จักรพรรดิ คังซี วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 13.00-16.00 น. ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2218-7416 โทรสาร 0-2255-1760 E-mail: ias@chula.ac.th Website: http://www.csc.ias.chula.ac.th จักรพรรดิ คังซี วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จักรพรรดิซุ่นจื่อ วางรากฐาน การปกครองไว้เป็นอย่างดี ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2218-7416 โทรสาร 0-2255-1760 E-mail: ias@chula.ac.th Website: http://www.csc.ias.chula.ac.th จักรพรรดิซุ่นจื่อ วางรากฐาน การปกครองไว้เป็นอย่างดี จักรพรรดิคังซี ชื่อเต็มคือ ไอ้ซินเจียกโหลเสวียนหัว หลังถึงแก่สวรรคตมีพระนามชื่อ “เซิ่งจู่” คังซีเป็นชื่อตามลำดับของราชวงศ์ชิงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่สอง นับตั้งแต่กองทัพแมนจูรุกข้ามด่านกำแพงเมืองจีนและเป็นชนเผ่าที่ยึดครองประเทศจีนในเวลาต่อมาเป็นผู้สร้างยุค “คังซีเฉียนหลง” ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศจีนมีความเจริญรุ่งเรืองในประวัติศาสตร์จีน จักรพรรดิคังซีนับว่าเป็นองค์พระมหากษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์จีน จักรพรรดิคังซี เป็นเจ้าฟ้าองค์ที่สามของพระจักรพรรดิซุ่นจื่อ เกิดเมื่อปี 1654 พระจักรพรรดิซุ่นจื่อ นับได้ว่าเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่ปกครองแผ่นดินจีนของราชวงศ์ชิง จักรพรรดิซุ่นจื่อได้ขึ้นครองราชย์ตอนมีอายุเพียง 6 ปีและเข้าว่าราชการโดยตรงตอนมีอายุ 14 ปี และถึงแก่สวรรคตเมื่ออายุ 24 ปี จักรพรรดิซุ่นจื่อขึ้นครองราชย์และว่าราชการเป็นเวลาสั้น ๆ เพียง 10 ปี แต่ก็สามารถวางรากฐานการปกครองของราชวงศ์ชิงให้มีความมั่นคงได้ในระดับหนึ่ง โดยได้สรุปบทเรียนจากสาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์หมิงเข้าใจถึงความเจริญรุ่งเรืองของราชวงศ์หมิงในยุคต้นเพราะราษฎรไม่ต้องแบกรับภาระการเสียภาษีมากนักมีโอกาสพักฟื้นข้าราชการมือสะอาดประเทศจึงเจริญรุ่งเรือง ประชาชนมั่งคั่ง เกิดสงบสุขอย่างถ้วนหน้า แต่พอถึงยุคปลายซึ่งพระจักรพรรดิฉุงเจิงเริ่มเพิ่มกำลังทหารและเรียกเก็บภาษีเพิ่ม ข้าราชการทุจริตคอรัปชั่นประชาชนไม่อยู่เย็น เป็นสุข สังคมเริ่มเกิดความยุ่งเหยิง ประชาชนคือพื้นรากของประเทศ พื้นรากไม่มั่นคงประเทศชาติจะอยู่ได้อย่างไร? จักรพรรดิซุ่นจื่อหลังขึ้นว่าราชการ สิ่งที่ได้ทำไปในอันดับแรก คือ การปรับปรุงระบบราชการปราบคอรัปชั่นในวงการราชการ สั่งให้มีการแยกแยะราชการตามคุณสมบัติและการประพฤติผู้ที่มีความสามารถมีคุณธรรม จึงให้ดำรงตำแหน่งในราชการต่อไป ผู้ที่ไม่รู้หนังสือ ขีดความสามารถไม่โดดเด่น ขี้เกียจ และทุจริต ให้ปลดออกจากตำแหน่งทันที หากมีความผิดให้ลงโทษด้วย จักรพรรดิซุ่นจื่อ
จักรพรรดิคังซี สืบทอดราชบัลลังก์ ท่ามกลางวิกฤตการณ์ รอบด้าน ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2218-7416 โทรสาร 0-2255-1760 E-mail: ias@chula.ac.th Website: http://www.csc.ias.chula.ac.th จักรพรรดิคังซี สืบทอดราชบัลลังก์ ท่ามกลางวิกฤตการณ์ รอบด้าน น่าเสียดายที่พระจักรพรรดิซุ่นจื่อครองราชย์ไม่นานก็ด่วนสวรรคตไป ขณะที่จักรพรรดิคังซี มีอายุเพียง 8 ปี หลังขึ้นครองราชย์แล้ว จึงเปลี่ยนศักราชเป็น “คังซี” แต่แผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาลที่เขารับช่วงมาจากบรรพบุรุษนั้น ไม่ใช่แผ่นดินที่ความสงบสุขหากเป็นแผ่นดินที่เต็มไปด้วยวิกฤตรอบด้าน การจงรักภักดีต่อราชวงศ์ชิงยังไม่เกิดขึ้น การที่ชนกลุ่มน้อยจะมาปกครองชนเผ่าที่เป็นชนส่วนใหญ่นั้นย่อมต้องเสียค่าเหนื่อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในราชวงศ์ชิงปรากฏว่าอำนาจได้กระจุกตัวอยู่กลุ่มขุนนางชั้นผู้ใหญ่โดยมี อ้าวป้าย เป็นหัวหน้าสามารถทำอะไรตามอำเภอใจ การถืออำนาจบาตรใหญ่ของเหล่าขุนนางเป็นแรงกดดันที่คุกคามต่อพระราชอำนาจ ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าวได้เป็นการเรียกร้องให้เกิดรัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่เพื่อสถาปนาระเบียบการปกครองที่มีความมั่นคงถาวรขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นการท้าทายต่อความสามารถ อำนาจ และหน้าที่ของจักรพรรดิคังซี จักรพรรดิคังซี
พระชนนีเสี้ยวจวงเหวิน ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2218-7416 โทรสาร 0-2255-1760 E-mail: ias@chula.ac.th Website: http://www.csc.ias.chula.ac.th ตั้งแต่เยาว์วัย จักรพรรดิคังซีเสียพระบิดาเมื่ออายุ 8 ปี เสียพระมารดา เมื่ออายุ 9 ปี เวลาส่วนใหญ่จึงอยู่ภายใต้การดูแลอบรมบ่มเพาะของพระชนนีเสี้ยวจวงเหวิน ซึ่งเป็นย่าของจักรพรรคดิคังซี อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสมดุลของกลุ่มอำนาจต่าง ๆ ให้คานอำนาจกับกลุ่มของอ้าวป้าย และในที่สุดก็สามารถขจัดอำนาจอิทธิพลของอ้าวป้ายได้หลังขึ้นครองราชย์ 2 ปี โดยสามารถรวบอำนาจบริหารแผ่นดินทั้งหมดอยู่มือ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่จักรพรรดิคังซีก้าวสู่ความสำเร็จ แม้ว่า จักรพรรดิคังซีสามารถครองอำนาจการบริหารแผ่นดินอย่างเบ็ดเสร็จแล้ว แต่บรรดาผู้ปกครองพื้นที่ภาคใต้ของจีนอย่างน้อยมีสามเจ้าปกครองท้องถิ่น ต่างกุมกำลังทหารจำนวนมากอยู่ในมือ ทำท่าต้องการจะแบ่งแยกดินแดนออกไปจากการปกครองของราชวงศ์ชิง โดยเฉพาะกลุ่มของอู๋ซานกุ้ย ทำท่าจะชูธงการฟื้นฟูการปกครองของชนเผ่าฮั่นเพื่อก่อกบฏแยกดินแดน ซึ่งจักรพรรดิคังซีก็ต้องใช้เวลาปราบกบฎอู๋ซานกุ้ยให้สิ้นซากถึง 8 ปี พระชนนีเสี้ยวจวงเหวิน
ดินแดนแผ่นดินจีนยุคราชวงศ์เซ็ง ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2218-7416 โทรสาร 0-2255-1760 E-mail: ias@chula.ac.th Website: http://www.csc.ias.chula.ac.th จากนั้น จักรพรรดิคังซีก็ให้นายพล ซือร่าง นำทัพเรือบุกยึดเกาะไต้หวันคืนจากตระกูลเจิ่งได้ทางภาคเหนือก็สามารถต้านการรุกรานจากรัสเซีย จนสองฝ่ายสามารถเซ็นสัญญาสงบศึกได้ในปี 1685 ขณะที่จักรพรรดิคังซี สามารถทำให้แผ่นดินใหญ่จีนเป็นปึกแผ่น ทางมองโกลเลียก็เกิดหัวหน้าชนเผ่าเกอร์ตาน สามารถรวบรวมชนเผ่ามองโกลอื่น ๆเป็นหนึ่งเดียวแผ่อิทธิพลลงใต้คุกคามแผ่นดินจีนซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคังซีในปี 1690 กองทัพของเกอร์ตานได้รุกเข้ามาถึงจุดที่ห่างจากกรุงปักกิ่งแค่ 700 กิโลเมตร แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ทัพของจักรพรรดิคังซีในการทำศึกที่อุรานปาฮง เมื่อปี 1691 หลังจากนั้นตามแนวชายแดนภาคเหนือของจีนก็อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ชิง ดินแดนแผ่นดินจีนยุคราชวงศ์เซ็ง
ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2218-7416 โทรสาร 0-2255-1760 E-mail: ias@chula.ac.th Website: http://www.csc.ias.chula.ac.th จักรพรรดิคังซีมีความขยันหมั่นเพียร ในการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ทั้งของตะวันออกและตะวันตก ด้านศิลปวัฒนธรรม โดยปกติจักรพรรดิในระบบศักดินาจะร่ำเรียนแต่คัมภีร์โบราณ ประวัติศาสตร์ วรรณคดีและศิลปกรรม เป็นต้น สำหรับจักรพรรดิคังซี นอกเหนือสิ่งต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เขายังให้ความสนพระทัยต่อวิชาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วิชาแสงแพทย์ศาสตร์ ศัลยกรรมซึ่งเป็นวิชาทางวิทยาศาสตร์ล้วน ๆ อีกทั้งยังล้อมรอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ทั้งของจีนและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกนักสอนศาสนาคริสต์เขาเป็นกษัตริย์ที่ให้ความวางพระทัยและให้ความวางพระทัยและให้ความเคารพกับนักเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่มีความรู้ ความสามารถทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี คังซีอ่านหนังสือมากที่สุดของพระมหากษัตริย์จีน
ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2218-7416 โทรสาร 0-2255-1760 E-mail: ias@chula.ac.th Website: http://www.csc.ias.chula.ac.th จักรพรรดิคังซีเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ได้ยาวนานที่สุด ในประวัติศาสตร์จีนและผู้นำการปฏิรูประบบการศึกษา ตลอดจนระบบราชการจีน จักรพรรดิคังซีเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ได้ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน คือ ครองราชย์ยาวนานถึง 61 ปี ยุคที่จักรพรรดิคังซีครองราชย์ได้มีการประกาศใช้ “ประมวลกฎหมายต้าชิง” เป็นการประมวลกฎหมายทุกยุคทุกสมัยของจีนไว้ด้วยกันอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ด้วยระบบการสอบไล่เพื่อคัดเลือกบัณฑิต นอกเหนือจากการสอบคัดเลือกด้านกาพย์กลอนตามประเพณีดั้งเดิมแล้ว ยังเพิ่มแผนกการสอบคัดเลือกบัณฑิตที่มีความรู้หลากหลายเพื่อได้มาซึ่งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้วยวิธีสอบคัดเลือกและการแนะนำ หลังจากปราบกบฏภาคใต้สำเร็จเพื่อที่จะเพิ่มรายได้ของคลังหลวงได้ประกาศใช้ระบบการบริจาคให้ลูกหลายของเจ้าที่ดินและคหบดีสามารถบริจาคเงินให้รัฐจำนวนหนึ่งเพื่อแลกกับตำแหน่งข้าราชการระดับต่ำ ยุคที่จักรพรรดิคังซีครองราชย์ เขาได้ทำการเรียบเรียงจัดพิมพ์หนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย เช่น “พจนานุกรมคังซี” “รวมภาพและหนังสือโบราณ” “สุดยอดทางคณิตศาสตร์” “ปฏิทินคังซี” “ประมวลภาพพระราชดำรัสจักรพรรดิคังซี” สภาพความเจริญรุ่งเรืองทางการทหาร เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในยุคที่จักรพรรดิคังซีครองราชย์ 61 ปี ในประวัติศาสตร์จีนได้ชื่อว่าเป็น “ยุคการปกครองคังซี” ถือเป็นจุดเริ่มต้น “ยุคเจริญรุ่งเรืองคังเฉียน” หลังยึดเกาะไต้หวันคืนได้จักรพรรดิคังซีเคยเปิดทะเลครั้งหนึ่งถึงช่วงวัยชราก็ได้ดำเนินนโยบาย“ปิดทะเล” อีกครั้งหรืออีกนัยหนึ่งดำเนินนโยบายปิดประเทศ
ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2218-7416 โทรสาร 0-2255-1760 E-mail: ias@chula.ac.th Website: http://www.csc.ias.chula.ac.th บทบาทของจักรพรรดิคังซีในประวัติศาสตร์จีนต่างฝ่ายต่างมี ความเห็นที่แตกต่างกัน การประเมินบทบาทในประวัติศาสตร์จีนของจักรพรรดิคังซีไม่ควรสูงเกินไป ก่อนอื่นการปราบกบฏภาคใต้และกลุ่มเกอร์ตานสำเร็จหรือยึดเกาะไต้หวันคืนได้ คังซีเป็นการใช้กำลังทั้งประเทศจัดการกับกำลังท้องถิ่นแม้ชัยชนะจะได้มาไม่ง่าย แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์โดยรวมทางมหภาคทางประวัติศาสตร์ นโยบายภายในประเทศของจักรพรรดิคังซี เพื่อส่งเสริมความเจริญของประเทศ แต่นโยบายของเขาขาดการคิดค้นสิ่งใหม่โดยพื้นฐานแล้วก็เดินตามหลังคนก่อน ๆ ที่ได้ใช้มาแล้ว การปรากฏของ “การปกครองแบบคังซี” อาจเป็นเพราะคังซีเป็นจักรพรรดิยุคที่สอง ซึ่งมีลักษณะที่ต้องการฟื้นฟูหลังการสู้รบ อีกทั้งโดยส่วนตัวของคังซีเองชอบคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีจากตะวันตกมากเป็นพิเศษ แต่กลับไม่ได้นำเอาวิทยาการที่ทันสมัยเหล่านี้เผยแพร่ทั่วประเทศ ทำให้จีนเสียโอกาสที่ดีงามรับรู้อารยะธรรมตะวันตกขนานใหญ่ กล่าวโดยสรุปแล้ว จักรพรรดิคังซีนับว่าเป็นเพียงพระมหากษัตริย์องค์หนึ่งเท่านั้นแต่มิใช่เป็นบุคคลที่เปลี่ยนแปลงแนวโน้มทางประวัติศาสตร์เขาส่งผลที่แท้จริงต่อประวัติศาสตร์อาจน้อยกว่าชื่อเสียงของตัวเขาเอง พระราชโองการจักรพรรดิคังซี
ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2218-7416 โทรสาร 0-2255-1760 E-mail: ias@chula.ac.th Website: http://www.csc.ias.chula.ac.th ชนเผ่าแมนจู ใช้กำลังเพียง 120,000 คน ล้มราชวงศ์หมิง ได้อย่างไร? ลัทธิหรูเป็นเพียง เครื่องมือ อย่างไรก็ตาม กองทัพ 8 ธงของแมนจูมีกำลังพลเพียง 120,000 คน สามารถล้มราชวงศ์หมิงได้ซึ่งมีประชากรกว่า 100 ล้านคน หลังจากสร้างสิ่งมหัศจรรย์ทางประวัติศาสตร์ครั้งนี้แล้ว ผู้ปกครองของราชวงศ์ชิงในยุคต้นก็ตกอยู่ในท่ามกลางทางวิกฤตด้านจิตสำนึก ภารกิจที่เป็นหัวใจสำคัญการปกครองของจักรพรรดิคังซี คือ วางพื้นฐานแห่งความชอบธรรมของชนเผ่าแมนจูปกครองทั่วประเทศจีน ข้อที่เฉลียวฉลาดของจักรพรรดิคังซีอยู่ที่ว่าเขาสามารถทำให้วัฒนธรรมของลัทธิหรูกับปัญญาชนของชนเผ่าฮั่นยอมรับระบอบชิงพร้อม ๆ กับการดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของการบูชาแสนยานุภาพและการบุกเบิก จักรพรรดิคังซีกล้าใช้ขุนนางชาวฮั่นและให้อยู่ในตำแหน่งสำคัญ ๆ จำนวนมาก อีกทั้งสามารถดูดซับวัฒนธรรมจีนเป็นจำนวนมาก แต่การที่จักรพรรดิคังซีใช้หลัก “เมตตาธรรม” ปกครองประเทศก็เปิดจุดอ่อนเช่นกันในช่วงปลายของคังซี จึงเกิดมีการทุจริตคอรัปชั่นในวงการข้าราชการอย่างกว้างขวางทำให้ผู้ที่สืบทอดตำแหน่งจำต้องดำเนินการปฏิรูปครั้งใหญ่ คือ จักรพรรดิย่งเจิง
จักรพรรดิคังซีต้องเลือกย่งเจิง เพราะเป็น ผู้เข้มแข้ง ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2218-7416 โทรสาร 0-2255-1760 E-mail: ias@chula.ac.th Website: http://www.csc.ias.chula.ac.th จักรพรรดิคังซีต้องเลือกย่งเจิง เพราะเป็น ผู้เข้มแข้ง ในประวัติศาสตร์จีนมักจะมองว่า จักรพรรดิย่งเจิงเป็นกษัตริย์ที่โหดร้ายทารุณองค์หนึ่ง ฆ่าคนเป็นจำนวนมากโดยมีการจัดตั้งองค์การลับ เพื่อที่จะฆ่าคนโดยเฉพาะที่เรียกว่า “เม็ดเลือด” ใครได้ยินชื่อ “เม็ดเลือด” ก็ต้องรู้สึกอกสั่นขวัญหาย ส่วนที่ตัวย่งเจิงสืบทอดอำนาจจากจักรพรรดิคังซีนั้น ก็ยังคงเป็นปริศนาข้อหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนว่า ความจริงคังซีแต่งตั้งให้องค์ชายสี่หรือองค์ชายสิบสี่เข้าครองราชย์? แต่บรรดานักวิชาการจีนจะโน้มเอียงไปทางยิ่งเจิง (องค์ชายสี่) มากว่าเพราะในชีวิตชีวิตบั้นปลายของจักรพรรดิคังซีได้มองเห็นความเน่าเฟะในวงการาชการ จึงต้องการให้ผู้ที่มีความเข้มแข็งมาสืบทอดอำนาจเพื่อบรรลุภารกิจที่ตนได้จัดวางไว้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าจักรพรรดิย่งเจิงเป็นพระมหากษัตริย์ที่พิจารณาสั่งราชการมากที่สุด ขยันที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เขาจะพิจารณารายงานราชของข้าราชการทุกฉบับด้วยตนเอง สั่งการด้วยตนเอง ช่วงหลังของจักรพรรดิคังซี คลังหลวงร่อยหรอ หลังจากจักรพรรดิย่งเจิงบริหารประเทศ 13 ปี การคลังของประเทศร่ำรวยมากขึ้น นับว่าเป็นการเชื่อมต่อที่ดีเพื่อรองรับยุคความเจริญรุ่งเรือง “คังเฉียน” (คังซีเฉียนหลง) ยุคต้นของราชวงศ์ชิง มีการจับกุมคุมขังผู้ที่แสดงความคิดเห็นคัดค้านระบอบการปกครองจากต่างชนเผ่า ถูกจับขังคุก อุดมคติในการปกครองประเทศด้วยธรรมตามลัทธิขงจื่อ การเคารพสิทธิมนุษย์ชนและการปล่อยให้มีความคิดแบบอิสรเสรีที่เคยมีอยู่ในแผ่นดินจีนต้องสาบสูญโดยสิ้นเชิง ทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนไม่มีชีวิตชีวาเหมือนสิ่งที่เก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์จะทำการศึกษาเรียนรู้แต่เฉพาะสิ่งที่ทางการแมนจูอนุญาตเท่านั้น ทำให้ชาวฮั่นในราชวงศ์ชิงหมดสิ้นความเป็นฮั่นไปแล้ว จักรพรรดิย่งเจิง
ชนชั้นปกครองราชวงศ์ชิง เป็นผู้ทำลาย หรือผู้ส่งเสริมอารยะธรรมจีน? ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2218-7416 โทรสาร 0-2255-1760 E-mail: ias@chula.ac.th Website: http://www.csc.ias.chula.ac.th ชนชั้นปกครองราชวงศ์ชิง เป็นผู้ทำลาย หรือผู้ส่งเสริมอารยะธรรมจีน? ชนชั้นปกครองของราชวงศ์ชิง ยังอาศัยการแก้ไข “ซื่อคู่ฉวนซู” ทำลายตำราสำคัญ ๆ ที่เป็นตัวแทนสุดยอดแนวความคิดช่วงการพัฒนาสูงสุดของอารยะธรรมจีน ตำราที่มีค่าบางส่วนนักเรียนจีนที่เล่าเรียนในประเทศญี่ปุ่นได้ถูกค้นพบที่ประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามฝิ่นในด้านอารยะธรรมทางวัตถุ ภาคการเกษตร เมื่อปลายราชวงศ์หมิง จีนมีพื้นที่นาทั่วประเทศ 7.83 ล้านฉิง เมื่อถึงปี 1766 ยุคจักรพรรดิเฉียนหลง จึงฟื้นฟูให้มีแค่ 7.4 1 ล้านฉิง จะเห็นได้ว่า ชนเผ่าแมนจูปกครองแผ่นดินจีนร้อยกว่าปีแล้วขนาดการผลิตเพียงเท่ากับยุคปลายของราชวงศ์หมิง แม้ถึงปี 17 ของศักราชเจียชิ่ง มีสถิติสูงสุดเป็น 7.91 ล้านฉิง ก็มากกว่าช่วงฉุงเจิง ราชวงศ์หมิงเพียง 7-8 หมื่นฉิงเท่านั้น เงินตรายุคคังซี
เป็นความเจริญก้าวหน้าหรือถอยหลัง เข้าคลอง ทางประวัติ ศาสตร์? ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2218-7416 โทรสาร 0-2255-1760 E-mail: ias@chula.ac.th Website: http://www.csc.ias.chula.ac.th เป็นความเจริญก้าวหน้าหรือถอยหลัง เข้าคลอง ทางประวัติ ศาสตร์? ผลงานอันยิ่งใหญ่ที่สุดของราชวงศ์ชิง คือ ทำให้จำนวนประชากรของจีนพุ่งสูงเป็นหลายเท่าตัว ถึงช่วงจักรพรรดิเฉียนหลงเกือบถึง 400 ล้านคน แต่ท่ามกลางการผลิตธัญหารที่ไม่ได้เพิ่ม อีกทั้งความเจริญด้านอุตสาหกรรมการค้าไม่เท่ายุคราชวงศ์หมิง ประชากรกลับพุ่งสูงเป็นสองเท่าตัว ย่อมหมายถึง ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจะมีคุณภาพที่แย่ลง นั่นย่อมหมายความว่าเริ่มต้นจากการเข้าสู่ยุคราชวงศ์ชิงประเทศจีนเข้าสู่ยุคก็ต้องการพัฒนาในรูปของคุณภาพชีวิตตกต่ำ การที่มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมหาศาล ย่อมเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงที่จีนจะก้าวสู่เป็นประเทศที่ทันสมัย ที่น่าสังเกตคือ ตลอดเวลาที่ผ่านมาประเทศจีนเป็นผู้ผลิตกัญชา ฝิ่นและเป็นประเทศที่ส่งออกฝิ่น แต่พอถึงยุคราชวงศ์ชิงจึงมีประชาชนเป็นจำนวนมากสูบฝิ่น อีกทั้งกลายเป็นประเทศนำเข้าฝิ่นรายใหญ่ที่สุด การผลิตเหล็กและสิ่งทอซึ่งเป็นดัชนีสำคัญด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรมถึงก่อนสงครามฝิ่ง ยังต่ำกว่าระดับปลายราชวงศ์หมิง เมื่อสิ้นสุด “ยุคเจริญรุ่งเรืองคังเฉียน” ไม่นาน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนเป็นเพียง 6% ทั่วโลก ต่ำกว่าปลายราชวงศ์หมิง มองไปด้านการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว ช่วงที่ชนเผ่าแมนจูปกครองประเทศจีนสามร้อยกว่าปี การศึกษาค้นคว้าทางเทคโนโลยีของจีนเกือบเท่ากับยุติลง แม้ในการทำสงครามฝิ่นกับอังกฤษปืนใหญ่ที่หลินเจ๋อฉวีใช้เป็นอาวุธต่อสู้กับอังกฤษก็ต้องอาศัยการบริจาคของชาวบ้านซึ่งล้วนแต่เป็นปืนใหญ่ที่ผลิตขึ้นในยุคราชวงศ์หมิง ด้านการต่างประเทศ ทางราชสำนักแมนจูเพื่อป้องกันไม่ให้ระบอบตระกูลเจิงที่ยึดครองไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลีที่สืบทอดอารยะธรรมของจีนช่วยเหลือชนเผ่าฮั่นต่อต้านระบบการปกครองของชนเผ่าแมนจูได้ดำเนินนโยบายปิดประเทศห้ามไม่ให้ราษฎรเดินทางออกทะเลกำหนดชายฝั่งทะเลทางตะวันออกเฉียงใต้ที่อุดมด้วยทรัพยากรให้เป็นเขตหวงห้าม เป็นการขัดขวางการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศของจีน อีกทั้งเป็นการปิดกั้นไม่ให้จีนเชื่อมต่อกับอารยะธรรมกระแสหลักของโลกด้วย ทำให้ตั้งแต่ปี 1644 - 1840 นานเป็น 200 ปี จีนต้องสวนกระแสกับกระแสการพัฒนาของโลก ภาพเขียนจักรพรรดิคังซีกับม้ารบ
ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 3 ถนนพญาไท วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2218-7416 โทรสาร 0-2255-1760 E-mail: ias@chula.ac.th Website: http://www.csc.ias.chula.ac.th ภายใต้การปกครอง ของชนเผ่า แมนจู 300 ปี นับเป็น เคราะห์ร้าย ของประเทศจีน กล่าวโดยสรุปคือ ภายใต้การปกครองของชนเผ่าแมนจู อารยะธรรมจีนได้ถดถอยอย่างรุนแรง ช่องว่างกับอารยะธรรมตะวันตกกว้างขวางมากขึ้นตอนเกิดสงครามฝิ่นสายตาของชาวอังกฤษได้มองจีนเป็นชนชาติที่ล้าหลังเหมือนกับชนเผ่าอินเดียแดง แม้ว่ามองดูในยุคต้นของราชวงศ์ชิงมีผู้ปกครองหลายคนดูเหมือนมีความเก่งกล้าสามารถในการใช้กำลังมากกว่ากษัตริย์ชาวฮั่น ทำให้ดินแดนจีนขยายกว้างใหญ่ขึ้น แต่มองในแง่ของความก้าวหน้าของอารยะธรรมจีนยังเป็นการล้าหลังย่ำอยู่กับที่ นั่นคือ ผลจากความล้าหลังและอนุรักษ์ของชนชั้นปกครองชนเผ่าแมนจู อีกทั้งพวกเขาในฐานะเป็นต่างชนเผ่ามีการหวาดระแวงชนเผ่าฮั่นโดยตลอด ภาพเขียนคังซี