ผลของระบบการเลี้ยง เพศ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2548
Advertisements

คณิตคิดเร็วโดยใช้นิ้วมือ
งานกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการฯ
ที่ โรงเรียน เฉลี่ย 1 บ้านหนองหว้า บ้านสะเดาหวาน
การใช้ถั่วมะแฮะในอาหารสุกรระยะเจริญเติบโต
วิชาสัมมนา ( ) เรื่อง ผลของพ่อพันธุ์ดูร็อคและพ่อพันธุ์เพียเทรนต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ลักษณะซากและคุณภาพเนื้อของสุกรขุน Effect of Duroc and Pietrain-sired.
พลังงานในกระบวนการทางความร้อน : กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์
การซ้อนทับกัน และคลื่นนิ่ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เปรียบเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดจากฐาน DBPop Original กับจำนวนประชากรทั้งหมดที่จังหวัดถือเป็นเป้าหมาย จำนวน (คน) 98.08% % จังหวัด.
งานกลุ่มส่งเสริมและ พัฒนาการบริหารการ จัดการฯ ผลงาน ณ เดือน เมษายน 2551.
ต้นทุน(บาท/กิโลกรัม)
วิชาเศรษฐศาสตร์ รศ.ดร. ชวินทร์ ลีนะบรรจง.
นิยามศัพท์ทางด้านอาหารสัตว์ และการจำแนกวัตถุดิบอาหารสัตว์
การทดสอบเลี้ยงต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงในดินชนิดต่างๆ
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ
คำถามของการบริหารการค้าปลีก
จำนวนนับใดๆ ที่หารจำนวนนับที่กำหนดให้ได้ลงตัว เรียกว่า ตัวประกอบของจำนวนนับ จำนวนนับ สามารถเรียกอีกอย่างว่า จำนวนเต็มบวก หรือจำนวนธรรมชาติ ซึ่งเราสามารถนำจำนวนนับเหล่านี้มา.
โครงการกินอยู่อย่างพอเพียง
ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของไทย
ผลการจำกัดอาหารในลูกสุกรหย่านมก่อนกำหนด
ผลของการเสริมวิตามิน บี 12 ต่อองค์ประกอบของไข่
1 2 ตามลักษณะ เศรษฐกิจ งบประมา ณ ตาม พ. ร. บ. ( ล้าน บาท ) ได้รับ จัดสรร ( ล้าน บาท ) เบิกจ่าย ร้อย ละ / งบ จัดสร ร สำนัก ชลประทานที่ 13 1,164,64 0,305.
ความรู้พื้นฐานการเชื่อมโยงเครือข่าย
งานกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการฯ
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อซิเมนต์
เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสุรา
การดำเนินงานอาชีวเวชศาสตร์: แพทย์ที่ผ่านการอบรม
นางสาวสุธาสินี ภัยชนะ
การใช้ใบสับปะรดในอาหารผสมเสร็จสำหรับโครีดนม
การศึกษาหญ้าแฝกเพื่อใช้เป็นพืชอาหารสัตว์
ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการ การตรึงราคา/กำหนดระดับราคาน้ำมัน
ความคิดเห็นของข้าราชการเกี่ยวกับ สวัสดิการการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2546
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สรุปผลการรวบรวม ความคิดเห็นของประชาชนที่ซื้อคอมพิวเตอร์จากโครงการคอมพิวเตอร์ ไอซีที เพื่อคนไทย พ.ศ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
ฝ สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชน / ผู้ประกอบการ
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สิงหาคม.
ข้อมูลเศรษฐกิจการค้า
งานอนามัยแม่และเด็ก ปี 2551
การเลื่อนเงินเดือนในระบบใหม่
การเลี้ยงเป็ด รูปแบบการเลี้ยงเป็ดในประเทศไทย
สำนักวิชาการและแผนงาน
การทำธุรกิจแบบยั่งยืน การตลาดแบบแม่ไก่อารมณ์ดี
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยล่าสุด (ณ เดือนตุลาคม) และแนวโน้มไตรมาส 3/50 และ 4/50
การแจกแจงปกติ.
สมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทย
ดัชนี. Th ai CI MyMy MLSVPh BRBR 4. สัดส่วน ระหว่าง แรงงาน ฝีมือ และไร้ ฝีมือ 16 % (20 06) 26 % (20 07) 80 % (20 09) % (20 07) %
Wean-to-Finish (WTF) System
ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเกมออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร
การเลี้ยงปลาหางนกยูง
สรุปสถิติ ค่ากลาง ค่าเฉลี่ยเลขคณิต เรียงข้อมูล ตำแหน่งกลาง มัธยฐาน
1. กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม ของคนไทย InformationIdeasInitiatives.
บริษัท AEK บรีดเดอร์ฟาร์ม สาขา ฟาร์มหนองเขิน
สรุปผลสัมฤทธิ์ปีการศึกษา 2552 ชั้ น จำนว นสาระการเรียนรู้ นักเรี ยนทค ค. เพิ่มวสพ.พ. ศ.ศ. ดน ตรีง.ง. คอ ม. อ อ. เพิ่ม ป.1ป
มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ก่อนและหลัง การประกาศสงครามขั้นแตกหักเพื่อเอาชนะยาเสพติด) พ.ศ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมและแนวโน้มทางพันธุกรรมของสมรรถนะการเจริญเติบโตและผลผลิตไข่ในไก่พื้นเมืองไทย (ประดู่หางดำ) วุฒิไกร บุญคุ้ม, มนต์ชัย ดวงจินดา,
ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
8 พันธุ์หมูที่เลี้ยงง่าย
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชน
Data Collecting for Genetic Improvement in Pig and Chicken
การฝึกงานสัตวศาสตร์ 3.
ณัชช์ธรณ์ หอมกลิ่นเทียน
สถานการณ์ โรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา มิถุนายน 2554 งานระบาดวิทยา งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองลำปาง.
กราฟเบื้องต้น.
ภาวะราคาปาล์มน้ำมัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร จังหวัดกระบี่
การใช้รูปแบบการแนะแนวสำหรับการแก้ปัญหาผู้เรียน ให้เป็นคนดีของสังคม
ผลการประเมิน คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ผลของระบบการเลี้ยง เพศ สมรรถภาพการเจริญเติบโต และลักษณะซากของไก่พื้นเมืองภาคใต้(ไก่แดง) Effects of rearing system on growth performance and carcass characteristic of Southern Thai indigenous chicken. รศ. สุธา วัฒนสิทธิ์ ผศ.ดร. ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ ดร. เสาวคนธ์ วัฒนจันทร์

ผลของระบบการเลี้ยง เพศ สมรรถภาพการเจริญเติบโต และลักษณะซากของไก่พื้นเมืองภาคใต้(ไก่แดง) Effects of rearing system on growth performance and carcass characteristic of Southern Thai indigenous chicken. รศ. สุธา วัฒนสิทธิ์ ผศ.ดร. ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ ดร. เสาวคนธ์ วัฒนจันทร์

เนื้อไก่พื้นเมืองมีแนวโน้มเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น การบริโภคเนื้อไก่พื้นเมืองปี 2540 เท่ากับ 5 กก./คน/ปี ปี 2544 การบริโภคจะเพิ่มขึ้นเป็น 12.5 กก./คน/ปี อำนวย และอรอนงค์ (2542)

เกรียงไกร (2543) ความต้องการบริโภคเนื้อไก่พื้นเมืองมีมากขึ้น ผู้บริโภคเชื่อว่าเนื้อไก่พื้นเมือง มีไขมันน้อย เนื้อแน่น มีรสชาติอร่อย ปราศจากสารเคมีตกค้าง

คุณภาพซาก เป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจซื้อไก่พื้นเมือง ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพซาก ได้แก่ พันธุ์ อาหาร การจัดการเลี้ยงดู ในภาคใต้โดยเฉพาะ หาดใหญ่ ร้านข้าวมันไก่ส่วนใหญ่ใช้เนื้อไก่พื้นเมืองตอน เพื่อประกอบข้าวมันไก่เป็นหลัก ผู้บริโภคทั้งคนไทย มาเลเซียและสิงคโปร์เชื้อสายจีนนิยมบริโภค และขายราคาแพงกว่าเนื้อไก่ชนิดอื่น ไม่นิยมใช้ เนื้อไก่พื้นเมืองลูกผสม เพื่อประกอบข้าวมันไก่

ร้านข้าวมันไก่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่มีมากกว่า 40 ร้าน ร้อยละ 79.17ใช้เนื้อไก่พื้นเมือง(ไก่ตอนและไม่ตอน) ร้อยละ 92.31 ร้านข้าวมันไก่ไม่ใช้เนื้อไก่ประเภทอื่น แทนเนื้อไก่พื้นเมืองได้เลย ไก่พื้นเมืองตอนมากกว่าวันละ 20 ตัว มี 4 ร้าน ขายวันละ 10-20 ตัว มี 13 ร้าน ขายวันละน้อยกว่า 10 ตัว ร้านค้า 24 ร้าน ไก่เฉลี่ยวันละ 218 ตัวหรือ 6,540-10,000 ตัว/เดือน วรางคณาและมานิต (2541)

ไก่พื้นเมืองมีอัตราการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ต่ำ ทั้งอัตราการให้ไข่ และอัตราการฟักออกต่ำ (เกรียงไกร, 2541) การผลิตไก่พื้นเมืองลูกผสม โดยการผสมข้ามกับไก่พันธุ์แท้จากต่างประเทศ เป็นลูกผสม สองสาย หรือ สามสายเลือด ซึ่งทำให้ไก่พื้นเมืองลูกผสมมีประสิทธิภาพการผลิตในด้านต่างๆ ดีขึ้นกว่าไก่พื้นเมือง (อภิชัย, 2541) ปัจจุบันกรมปศุสัตว์ให้ชื่อไก่พื้นเมืองลูกผสมทางการค้าที่มีระดับสายเลือดของไก่พื้นเมืองตั้งแต่ 50% ขึ้นไปว่า ไก่บ้านไทย (Gai Baan Thai)

รูปแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมือง มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป การเลี้ยงแบบหลังบ้าน ปล่อยให้ไก่หาอาหารธรรมชาติเอง และเสริมด้วยอาหารข้นบ้าง รูปแบบใหม่ที่เลี้ยงขังในโรงเรือนตลอดเวลา หรือ ขังและมีพื้นที่ให้อาหารบางส่วน ทั้งนี้เพื่อจะสามารถจำหน่ายให้แก่พ่อค้า หรือ รองรับความต้องการบริโภคของตลาด เพิ่มศักดิ์ (2546)

ไก่พื้นเมืองภาคใต้ที่นิยมเลี้ยงกันมีสายพันธุ์หลัก ไก่คอล่อน ไก่เบตง ไก่เก้าชั่ง ไก่พื้นเมืองลักษณะไก่ชน

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรและคุณสมบัติทางการสืบพันธุ์ของสัตว์ปีกพื้นเมืองในภาคใต้ ไก่บ้าน ไก่เบตง ไก่เก้าชั่ง ไก่คอล่อน อายุเจริญพันธุ์ (เดือน) เพศผู้ 6.84 + 0.64 7.31 + 1.22 9.11 + 3.07 7.06 + 0.88 เพศเมีย 5.97 + 0.68 6.47 + 1.09 8.02 + 2.80 6.11 + 1.39 น้ำหนักเจริญพันธุ์ (กก.) เพศผู้ 2.26 + 0.35 2.53 + 0.22 3.38 + 1.08 2.35 + 0.52 เพศเมีย 1.77 + 0.27 2.07 + 0.17 2.71 + 1.00 1.94 + 0.36 น้ำหนักโตเต็มที่ (กก.) เพศผู้ 2.71 + 0.26 3.44 + 0.35 4.23 + 0.71 3.03 + 0.29 เพศเมีย 2.10 + 0.16 2.65 + 0.20 3.31 + 0.88 2.52 + 0.38 จำนวนไข่ต่อครั้ง ( ฟอง ) 12.69 + 1.25 12.15 + 1.51 12.50 + 2.76 12.44 + 0.85 จำนวนลูกฟักออก ( ตัว ) 10.36 + 0.84 10.75 + 1.21 11.00 + 1.69 10.73 + 1.08 จำนวนลูกไก่/ครอกเมื่อหย่าแม่ ( ตัว ) 8.72 + 1.00 9.07 + 1.45 9.40 + 1.34 9.47 + 1.43

ไก่แดง เป็นไก่ที่กรมปศุสัตว์ต้องการปรับปรุงให้เป็นไก่พื้นเมืองของภาคใต้ โดยสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์ธานีได้รวบรวมไก่แดงจากทุกภาคของประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นไก่แดงจากภาคใต้ ซึ่งจำแนกลักษณะภายนอกได้ดังนี้ พ่อพันธุ์ มีสีขนลำตัว สร้อยคอ และหลังมีสีแดงร้อยละ 85.70 แข้งมีสีเหลืองร้อยละ 80.00 ปากมีสีเหลืองร้อยละ 82.50 และผิวหน้ามีสีแดง ร้อยละ 100 แม่พันธุ์ มีสีขน ลำตัว สร้อยคอและหลังมีสีแดงอ่อน ร้อยละ 57.2 แข้งมีสีเหลือง ร้อยละ 92.6 ปากมีสีเหลือง ร้อยละ 81.9 และผิวหน้ามีสีแดงร้อยละ 100

ลักษณะภายนอกของไก่แดงสุราษฎร์เพศผู้ สีปีก สีขน สีแข้ง หงอน ปาก ผิวหน้า

ลักษณะภายนอกของไก่แดงสุราษฎร์เพศเมีย สีขน สีปีก หงอน ปาก ผิวหน้า สีแข้ง

วัตถุประสงค์การทดลอง การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโต รูปแบบการเลี้ยงในรูปแบบปล่อยโดย จำกัดพื้นที่และแบบขังในโรงเรือน ส่วนประกอบซาก ต้นทุนการผลิต

อุปกรณ์และวิธีการวิจัย สัตว์ทดลองและแผนการทดลอง การศึกษาครั้งนี้ใช้ไก่แดงซึ่งเป็นไก่พื้นเมืองที่ปรับปรุงพันธุ์จากสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์ธานี คละเพศจำนวน 700 ตัว อายุ0- 4 สัปดาห์ เลี้ยงคละเพศ อายุ 4 สัปดาห์ ทำการแยกเพศ จัดการทดลองแบบ 2x2 แฟคทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (factorial in CRD) โดยมีปัจจัยหลัก คือ เพศ และ ระบบการเลี้ยง 2 ระบบ

การทดลองมี 4 ทรีทเมนต์คอมบิเนชั่น (treatment combination) แต่ละทรีทเมนต์มี 6 ซ้ำๆละ 21-22 ตัวโดยทรีทเมนต์คอมบิเนชั่น ในการทดลองคือ 1.เพศผู้- ระบบการเลี้ยงแบบขังในโรงเรือน 2.เพศผู้- ระบบการเลี้ยงแบบปล่อยโดยจำกัดพื้นที่ 3.เพศเมีย- ระบบการเลี้ยงแบบขังในโรงเรือน 4.เพศเมีย- ระบบการเลี้ยงแบบปล่อยโดยจำกัดพื้นที่

อาหารทดลอง อาหารผสมสำเร็จรูปทางการค้าสำหรับไก่พื้นเมืองจาก บริษัททางการค้า มี 2 สูตรตามระยะการเจริญเติบโต คือ อาหารระยะอายุ 11 – 21 วัน อาหารมีพลังงานใช้ ประโยชน์ได้ 2,750 กิโลแคลอรี/กก และมีโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 18 อาหาร ระยะไก่อายุ >21 วัน พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,700กิโลแคลอรี/กก โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 14

ระบบการเลี้ยงและการให้อาหาร ระบบการเลี้ยงแบบขังในโรงเรือน หมายถึง ระบบการเลี้ยงที่ ควบคุมให้ไก่อยู่ในโรงเรือน มีการให้อาหารที่กำหนดให้มีโภชนะ ให้เพียงพอกับความต้องการในแต่ละช่วงอายุ และมีการจัดการ ด้านสุขอนามัยของตัวสัตว์และภายในโรงเรือนเป็นอย่างดี ระบบการเลี้ยงแบบปล่อยโดยจำกัดพื้นที่ หมายถึง ระบบการ เลี้ยงไก่ ที่ให้ไก่ออกคุ้ยเขี่ยอาหารในพื้นที่ที่กำหนดในช่วงเวลา กลางวัน ลูกไก่อายุ 4- 6 สัปดาห์ เลี้ยงไว้โรงเรือน หลังจาก ลูกไก่มีอายุครบ 6 สัปดาห์ จึงให้ไก่ออกคุ้ยเขี่ยอาหาร ในพื้นที่ที่กำหนด

โรงเรือนและอุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ทดลอง ระบบการเลี้ยงแบบปล่อยโดยจำกัดพื้นที่ โรงเรือน กว้าง 3.4 x ยาว 23.0 เมตร แบ่งเป็นคอกย่อยจำนวน 12 คอก คอกมีขนาดความยาว 1.9 x 1.7 เมตร พื้นที่สำหรับปล่อยไก่โดยจำกัดพื้นที่ แต่ละคอก ยาว 3.8 x กว้าง 3.25 เมตร ระบบการเลี้ยงแบบขังในโรงเรือน โรงเรือนกว้าง 8.0 x ยาว 20 เมตร แบ่งเป็นคอกย่อย 12 คอก พื้นที่คอกย่อยขนาดความยาว 3.0 x กว้าง 1.3 เมตร

ระบบการเลี้ยงแบบปล่อยโดยจำกัดพื้นที่

ระบบการเลี้ยงแบบขังในโรงเรือน

สมรรถนะการเจริญเติบโต น้ำหนักตัว ชั่งน้ำหนักตัวไก่ที่เลี้ยงทุกสัปดาห์ตั้งแต่อายุ 4-16 สัปดาห์ เพื่อนำมาคำนวณหาน้ำหนักตัวเพิ่ม และ อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (average daily gain) ปริมาณอาหารที่กิน ชั่งน้ำหนักอาหารที่ให้และที่เหลือ เพื่อนำมาคำนวณหาปริมาณอาหารที่กิน และ ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว (feed convertion ratio) ไก่ที่เลี้ยงระบบปล่อยโดยจำกัดพื้นที่ คำนวณประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวจากปริมาณอาหารสำเร็จรูปที่ให้

ลักษณะซาก สุ่มตัวอย่างไก่ทดลองที่อายุ 16 สัปดาห์ เพศละ 20 ตัวใน สุ่มตัวอย่างไก่ทดลองที่อายุ 16 สัปดาห์ เพศละ 20 ตัวใน แต่ละระบบการเลี้ยงรวม 80 ตัว อดอาหารเป็นเวลา 12-16 ชั่วโมงแล้วทำการฆ่าโดยวิธีของ นิรัตน์และรัตนา(2542)โดยการตัดเส้นเลือดดำใหญ่ที่คอ(jugular vein) ปล่อยให้เลือดไหลประมาณ 3-4 นาที จุ่มซากในน้ำอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ประมาณ 3 นาที ถอนขนด้วยเครื่องถอนขนอัติโนมัตชนิด rotary drum picker ถอนขนอ่อนด้วยมืออีกครั้ง นำอวัยวะภายในออก แช่ซากที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง

ชั่งน้ำหนักเพื่อวัดเปอร์เซ็นต์ซาก จากนั้นทำการตัดแยกซากออกเป็นชิ้นส่วนใหญ่(wholesale cut) ตามรายละเอียดที่ดัดแปลงจาก Romans et al.(1994) ได้แก่ ส่วนหน้าอก (breast) สันใน (fillet) ปีก (wing) สะโพก (thigh) น่อง (drumstick) เท้า(feet) หัว-คอ(head and neck)และโครงร่าง(skeletal)

การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of variance) ตามแผนการทดลอง 2x2 แฟคทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มีปัจจัยที่ศึกษา 2 ปัจจัย คือ ระบบการเลี้ยง 2 ระบบ คือ เลี้ยงแบบปล่อยโดยจำกัดพื้นที่ และเลี้ยงแบบขังในโรงเรือน เพศ คือ เพศผู้ และเพศเมีย เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่ P<0.05 (Steel and Torrie,1980) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 11.3

ผลการทดลอง

ตารางที่ 1 ผลของรูปแบบการเลี้ยง และ เพศ ต่อน้ำหนักตัวเพิ่ม อาหารที่กิน อัตราเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว ของไก่แดง 4-8 สัปดาห์ ปัจจัยที่ศึกษา เพศ น้ำหนักตัว น้ำหนักตัวเพิ่ม อาหารที่กิน อาหาร/น้ำหนัก เลี้ยงแบบขัง ผู้ 830.76 467.15+21 1204.31+63 2.58+0.09 เมีย 730.58 404.49+22 1040.46+60 2.58+0.20 เฉลี่ย 780.67 435.82+82a 1122.38+103a 2.58+0.15a   เลี้ยงแบบปล่อย 827.10 450.68+41 1391.10+114 3.10+0.30 675.55 346.33+21 1111.13+92 3.23+0.47 756.07 403.26+63b 1263.84+177b 3.16+0.39b 805.43 458.91+32x 1297.70+131x 2.84+0.34 720.19 378.05+36y 1072.58+81y 2.87+0.47 อักษร a,b ที่แตกต่างกันในสดมภ์เดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) อักษร x,y ที่แตกต่างกันในสดมภ์เดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)

อาหารต่อน้ำหนักตัวของไก่แดง 8-12 สัปดาห์ ปัจจัยที่ศึกษา เพศ น้ำหนักตัว ตารางที่ 2 อิทธิพลของรูปแบบการเลี้ยง และ เพศ ต่อน้ำหนักตัวเพิ่ม อาหารที่กิน อาหารต่อน้ำหนักตัวของไก่แดง 8-12 สัปดาห์ ปัจจัยที่ศึกษา เพศ น้ำหนักตัว น้ำหนักตัวเพิ่ม อาหารที่กิน อาหาร/น้ำหนัก ผู้ 1385.77 555.01+27 2797.21+190 5.05+0.49 เลี้ยงแบบขัง เมีย 1094.50 363.92+84 2095.12+126 6.07+1.69 เฉลี่ย 1240.14 459.47+116 2446.17+397a 5.56+1.30 1325.12 498.02+57 2508.87+216 5.09+0.69 เลี้ยงแบบปล่อย 1037.70 362.15+43 1951.87+186 5.47+0.96 1192.33 436.26+86 2255.69+349b 5.30+0.80 1321.95 526.51+ 52x 2653.04+245x 5.07+0.51 1083.31 363.11+ 65y 2009.76+165y 5.72+1.38 อักษร a,b ที่แตกต่างกันในสดมภ์เดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) อักษร x,y ที่แตกต่างกันในสดมภ์เดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)

อาหารต่อน้ำหนักตัวของไก่แดง 12 -16 สัปดาห์ ปัจจัยที่ศึกษา เพศ ตารางที่ 3 อิทธิพลของรูปแบบการเลี้ยง และ เพศ ต่อน้ำหนักตัวเพิ่ม อาหารที่กิน อาหารต่อน้ำหนักตัวของไก่แดง 12 -16 สัปดาห์ ปัจจัยที่ศึกษา เพศ น้ำหนักตัว น้ำหนักตัวเพิ่ม อาหารที่กิน อาหาร/น้ำหนัก   ผู้ 1794.30 365.45+145 3338.71+506 9.51+3.0 เลี้ยงแบบขัง เมีย 1366.77 263.18+72 2509.54+225 10.05+3.3 เฉลี่ย 1580.53 314.31+130 2924.12+572a 9.78+3.0 1808.08 372.59+242 2995.53+389 9.23+7.6 เลี้ยงแบบปล่อย 1334.34 265.61+36 2083.54+289 7.89+1.2 1590.60 319.10+198 2589.72+577b 8.56+5.5 1774.69 369.02+194x 3167.12+466x 9.37+5.5 1366.66 264.39+ 57y 2318.63+327y 8.97+2.8 อักษร a,b ที่แตกต่างกันในสดมภ์เดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) อักษร x,y ที่แตกต่างกันในสดมภ์เดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)

ค่าอาหาร/น้ำหนักเพิ่ม ตารางที่ 4 อิทธิพลของรูปแบบการเลี้ยง และ เพศ ต่อน้ำหนักตัวเพิ่ม อาหารที่กิน อาหารต่อน้ำหนักตัวของไก่แดง 4 -16 สัปดาห์ ปัจจัยที่ศึกษา เพศ น้ำหนักตัว น้ำหนักตัวเพิ่ม อาหารที่กิน ค่าอาหาร/น้ำหนักเพิ่ม 1 กิโลกรัม ผู้ 1794.29 1430.68+135 7340.23+675 42.07 เลี้ยงแบบขัง เมีย 1366.77 1040.68+75 5645.11+256 44.48 เฉลี่ย 1580.53 1235.68+229 6492.67+1010a 43.09 1808.08 1431.65+210 6895.51+488 39.50 เลี้ยงแบบปล่อย 1334.34 1005.11+43 5152.54+388 42.04 1590.60 1237.77+269 6103.25+1004b 40.43 1777.69 1431.17+169x 7117.87+608x 40.78 1371.66 1024.52+63y 5421.21+399y 43.39 อักษร a,b ที่แตกต่างกันในสดมภ์เดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05 อักษร x,y ที่แตกต่างกันในสดมภ์เดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)

ที่อายุ 16 สัปดาห์ (เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักมีชีวิต) เพศ % ซากอุ่น ตารางที่ 5 อิทธิพลของระบบการเลี้ยงและเพศ ต่อเปอร์เซ็นต์ส่วนประกอบซากของไก่แดง ที่อายุ 16 สัปดาห์ (เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักมีชีวิต) ปัจจัยที่ศึกษา   เพศ % ซากอุ่น %ซากเย็น (%) เนื้อหน้าอก เนื้อขารวมกระดูก ผู้ 82.25+0.74 81.96+0.79 11.69+1.00 28.85+1.42 ขัง เมีย 83.44+3.27 82.91+3.15 13.62+1.36 26.23+2.44 เฉลี่ย 82.91+2.50 82.49+2.40 12.76+1.54 27.39+2.40 85.81+10.57 85.16+10.53 12.00+1.65 30.99+3.97 ปล่อย 84.08+2.89 82.73+2.96 11.91+0.92 26.41+0.80 84.85+7.15 83.81+7.20 11.95+1.25 28.45+3.51 84.03+7.46 83.56+7.40 11.84+1.32 x 29.92+3.09 x 83.76+3.02 82.82+2.97 12.36+1.43 y 26.32+1.77 y อักษร a,b ที่แตกต่างกันในสดมภ์เดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) อักษร x,y ที่แตกต่างกันในสดมภ์เดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)

เพศ เนื้อสะโพก เนื้อน่อง ปีก ผู้ 16.06+1.34 11.64+0.30 9.93+0.40 ตารางที่ 5 อิทธิพลของระบบการเลี้ยง และ เพศ ต่อเปอร์เซ็นต์ส่วนประกอบซากของไก่แดง ที่อายุ 16 สัปดาห์ (เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักมีชีวิต) ปัจจัยที่ศึกษา    เพศ เนื้อสะโพก เนื้อน่อง ปีก ไขมันช่องท้อง   ผู้ 16.06+1.34 11.64+0.30 9.93+0.40 0.23+0.17 ขัง เมีย 15.19+1.65 10.81+0.63 9.90+ 0.50 0.00+0.00 เฉลี่ย 15.58+1.54 11.18+0.65 9.91+0.44 0.10+0.16a 17.41+0.91 12.38+1.73 9.96+2.56 0.07+0.08 ปล่อย 14.40+1.06 10.83+0.89 9.68+0.50 0.00+0.01 15.74+1.82 11.52+1.51 9.80+1.69 0.03+0.06b 16.74+1.31x 12.01+1.26x 9.94+1.77 0.15+0.15 x เพศ 14.80+1.41y 10.82+0.75y 9.79+0.50 0.00+0.01y อักษร a,b ที่แตกต่างกันในสดมภ์เดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) อักษร x,y ที่แตกต่างกันในสดมภ์เดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)

สรุปผลการทดลอง

ระบบการเลี้ยง สมรรถนะการเจริญเติบโต ไก่ที่เลี้ยงในระบบการเลี้ยงแบบขังในโรงเรือนและระบบการเลี้ยงแบบปล่อยโดยจำกัดพื้นที่ ช่วง 4 – 16 สัปดาห์ พบว่า อาหารที่กิน 6492.67 และ 6103.25 กรัม น้ำหนักตัวเพิ่ม 1,235.68 และ 1237.77 กรัม อาหารต่อน้ำหนักตัว 5.30 และ 5.00 ต้นทุนค่าอาหารต่อน้ำหนักเพิ่ม 1 กิโลกรัม ไก่ที่เลี้ยงแบบขังในโรงเรือน 43.09 บาท การเลี้ยงแบบปล่อยโดยจำกัดพื้นที่ 40.43 บาท

ไก่ที่เลี้ยงแบบขังในโรงเรือน และไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อยมี ระบบการเลี้ยง ไก่ที่เลี้ยงแบบขังในโรงเรือน และไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อยมี เปอร์เซ็นต์ซากอุ่น (82.91 และ 84.85) ซากเย็น (82.49 และ 83.81) และเปอร์เซ็นต์ส่วนประกอบซากไม่แตกต่างกัน เนื้อแดงหน้าอก (12.76 และ 11.95) เนื้อขารวมกระดูก (27.39และ 28.45) เนื้อสะโพก (15.58และ 15.74) เนื้อน่อง (11.18และ 11.52) ปีก (9.91และ 9.80) เปอร์เซ็นต์ ไขมันช่องท้อง ของไก่ที่เลี้ยงแบบขังในโรงเรือนมีค่าสูงกว่าไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อยโดยจำกัดพื้นที่ (0.10 และ 0.03)

เพศ ไก่เพศผู้มีปริมาณอาหารที่กินมากกว่าไก่เพศเมีย (7117.87 และ 5421.21กรัม) ไก่เพศผู้มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าไก่เพศเมีย (1431.17 และ 1024.52 กรัม) ไก่เพศผู้มีอัตราเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวมากกว่าเพศเมีย (5.03 และ 5.30) ต้นทุนค่าอาหารต่อน้ำหนักเพิ่ม 1 กิโลกรัม ไก่เพศผู้เท่ากับ 40.78 และ เพศเมีย 43.41 บาท ไก่เพศผู้และเพศเมียมีเปอร์เซ็นต์ซากอุ่น ซากเย็น และปีกไม่แตกต่างกัน

ไก่เพศผู้ มีปริมาณเปอร์เซ็นต์เนื้อขารวมกระดูก เนื้อสะโพก เนื้อน่อง และไขมันช่องท้องเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์น้ำหนักมีชีวิต สูงกว่าไก่เพศเมีย ไก่เพศเมีย มีเปอร์เซ็นต์เนื้อหน้าอกสูงกว่าไก่เพศผู้ 12.36 และ 11.84

จบการนำเสนอ

ผลของระบบการเลี้ยง และ เพศ ต่อ สมรรถภาพการเจริญเติบโต และลักษณะซากของไก่พื้นเมืองภาคใต้(ไก่แดง) Effects of rearing system on growth performance and carcass characteristic of Southern Thai indigenous chicken. สุธา วัฒนสิทธิ์ ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ เสาวคนธ์ วัฒนจันทร์

ตลาดไก่พื้นเมือง ปัจจุบันไก่พื้นเมืองมีราคาสูง เดือน ธค.-พค. ไก่ขาดตลาด (ราคาสูง) เพราะมีเทศกาลต่างๆ มากความต้องการสูง เดือนพค.-กย.ไก่ล้นตลาด (ราคาต่ำ) เดือนกย.-ธค. ปริมาณไก่พอเหมาะกับความต้องการ ของตลาด ราคาไก่พื้นเมืองเฉลี่ยประมาณ 50-60 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนไก่พื้นเมืองขุนจะมีราคา 60-70 บาทต่อกิโลกรัม