงการ (P.W.P.) พบว่าโครงการที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรกซึ่งโรงเรียนต้องดำเนินการก่อน คือโครงการการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนทั่วทั้งองค์กรของโรงเรียนบ้านหนองนกกะเรียน
ผลการประเมิน 2. ด้านการประเมินปัจจัยเบื้องต้น พบว่าปัจจัยที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ วิทยากรมี คุณวุฒิระดับปริญญาโท มีประสบการณ์การในการทำวิจัย ครูผู้สอนพร้อมเข้าร่วมโครงการอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียน มีเอกสารประกอบการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานวิจัยและเอกสารประกอบการค้นคว้าเพียงพอและมีงบประมาณในการดำเนินโครงการอย่างเพียงพอ
ผลการประเมิน ดำเนินงานโครงการการวิจัยในชั้นเรียน 3. ด้านการประเมินกระบวนการ ดำเนินงานโครงการการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ กระบวนการดำเนินงานเป็นไปตามแผนอยู่ในระดับมาก กระบวนการฝึกอบรมการวิจัยในชั้นเรียนทำให้ครูมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก ครูได้รับการนิเทศภายในผ่านเกณฑ์ครบทุกคนร้อยละ100 และครูได้นำเสนอผลงานวิจัยในชั้นเรียนร้อยละ100
ผลการประเมิน 4. ด้านการประเมินผลผลิต พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ ครูผู้สอนร้อยละ 100 สามารถนำผลการวิจัยในชั้นเรียนมาใช้แก้ปัญหา และวางแผนจัดการเรียนการสอนได้ และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ป.1- ม.3 ปีการศึกษา 2549 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 12.17 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นได้
ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารควรเป็นผู้นำในทุกๆ ด้าน สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน รวมทั้งสนับสนุน ให้กำลังใจ ช่วยเหลือ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับครูในการดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนควรดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนของครูทุกคนให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับผู้เรียน 3. โรงเรียนควรนำโครงการ ที่ผู้ประเมินได้จัดลำดับความสำคัญไว้ มาจัดทำโครงการเพื่อพัฒนา โรงเรียนตามลำดับในปีการศึกษาต่อ ๆ ไป