โรงเรียนนวัตกรรมสุขภาพชุมชน (รนสช.) ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพ ภาคประชาชน ภาคกลาง
โรงเรียนนวัตกรรมสุขภาพชุมชน คือ ชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโดยใช้นวัตกรรมกระบวนการ ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำโดยตรงระหว่างชุมชน บุคคล หรือองค์กรที่เป็นต้นแบบกับชุมชน บุคคล หรือองค์กรผู้ที่สนใจศึกษาเรียนรู้ที่มาจากพื้นที่อื่น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการขยายงานระหว่างพื้นที่ด้วยกันเอง (การขยายงานทางราบ)
นวัตกรรม = การจัดการความรู้ นพ นวัตกรรม = การจัดการความรู้ นพ.ยงยุทธ วงษ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ปรับใช้ ความรู้เด่นชัด Explicit knowledge เรียนรู้/ พัฒนา รวบรวม ค้นคว้า ความรู้ซ่อนเร้น Tacit knowledge สร้างความรู้ เรียนรู้ แลกเปลี่ยน
ผลการประเมิน ระดับพื้นฐาน เกณฑ์การประเมิน ระดับ 1 ปัจจัยนำเข้า ๑.๑ มีทีมงานที่ประกอบด้วย อสม. จนท.สธ. อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นแกนนำในการพัฒนา ๑.๒ มีองค์ความรู้ เทคโนโลยีและเนื้อหาที่เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวมและชุมชนยอมรับ ผลการประเมิน ระดับพื้นฐาน
ระดับ 2 กระบวนการจัดการนวัตกรรมสุขภาพ ๒.๑ มีการถอดบทเรียนและการจัดการความรู้ในชุมชน ๒.๒ มีการสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสุขภาพในชุมชน ๒.๒ มีนวัตกรรมกระบวนการที่นำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน ผลการประเมิน ระดับพัฒนา
การพัฒนานวัตกรรมสุขภาพชุมชนและเตรียมโรงเรียนนวัตกรรม ระดับ 3 การพัฒนานวัตกรรมสุขภาพชุมชนและเตรียมโรงเรียนนวัตกรรม ๓.๑ มีแผนงาน/โครงการด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน อย่างน้อย ๓ โครงการ ๓.๒ มีแนวคิดมุ่งพัฒนา/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ๓.๓ มีการแสดงบทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับ อสม. ในลักษณะเป็นเพื่อร่วมงาน/หุ้นส่วน ๓.๔ มีหัวข้อวิชาที่เป็นนวัตกรรมสุขภาพและหัวข้ออื่นที่กำหนดโดยผู้สอน(ผู้ถ่ายทอดความรู้) และ ผู้เรียน (ผู้รับการถ่ายทอด) ผลการประเมิน ระดับดี
ระดับ ๔ กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโรงเรียนนวัตกรรม ๔.๑ มีการถ่ายทอดความรู้ โดย องค์กรหรือทีมงานหรือบุคคล ต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๔.๒ มีผู้รับการถ่ายทอดที่มาจากพื้นที่ที่ต้องการพัฒนาและมีจุดมุ่งหมายหรือความต้องการที่ชัดเจน ๔.๓ มีหลักสูตรที่พัฒนา/ปรับปรุงได้ตามความต้องการของผู้เรียน ๔.๔ มีหัวข้อวิชาที่เป็นนวัตกรรมสุขภาพและหัวข้ออื่นที่กำหนดโดยผู้สอน(ผู้ถ่ายทอดความรู้) และ ผู้เรียน (ผู้รับการถ่ายทอด) ๔.๕ มีการจัดกิจกรรมเรียนรู้ในรูปแบบ การสาธิต/บรรยายที่เน้นการฝึกปฏิบัติ (ไม่ใช่บรรยายอย่างเดียว) ผลการประเมิน ระดับดีมาก
ระดับ ๕ ตัวชี้วัดความสำเร็จผลของการจัดกระบวนการเรียนรู้ ๕.๑ ผู้ผ่านการเรียนรู้สามารถใช้ประสบการณ์ไปสร้างโครงการพัฒนาในชุมชนของตนเองได้ ผลการประเมิน ระดับดีเยี่ยม