การบริหารจัดการอัตรากำลัง ฝ่ายบริหารและพัฒนาองค์กร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 21 มีนาคม 2551
แนวคิดของการวางแผนกำลังคน การวางแผนกำลังคนคืออะไร - เป็นการดำเนินการอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์และพยากรณ์เกี่ยวกับกับอุปสงค์และอุปทานกำลังคน - เป็นการนำไปสู่การกำหนดวิธีที่จะให้ได้กำลังคนที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมอย่างเพียงพอทั้งในด้านจำนวนและคุณภาพ เพื่อมาปฏิบัติงานในองค์การภายในเวลาที่ต้องการ 2
ส่วนประกอบของแผนกำลังคน ศึกษาสภาพแวดล้อม นโยบาย เป้าหมายเกี่ยวกับการบริหารกำลังคน โครงสร้างกำลังคนที่เหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน แผนการสรรหา (Recruitment Plan) แผนการเกลี่ยกำลังคน (Redeployment Plan) แผนพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร (Training & Development Plan) แผนการขยายหรือปรับปรุงเพิ่มคุณค่าของงาน (Job Enlargement Plan & Development Plan) แผนการทดแทนตำแหน่ง (Succession Plan) ศึกษาแผนธุรกิจ/แผนองค์กร การวิเคราะห์อัตรากำลัง ปฏิบัติการด้านกำลังคน 3
การวิเคราะห์อัตรากำลัง (Work Force Analysis) - เป็นกิจกรรมหนึ่งในกระบวนการวางแผนกำลังคน เพื่อคาดการณ์กำลังคนที่เหมาะสมที่จะใช้งานตามแผนงานอนาคตขององค์การ - เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการทบทวนตรวจสอบกำลังคนที่องค์การ มีในปัจจุบันว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ 4
เทคนิคการวิเคราะห์อัตรากำลัง ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ 1) เดลฟายเทคนิค (Delphi Technique) 2) วิธีเปรียบเทียบอัตราส่วน (Ratio) 3) การใช้เทคนิคการวัดงาน (Work Measurement Technique) 5
เทคนิคการวัดงาน (Work Measurement Technique เป็นวิธีการวิเคราะห์อัตรากำลัง โดยการศึกษาจากขั้นตอนการไหลของงาน (Work Flow) และมีการวัดเวลาที่ใช้ในการทำงานแต่ละขั้นตอน ที่เรียกว่า Time and Motion Study แล้วนำผลที่ได้จากการวัดงานไปกำหนดเวลามาตรฐานในการทำงาน เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณอัตรากำลังที่เหมาะสมกับปริมาณงานของหน่วยงานต่อไป 6
ขั้นตอนการวิเคราะห์อัตรากำลังของ ธอส. ศึกษาขอบเขตภาระหน้าที่ของหน่วยงานที่จะทำการวิเคราะห์อัตรากำลัง หาปัจจัยวัดงาน (Task) และหน่วยนับ หาปริมาณงาน แต่ละ Task ที่ต้องทำ (สถิติที่ผ่านมา 1-3 ปี) คำนวณอัตรากำลังที่ต้องใช้ในแต่ละหน่วยงาน สรุปอัตรากำลังรวมของแต่ละหน่วยงาน นำเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์อัตรากำลัง แจ้งผลการวิเคราะห์อัตรากำลังให้ฝ่าย/งานที่มีการวิเคราะห์อัตรากำลังทราบ 7
การหาปัจจัยวัดงานและหน่วยนับ ปัจจัยวัดงาน หมายถึง ผลขั้นสุดท้าย (output) อันเกิดจากการปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งก่อให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ขององค์การ หน่วยนับ หมายถึง หน่วยนับของผลงาน ซึ่งอาจมีหน่วยเป็น ชิ้นงาน โครงการ หรือเป็นความถี่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น จำนวนครั้ง/ปี 8
การคำนวณอัตรากำลัง อัตรากำลังที่ต้องการ = เวลามาตรฐานต่อชิ้นงาน x ปริมาณงานใน 1 ปี เวลาทำงานของพนักงาน 1 คน ต่อ 1 ปี 9
การคำนวณเวลาทำงานใน 1ปี จำนวนวัน/ปี 365 วัน หัก - เสาร์-อาทิตย์ 104 วัน - ประเพณี 14 วัน 118 วัน คงเหลือวันทำการของธนาคาร 247 วัน - วันพักผ่อน 10 วัน - ป่วย/กิจ 10 วัน - วันอบรม 6 วัน 26 วัน คงเหลือวันมาทำงานจริง 221 วัน - เวลาทำงาน/วัน= 6 ช.ม.* 221วัน = 1,326 ชม. = 79,560 นาที 10
13 11
12
13
Q & A 14