การพัฒนาคุณภาพ การเรียนการสอนภาษาไทย ปี ๒๕๕๓ ตามโครงการสร้างสำนึกความเป็นไทย เพื่อพัฒนาเด็กไทยอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยนักเรียนให้สูงขึ้น เพื่อพัฒนาครูผู้สอนและศึกษานิเทศก์ภาษาไทยให้มีความรู้ความสามารถด้านองค์ความรู้และด้านการจัดการเรียนการสอน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยสูงขึ้นร้อยละ ๒ ครูผู้สอนและศึกษานิเทศก์ภาษาไทยร้อยละ ๔๐ ได้รับการพัฒนา
เป้าหมายการพัฒนา * นักเรียนชั้น ป.๓ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ทั้ง นร.ปกติ และ นร.บกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) และเด็กที่มีความสามารถและสนใจภาษาไทยเป็นพิเศษ จำนวน ๑๖๐,๓๐๐ คน * ครูภาษาไทย ๑๘,๕๐๐ คน * ศึกษานิเทศก์ ๓๖๐ คน
งบประมาณ ๒๗๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท จัดหาสื่อซ่อมเสริมนักเรียน ป.๓ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ส่งเสริมทักษะภาษาไทย นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษหรือสนใจภาษาไทยเป็นพิเศษ พัฒนาครูและจ้างครูภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาครูและศึกษานิเทศก์ภาษาไทยเฉพาะด้าน
กิจกรรมสำคัญ * จัดหาสื่อซ่อมเสริมแก้ปัญหา นร.ป.๓ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ มีผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทยต่ำ ๗๘,๐๖๕,๐๐๐ บาท * พัฒนาทักษะภาษาไทย นร.ที่มีความสามารถ หรือสนใจภาษาไทยเป็นพิเศษ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
* พัฒนาครูและจ้างครูภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมสำคัญ (ต่อ) * พัฒนาครูและจ้างครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ๔๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท * พัฒนาครูและศึกษานิเทศก์ภาษาไทยเฉพาะด้าน ๑๓๘,๒๔๒,๒๐๐ บาท
สพฐ. การดำเนินงาน กำหนดแนวทางการดำเนินงาน ประชุม สพท. ชี้แจงการดำเนินงาน สพฐ. จัดสรรงบประมาณ จัดทำแนวทางและติดตามประเมินผล สรุปและรายงานผล
สพท. การดำเนินงาน รายงานข้อมูลนร. ป.๓ ทุกคน ที่อ่าน ไม่ออกเขียนไม่ได้ จัดทำแผนงาน/โครงการและดำเนินการ สพท. ประสานการดำเนินงานกับโรงเรียน นิเทศติดตาม สรุป และรายงานผล ต่อ สพฐ.
โรงเรียน การดำเนินงาน ประเมินความสามารถการอ่าน การเขียน นร. ป.๓ ทุกคน ส่งเสริมและพัฒนาครูภาษาไทย โรงเรียน ซ่อมเสริมนักเรียนที่มีปัญหาอ่าน ไม่ออกเขียนไม่ได้เป็นรายบุคคล และ ส่งเสริมนักเรียนมีความสามารถพิเศษ สรุปและรายงานผล ต่อ สพท.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ เด็กและเยาวชนทุกระดับชั้นอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง ใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้สาระอื่น และตระหนัก ในความสำคัญของภาษาไทย