อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี อนันต์ สิทธิวัฒนานนท์ รัฐประศาสนศาสตร์ อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี อนันต์ สิทธิวัฒนานนท์
หัวข้อในการบรรยาย ความหมายของรัฐประศาสนศาสตร์ ความแตกต่างระหว่างการบริหารภาครัฐและการบริหารภาคเอกชน สถานภาพของรัฐประศาสนศาสตร์ ขอบเขตของรัฐประศาสนศาสตร์
1.ความหมายของรัฐประศาสนศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ = Public Administration การบริหาร = Administration สาธารณะ,รัฐกิจ = Public
1.ความหมายของรัฐประศาสนศาสตร์ “การบริหาร” คือ กระบวนการอย่างหนึ่งที่มีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมมือกระทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดขึ้น (อุทัย เลาหวิเชียร, 2543) โดยการบริหารประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้ (อุทัย เลาหวิเชียร, 2543) 1. มีคนรวมอยู่ด้วย 2. มีการกระทำ 3. มีการปฏิสัมพันธ์ 4. มีกิจกรรมร่วมกัน 5. เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่กำหนด
1.ความหมายของรัฐประศาสนศาสตร์ การบริหาร มีลักษณะเป็นกระบวนการซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ 1. การวางแผน (Planning) 2. การจัดองค์การ (Organizing) 3. การเป็นผู้นำ (Leading) 4. การควบคุม (Controlling)
1.ความหมายของรัฐประศาสนศาสตร์ ปัจจัยพื้นฐานทางการบริหารที่สำคัญ ได้แก่ 1. คน (Man) 2. เงิน (Money) 3. วัสดุ อุปกรณ์ (Leading) 4. การจัดการ (Management)
1.ความหมายของรัฐประศาสนศาสตร์ “สาธารณะ” ราชบัณฑิตยสถาน (2538: 826) ให้ความหมายคำว่า สาธารณะ หมายถึง ทั่วไปเกี่ยวกับประชาชน และสาธารณะสมบัติทรัพย์สินส่วนรวมของประชาชน สอ เสถบุตร (2530: 592) ได้แปลความหมายคำว่า Public เป็นภาษาไทยว่าสาธารณะซึ่งหมายถึง ที่สาธารณะ ชุมชน เปิดเผย การเผยแพร่ สิ่งที่เป็นของทั่วไป เช่น ถนนหลวง สิ่งที่เป็นของรัฐบาล และสิ่งที่เป็นของประชาชน
1.ความหมายของรัฐประศาสนศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์/สาธารณบริหารศาสตร์ = Public Administration [ในแง่ของสาขาวิชา (Discipline) หรือการศึกษา (Study)] การบริหารรัฐกิจ/การบริหารงานสาธารณะ = public administration [ในแง่ กิจกรรม(Activity) หรือกระบวนการของการบริหารงาน สาธารณะ]
2.ความแตกต่างระหว่างการบริหารภาครัฐ และการบริหารภาคเอกชน ธรรมชาติของสินค้า ความเป็นเจ้าของทรัพยากร ลักษณะของผู้นำ เป้าหมายที่ต้องการบรรลุ
3.สถานภาพของรัฐประศาสนศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เป็น “ศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Art)” รัฐประศาสนศาสตร์ เป็น “สหวิทยาการ (Interdisciplinary)” รัฐประศาสนศาสตร์ เป็น “สังคมศาสตร์ประยุกต์ (Applied Socail Sciences)”
4.ขอบเขตของรัฐประศาสนศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์มีขอบเขตที่กว้างขวางมากจนแทบหาจุดจบไม่ได้ ทำให้เกิดลักษณะของการขาดเอกลักษณ์หรือวิกฤติการณ์ทางเอกลักษณ์ (Identity Crisis) (สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ, 2540) อุทัย เลาหวิเชียร (2543) เสนอว่ารัฐประศาสนศาสตร์มีขอบข่ายอยู่ 3 ขอบข่าย ได้แก่ 1. การเมืองและนโยบายสาธารณะ 2. ทฤษฎีองค์การ 3. เทคนิคการบริหาร
4.ขอบเขตของรัฐประศาสนศาสตร์ วิชา PPA1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์ ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ แบ่งขอบข่ายรัฐประศาสนศาสตร์เป็น 6 ขอบข่าย ดังนี้ 1. การบริหารกับสภาพแวดล้อม 2. การบริหารกับการเมือง 3. นโยบายสาธารณะและการวางแผน 4. องค์การและการจัดการ 5. การบริหารงานบุคคล 6. การบริหารการคลังและงบประมาณ